อุทธรณ์ ฎีกา คืออะไร | Modern Law

Описание к видео อุทธรณ์ ฎีกา คืออะไร | Modern Law

#อุทธรณ์ฎีกาคืออะไร
🔊 อุทธรณ์ ฎีกา เป็นคำคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล่าง กล่าวคือการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นต้องอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ และการฎีกาก็คือคำคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ และจะเป็นอุทธรณ์หรือฎีกาตามกฎหมายก็ต่อเมื่อมีผู้อุทธรณ์หรือผู้ฎีกายืนยันมาในอุทธรณ์หรือฎีกาว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล่างไม่ถูกต้อง และขอให้มีการแก้ไขอุทธรณ์ ฎีกานี้ต้องยื่นต่อศาลชั้นต้นเท่านั้นและเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องตรวจอุทธรณ์หรือฎีกาว่าควรจะรับหรือไม่ ส่วนผลจะออกมาประการใดนั้นเป็นดุลยพินิจของศาลนั้นๆที่จะต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป 📚

📖คดีแพ่งและคดีอาญาการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาต้องทำภายใน 1 เดือน
📑 คดีแพ่งและคดีอาญาการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาโจทก์หรือจำเลยหรือคู่ความที่ไม่พอใจคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลต้องทำภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลอ่านคำตัดสินนั้น ซึ่งหากไม่ทันเวลาจะต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะต่อศาล

📚กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
📒 ป.วิแพ่ง มาตรา 229 การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นสำเนาอุทธรณ์ต่อศาล เพื่อส่งให้แก่จำเลยอุทธรณ์

📙 ป.วิอาญา มาตรา 198 การยื่นอุทธรณ์ ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่าน หรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ฟัง ให้เป็นหน้าที่ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ว่าควรจะรับส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือไม่ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าเห็นว่าไม่ควรรับให้จดเหตุผลไว้ในคำสั่งของศาลนั้นโดยชัดเจน ในกรณีที่ตามคำพิพากษาจำเลยต้องรับโทษจำคุกหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้นและจำเลยไม่ได้ถูกคุมขัง จำเลยจะยื่นอุทธรณ์ได้ต่อเมื่อแสดงตนต่อเจ้าพนักงานศาลในขณะยื่นอุทธรณ์ มิฉะนั้น ให้ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ทั้งนี้ ประธานศาลฎีกาอาจออกข้อบังคับกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแสดงตนของจำเลยก็ได้ ข้อบังคับนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ ความในวรรคสามมิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่จำเลยได้รับการรอการลงโทษจำคุก หรือรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้ว

📕ตัวอย่างฎีกา
📜คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8659/2548 ศาลชั้นอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟัง วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2547 จำเลยต้องยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ซึ่งการนับระยะเวลาเริ่มต้น การยื่นอุทธรณ์หนึ่งเดือนต้องนับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรกตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง โดยเริ่มนับวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 ดังนั้น เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 มิได้เป็นวันต้นแห่งเดือน กำหนดระยะเวลาเป็นเดือนจึงไม่อาจคำนวณตามปีปฏิทินได้ ระยะเวลาสิ้นสุดย่อมเป็นวันที่ 18 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/5 หาใช่ต้องนับระยะเวลาเดือนกุมภาพันธ์ 2547 มีกำหนด 11 วัน และเดือนมีนาคม 2547 มีกำหนด 19 วัน เป็น 30 วันตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/6 วรรคหนึ่งและวรรคสามไม่ เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการนับระยะเวลาที่กำหนดเป็นเดือนและวัน หรือกำหนดเป็นเดือนและส่วนของเดือนมิได้กำหนดระยะเวลาที่กำหนดเป็นเดือน การที่จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2547 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 นั้น จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2547 หลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว จึงเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลายื่นอุทธรณ์ อีกทั้งเหตุที่จำเลยอ้างขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก็ไม่ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จะมีคำขอภายหลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้ ศาลชอบที่จะไม่อนุญาตให้ขยายเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้ 📘 📃📖📑
---------------------------------------------------------------------------------------
*หากคลิปนี้ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ

Page Facebook : ModernLaw
หรือคลิกที่ลิงค์ :   / modernlawth  

Комментарии

Информация по комментариям в разработке