เช็คแท้ เหรียญหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ปี ๒๔๘๔ | มีแบบนี้ อย่าหลุด | EP 115

Описание к видео เช็คแท้ เหรียญหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ปี ๒๔๘๔ | มีแบบนี้ อย่าหลุด | EP 115

#พระเหรียญ หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม
เช็คแท้ทีละจุด #พระเครื่อง #หลวงพ่อคง


สวัสดีครับพี่ๆ เพื่อนๆ เมื่อพูดถึงตำนาน ทหารผี อินโดจีน นักสะสมพระเครื่องแทบไม่มีใครไม่เคยได้ยิน ฟันไม่เข้า แทงไม่ตาย ยิงล้มแล้วลุก มีต้นกำเนิดมาจากวัตถุมงคลที่สร้างและปลุกเสกโดย ๔ เกจิชื่อดัง จาด จง คง อี๋ ทำให้วัตถุมงคลของทั้ง ๔ เกจิอาจารย์ดังโดยไม่ต้องปั่น เป็นที่ต้องการของผู้ที่นิยมพระเครื่องสายเหนียวและแคล้วคลาด

คลิปนี้ ๔ มีนาขออาราธนาเหรียญของหลวงพ่อคง ที่สร้างในปี ๒๔๘๔ มาให้พี่ๆ เพื่อนๆ ดูธรรมชาติเหรียญอายุประมาณ​ ๘๐ ปีกัน ดูธรรมชาตินะครับ หมดยุคของการเทียบพิมพ์ เทียบตำหนิแล้ว ใครมีพระเก่าธรรมชาติดีๆ อย่าเชื่อการเอาไปเทียบตำหนิกับพระของคนอื่นๆ พี่ๆ เพื่อนๆ อาจจะกำลังเอาไปเทียบกับเหรียญเก๊โดยไม่รู้ตัวก็ได้ ฝากกดไลค์ กดแชร์ ฝากบอกต่อกันไป เป็นกำลังใจให้ ๔ มีนาทำคลิปดีๆ ต่อไปนะครับ

เรามาเช็คเหรียญหลวงพ่อคงเหรียญนี้กันครับ หน้าเหรียญระบุปีไว้ว่า ปี ๒๔๘๔ ดังนั้นเราจะเช็คธรรมชาติเหรียญ โดยทุกจุดจะต้องผ่านอายุมาอย่างน้อย ๘๒ ปี
พุทธศิลป์เป็นรูปหน้าตรงของหลวงพ่อคง ครึ่งองค์อยู่ตรงกลาง รายละเอียดใบหน้าครบ คมชัดมีตัวหนังสือรอบ อ่านว่า พระอุปัชฌายคง วัดบางกะพ้อม ชนมายุ ๗๗ ปี พ.ศ.​๒๔๘๔ ตรงกลางด้านล่างเป็นสัญลักษณ์ดอกจันทร์ ด้านหลัง ตรงกลางเป็นยันต์​๕​ หรือยันต์พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ และอักขระยันต์​ ๔ แถว อักษรรอบยันต์ อ่านว่า ลาภผลพูนทวี ศิษย์สร้างบูชาพระคุณของหลวงพ่อ หูเหรียญนี้เป็นหูเชื่อม

เนื้อพระ
ถึงจะเป็นเหรียญปั๊ม แต่เนื้อเหรียญเป็นเนื้อโลหะผสม แก่ทองแดง เท่าที่ ๔ มีนาศึกษามาเนื้อลักษณะนี้เป็นการรวบรวมโลหะมวลสารหลายชนิดจากทางวัด วิเคราะห์ว่าน่าจะเป็นการหลอมโลหะและมวลสารในขั้นต้นก่อน แล้วจึงนำไปรีดเป็นแผ่นและปั๊มเป็นเหรียญ เราจะเห็นธรรมชาติเนื้อเหรียญคล้ายสำริด เห็นกระแสโลหะและออกไซด์หลายชนิดเกิดขึ้น ซึ่งถือว่าค่อนข้างพิเศษและแตกต่างจากเหรียญที่เราเห็นกันทั่วๆ ไป โดยเฉพาะเหรียญยุคหลังๆ ที่ใช้แผ่นทองแดงมาปั๊มเป็นเหรียญ แต่จะเป็นธรรมชาติแบบเดียวกับเหรียญหล่อโบราณยุคเก่าๆ

เรามาเช็คความแห้งกันครับ เหรียญหลวงพ่อคงเหรียญนี้ดูธรรมชาติไม่ยาก เนื้อเหรียญแห้งดี กระแสโลหะในเนื้อก็ชัด การเช็คเหรียญเก่าและพระเก่า เราจะดูที่ความแห้งก่อนนะครับ มองโดยรวมแล้วต้องเห็นความแห้งคลุมผิวทั่วไปจากออกไซด์ที่ขึ้นเป็นเม็ดผดหรือคราบแห้งๆ ตามการผ่านอายุ

และเนื้อพระต้องมีความเหี่ยวตามอายุ ดูเป็นลอนคลื่น ธรรมชาติที่เกิดขึ้นทำให้เนื้อพระไม่เรียบตึง ไม่ลื่นมันเงา เหรียญเก่า ผิวเรียบไม่ใช่ตึง รายละเอียดชัดไม่ใช่คม ทั้งกระแสโลหะในเนื้อ ออกไซด์ที่เกิดขึ้นสะสมตัวกันเกือบร้อยปีบนผิว เอาที่ไหนมาตึงๆ คมๆ ผิวตึงๆ ทำง่าย ผิวเหี่ยวๆ นี่ล่ะครับทำยาก บางสายเค้าถึงชอบรมดำปิดความใหม่เอาไว้

หูเชื่อมก็ต้องเก่า ส่วนมากหูและเหรียญมักจะเป็นเนื้อเดียวกัน เราต้องดูธรรมชาติทั้งขอบนอกและขอบในหู ซึ่งตัวเชื่อมหูเหรียญเนื้อทองแดงส่วนมาก จะใช้ทองแดงผสมสังกะสี หรือตามสูตรของช่างแต่ละครั้ง เพื่อให้หลอมละลายเร็วกว่าเนื้อเหรียญ เมื่อเชื่อมหูเข้ากับเหรียญ เนื้อเหรียญจะได้ไม่ละลาย การดูรอยเชื่อม เราก็จะดูความแห้ง ดูความเป็นโลหะผสม และดูความเก่าตามธรรมชาติเหมือนการดูเหรียญ และในเมื่อเหรียญเก่าเนื้อทองเหลืองล้วนๆ ไม่น่าเก็บ รอยเชื่อมแบบทองเหลืองล้วนๆ เงาๆ ตึงๆ ก็ต้องระวัง แต่ถ้าธรรมชาติเหรียญผ่าน รอยเชื่อมก็น่าจะเป็นไปในทางเดียวกันครับ ยกเว้นเจอเหรียญเชื่อมหูใหม่

ส่วนขอบเหรียญ พี่ๆ เพื่อนๆ ดูเอาเองนะครับ ๔ มีนาไม่พูดถึง จะได้ไม่มีดราม่ากัน ถ้าจะดูขอบ ดูแค่ออกไซด์และความเก่าที่เกิดขึ้นในรอยตัดก็พอครับ เพราะอยากให้ตัดแบบไหน โรงงานตัดให้ได้หมดตามสั่ง ตัดแล้วก็ส่งไปโรงแต่งเพื่อแต่งให้ดูเก่า ถ้าธรรมชาติผิดอายุ จะขอบแบบไหน ก็เก๊หมด

หัวใจสำคัญในการเช็คเหรียญนี้คือกระแสโลหะและออกไซด์
เราจะเห็นโลหะต่างชนิดผสมกันอยู่ในเนื้อเหรียญ เหมือนการหลอมเนื้อโลหะด้วยวิธีหล่อโบราณ โลหะทั้งหมดไม่ได้หลอมรวมเข้ากันดีเหมือนเครื่องเหวี่ยงสมัยนี้ เราจะเห็นเกล็ดโลหะหลากชนิดผสมกันเป็นเหมือนกระแสอยู่ในเนื้อคล้ายพระเนื้อสำริด เห็นมั๊ยครับ พระเก่ามีรายละเอียดให้เราดู มีธรรมชาติให้เราศึกษาเรียนรู้ได้มากกว่าการเทียบพิมพ์ ส่องหาตำหนิ หรือมานั่งจำว่าเหรียญรุ่นไหนตัดขอบแบบไหน

ออกไซด์ โลหะทุกชนิดจะต้องเกิดออกไซด์ตามธรรมชาติของแต่ละชนิดโลหะ ออกไซด์คือธรรมชาติที่ใช้ประเมินระยะเวลาการผ่านอายุ และเหรียญนี้มีโลหะหลายชนิดผสม เพราะฉะนั้นออกไซด์ก็จะหลากหลายไปด้วย กระแสโลหะอยู่ในเนื้อ ส่วนออกไซด์จะเกิดจากในเนื้อขึ้นอยู่บนผิว ออกไซด์และกระแสโลหะเกิดได้เป็นทั้งคราบ เกล็ด และขึ้นเป็นตามุ้งหรือเส้นเสี้ยนได้ขึ้นอยู่กับชนิดของโลหะและความหนาแน่นของโลหะในบริเวณนั้นๆ ซึ่งการเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ฝีมือคนยังทำได้ไม่ใกล้เคียง

Комментарии

Информация по комментариям в разработке