ปวารณาออกพรรษา (ตอบข้อสงสัย) โดยพระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท

Описание к видео ปวารณาออกพรรษา (ตอบข้อสงสัย) โดยพระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท

สอนพระวินัย เรื่อง #ปวารณาออกพรรษา พร้อมทั้งตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการปวารณา

ในวันออกพรรษา (จริงๆ คือวันก่อนออกพรรษา ๑ วัน) ภิกษุผู้จำพรรษาอยู่ร่วมกัน (เฉพาะผู้ที่พรรษาไม่ขาด) จะมีการปวารณาคือเชื้อเชิญหรือเปิดโอกาสให้ภิกษุอื่นว่ากล่าวตักเตือนตนได้

คำปวารณาถ้าจะแปลเป็นไทยก็ได้ความว่า
"ผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยเรื่องที่เห็น ได้ยิน หรือสงสัยก็ตาม, ท่านทั้งหลายโปรดอาศัยความเอ็นดูว่ากล่าวตักเตือนผม, เมื่อผมเห็น[ความผิดนั้น]แล้วก็จะทำคืน (คือจะแก้ไข)" (กล่าว ๓ ครั้ง)

#วันปวารณาของภิกษุผู้จำพรรษาแรก มี ๓ วัน คือ
๑. วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (วันออกพรรษาตามปกติ)
๒. วันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ (คือถัดไปอีก ๑ อุโบสถ)
๓. วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ (ปวารณาพร้อมกับภิกษุผู้จำพรรษาหลัง)
หมายเหตุ : ข้อ ๒-๓ ใช้เฉพาะกรณีที่ถูกรบกวนจนไม่สามารถ ปวารณาในวันปกติได้
ส่วน #วันปวารณาของภิกษุผู้จำพรรษาหลัง มีวันเดียวคือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒

#ประโยชน์ของการปวารณา
ภิกษุผู้เห็นความผิดของภิกษุอื่นได้มีโอกาสว่ากล่าวตักเตือน ทำให้บรรเทาความอึดอัดลงได้ และเป็นการช่วยให้เพื่อนภิกษุพ้นความผิดนั้นๆ ตั้งอยู่ในความสำรวมระวังต่อไป

#คำถามและคำตอบเกี่ยวกับการปวารณา
ถามว่า ภิกษุผู้จำพรรษาครบโดยไม่ขาดพรรษา ไม่ปวารณาได้หรือไม่?
ตอบว่า ไม่ได้ เพราะเมื่อภิกษุผู้จำพรรษาครบไม่ปวารณาในวันปวารณา จะต้องอาบัติทุกกฏ เว้นแต่เกิดอันตรายจนไม่สามารถปวารณาได้

ถามว่า หากวัดที่จำพรรษาไม่มีสีมา ภิกษุในวัดนั้นพึงทำอย่างไร?
ตอบว่า พึงไปปวารณาในสีมาของวัดอื่นหรือพึงปวารณาในอพัทธสีมามีแม่น้ำเป็นต้น เพราะปวารณากรรมเป็นสังฆกรรมที่ต้องทำในสีมาเท่านั้น

ถามว่า ภิกษุที่ไม่ได้ปวารณา มีสิทธิรับกฐินหรือไม่?
ตอบว่า ถ้าภิกษุนั้นจำพรรษาครบโดยไม่ขาดพรรษา ก็มีสิทธิรับกฐินได้ เพราะการปวารณาหรือไม่มิใช่เหตุให้รับกฐินได้หรือไม่ได้ แต่การจำพรรษาแรกครบหรือไม่ต่างหาก จึงเป็นเหตุให้รับกฐินได้หรือไม่ได้ เพราะในอรรถกถาท่านก็กล่าวเพียงว่า "ภิกษุผู้ขาดพรรษาหรือภิกษุผู้จำพรรษาหลัง ย่อมไม่ได้[สิทธิรับกฐิน]" (ดู สารตฺถ.๓/๔๐๔)

ถามว่า เมื่อปวารณาเสร็จแล้ว สามารถไปค้างแรมที่อื่นโดยไม่ต้องสัตตาหกรณียะได้เลยหรือไม่?
ตอบว่า ไม่ได้ เพราะเมื่อทำอย่างนั้น พรรษาจะขาด เพราะวันปวารณายังไม่ใช่วันออกพรรษา จึงต้องอยู่รับอรุณในวัดที่จำพรรษาอีกคืนหนึ่ง หรือถ้ามีกิจจำเป็นจริงๆ ก็สามารถสัตตาหกรณียะไปแล้วไปปวารณาที่วัดอื่นก็ได้
(คำอธิบายเกี่ยวกับปวารณาโดยพิสดาร ผู้สนใจพึงศึกษาได้จากปวารณาขันธกะ วิ.มหา.๔/๒๐๙-๒๔๑/๒๙๖-๓๕๒, วิ.อฏฺ.๓/๑๕๔-๑๖๒ พร้อมทั้งฎีกา)

แก้นาทีที่ 19 ที่บอกว่า การบอกภัณฑุกรรม ไม่ต้องทำในสีมาได้ ไม่ใช่นะ ต้องทำในสีมานั่นแหละ

ติดตามในช่องทางอื่นๆ:
Facebook : เพจนานาวินิจฉัย   / mahasilananda  
Facebook : พระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท   / mahaparkpoom  
TikTok : นานาวินิจฉัย   / mahasilananda  
Instagram : นานาวินิจฉัย   / mahasilananda  

Комментарии

Информация по комментариям в разработке