ตัวต้านทานแบบ SMD อ่านค่า ยังไง ?

Описание к видео ตัวต้านทานแบบ SMD อ่านค่า ยังไง ?

สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZIMZIMDIY
สำหรับวันนี้ ผมจะมาพูดถึง ตัวต้านทาน ชนิดหนึ่ง
ซึ่ง เป็นตัวต้านทานขนาดเล็ก ที่ มีชื่อว่า Surface Mount Device
หรือ ตัวต้านทานแบบ SMD
เรามักจะเห็น ตัวต้านทานแบบนี้ เขาใช้กันเยอะในแผงวงจร (PCB) ที่มี ลายวงจร พิมพ์ ด้านเดียว ซึ่งสามารถยึดติด บนพื้นผิวของบอร์ดได้เลย
ซึ่งตัวต้านทานแบบ SMD ก็มีจำหน่าย หลาก หลายขนาด สังเกตุว่า ถ้าหาก
ตัวเล็กมากๆ อาจจะต้องใช้ กล้องจุลทรรศน์
ส่องช่วยด้วย เพื่อความแม่นยำ ไม่อย่างงั้นตามองไม่เห็นครับ
เรามาดูโครงสร้าง ข้างในของมันกันครับ
ปกติ Body จะทำด้วยเซรามิก โดยแต่ละฝั่ง จะมีขั้วโลหะประกบ
หลังจากนั้น ก็ใส่ วัสดุที่เป็น ตัวต้านทานลงไป
แล้วก็หุ้ม ด้วยฉนวน อีกชั้นหนึ่ง
หลังจากนั้น ก็ใส่ ขั้วต่อ สำหรับ ต่อออกไปใช้งาน
สำหรับ วัสดุที่ทำเป็น สะพาน ตัวต้านทาน เขาจะ ยิง กรีด รอย ด้วยเลเซอร์ ซึ่งการที่ พื้นที่ของมันลดลง จะช่่วยให้
อิเล็กตรอน ไหลได้ ลำบากมากขึ้น
เราก็จะได้ ค่าความต้าทาน ที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้นค่าความต้านทานจึง มากขึ้น
SMD ที่เราเห็นส่วนใหญ่
ด้านบน มักจะเขียนเป็น ตัวเลข หรือว่า อักษร รหัสโค้ด
ที่เห็นบ่อยๆจะเป็นตัวเลข 3 หลัก
ปกติ 2 หลักแรก จะเป็นตัวอ่าน นะครับ อ่านสามารถอ่านตามที่เห็นได้เลย
และ หลักสุดท้าย จะเป็นตัว คูณ หรือ จำนวน เลข 0 ที่เพิ่มเข้าไป
เช่น R ตัวนี้ เลขนี้ 680
2 หลักแรก เมื่อเราไปอ่านค่า ในตารางก็คือ 6 กับ 8 เหมือนเดิม แต่ตัวเลขหลักที่ 3
เราคูณมัน ด้วย 1
อะไรที่ คูณด้วยหนึ่งก็เท่ากับ ค่าของตัวมันเอง ใช่ไหมครับ
เพราะฉะนั้น มันมีค่าเท่ากับ 68 ohm เหมือนเดิม
วิธีที่ง่ายทีสุด สำหรับเพื่อนๆ มือใหม่ก็คือ
ทำแถวเพิ่มขึ้นมา อีกแถวหนึ่งครับ
แล้วก็ใส่จำนวน 0 ที่จะ เติมเข้าไป
เลข 0 แรก เราจะไม่เติม ขีดไว้
เลข 1 ก็คือเราเติม 0 1ตัว
เลข 2 ก็คือเราเติม 0 2 ตัว
เลข 3 ก็คือเติม 0 3 ตัว ไล่ไปเรื่อยๆ
จนถึง เลข 6 ก็คือเติม 0 6ตัว แบบนี้ดูเป็นยังไงบ้างครับ ดูง่ายขึ้นเยอะเลยใช่ไหมครับ
เราไปดู ตัวเลขอื่นกันต่อครับ เลข 101
2 หลัก แรกก็จะเป็น 1 กับ 0
หลักที่ 3 เราจะคูณกับ 10 หรือ เพิ่ม 0 เข้ามา 1หนึ่งตัว
ก็จะเป็น 100 ohm
ไปกันต่อครับ
ตัวอย่างนี้ค่า 332
33 คุณด้วย 100 หรือเพิ่ม 0 2 ตัว ก็จะ = 3300 ohm หรือ 3.3kohm
และตัวอย่างนี้ค่า 273
27 คูณด้วย 1000 หรือเพิ่ม 0 3 ตัว = 27,000 ohm หรือ 27kohm
หลังจากที่ เราได้ หาค่า R SMD 3 หลักไปแล้ว
ทีนี้เรามาดู R SMD ที่มันมี 4 หลักกันบ้างครับ
ก็เหมือเดิมครับ R ค่า 3 หลักแรก จะเป็นตัวอ่าน และค่าสุดท้าย เราจะให้เป็น ตัวคูณ
ดังนั้น 100 คูณ ด้วย 0 = 100 เหมือนเดิม
ตัวถัดไป ตัวนี้ 1502
150 x 100 หรือเพิ้ม 0 3 ตัว = 15000 ohm หรือ 15 kohm
แต่ ในบาง กรณี ตัวต้านทาน อาจมีตัวอักษรตัว R อยู่ ก่อน หรือ ระหว่าง ตัวเลข
ก็เป็นไปได้ แล้วมันหมายความว่าอย่างไร
เราก็ ถือว่า R ตัวนั้น มันเป็นจุด ทศนิยม ครับ
อย่างเช่น R58 ก็จะ = 0.58 ohm
หรือ 30R9 ก็จะ = 30.9 ohm
และใน บางกรณี เราก็มักจะเป็นตัวอักษรอย่างเช่น ตัว k เล็ก
ซึ่งแทรกอยู่ระหว่างตัวเลขเช่นกัน
ตัว k เราก็ถือว่ามันเป็นจุดทศนิยม เหมือนกันครับ และ k ก็ยังเป็นค่า กิโล เพิ่มเข้าไปอีกด้วย
ทำหน้าที่ 2 อย่าง
เช่น 6k8
ก็จะเท่ากับ 6.8 k นั้นเองครับ
สำหรับ ตัว M ใหญ่ ก็เช่นกัน
5M6 ก็จะเท่ากับ 5.6 Mohm
นอกจากนี้เรายัง เจอ ตัวต้านทาน แบบ 3 หลัก ที่มีตัวอักษรภาษาอังกฎษ ต่อท้าย
ถ้าเป็นแบบนั้น เราจะต้องอ่านค่า เหล่านี้ในตาราง ตามแบบฉบับ ตามมาตฐาน
E i A-96
ตัวอย่างนี้ ถ้าเราจะ หา 2 หลักแรก ถ้าเราเข้าไปอ่าน ในตาราง
รหัส 28 ซึ่ง เมื่อเราเอาไปเช็ค ค่ามันเท่ากับ
191 จากนั้นตัว C จะเป็นตัวคูณ ถ้าเรามาดู มัน คูณด้วย 100
191 x 100 = 19,100 ohm
ตัวนี้ 62Z
62 เมื่อเรานำไปเช็คค่าในตาราง = 432 และตัว z = 0.001
432 x 0.001 ก็จะเท่ากับ 0.432 ohm
สำหรับคลิปนี้ ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке