พระแท้กับพระนิยม มันคนละคำกัน ระวัง!!! เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อจั่น วัดบางมอญ

Описание к видео พระแท้กับพระนิยม มันคนละคำกัน ระวัง!!! เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อจั่น วัดบางมอญ

เหรียญหล่อพิมพ์รูปเหมือนหลวงพ่อจั่นแท้ที่สร้างในปี ๒๔๖๕ ต้องดูอย่างไร
พระแท้กับพระนิยม มันคนละคำกัน ระวัง!!!

เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อจั่น วัดบางมอญ
หลวงพ่อจั่น จันทสโร วัดบางมอญ พระเกจิอาจารย์ระดับตำนานแห่งจังหวัดอยุธยา ท่านเชี่ยวชาญวิปัสนากรรมฐาน สรรพวิชาความรู้ พุทธาคมต่างๆ และได้ช่วยเหลือผู้คนมากมาย จึงได้รับความเคารพนับถือจากผู้คนในพื้นที่ทั้งใกล้และไกลมากมาย ประสบการณ์เพียบทั้งโดยตรงจากท่าน และทั้งจากวัตถุมงคลที่ท่านสร้างและอธิษฐานจิตไว้ ว่ากันว่าหลวงพ่อทบ วัดชนแดน พระเกจิผู้แก่กล้าในวิชาอาคมต่างๆ ยังพกเหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อจั่นติดตัวเสมอ ตามที่เห็นได้ในรูปเก่าของท่าน และคลิปนี้ เราจะมาเช็คเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อจั่นกัน

และที่ว่าทำไมต้องระวังเหรียญเก่าที่เป็นเนื้อทองเหลือง เหตุผลและความจริงมีเยอะเลยครับ เริ่มจากทองเหลืองไม่มีในธรรมชาติ
ใครที่บอกว่าเนื้อพระเก่าต้องเป็นทองเหลืองจากธรรมชาติ แปลว่าเค้าไม่มีความรู้หรือไม่ก็กำลังหลอกขายพระเก๊อยู่

สำหรับที่เรียกกันว่าทองเหลืองโบราณไม่ว่าจะเป็นหม้อเก่า ระฆังโบราณ หรือเครื่องทองเหลืองที่สร้างกันมาเป็นพันๆ ปี ก็ต้องเป็นการผสมโลหะทองแดงและสังกะสีเข้าด้วยกัน ก็ธรรมชาติไม่มีทองเหลืองงัยครับ ส่วนการสร้างพระเครื่องอาจจะมีสูตรการสร้างที่ซับซ้อนกว่าการสร้างหม้อระฆังได้ จนสมัยใหม่เค้าถึงได้มีโรงแยกแร่ ผสมแร่ ผลิตทองเหลืองสำเร็จรูปออกมาขายกัน

ดังนั้นส่องเหรียญเก่าหล่อโบราณ ก่อนปี พ.ศ.​๒๕๐๐ หรือลึกไปกว่านั้น แล้วเนื้อพระมีแต่ทองเหลืองล้วน คือผิดเนื้อ และถ้าผิวตึงๆ ก็คือผิดหลักการสร้าง ตีเก๊ได้เลยเพราะถ้าเป็นการสร้างแบบโบราณ เพราะในยุคที่ยังไม่มีโรงงาน ยังไม่มีเครื่องปั๊มพระหล่อเหวี่ยง ธรรมชาติของพระเครื่องเนื้อสำริดหรือทองเหลืองโบราณก็ต้องเห็นธรรมชาติของการหลอมรวมโลหะ เห็นธรรมชาติของการหล่อโบราณ และเห็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติตามอายุของวัตถุนั้นๆ และเหรียญหล่อหลวงพ่อจั่นที่สร้างในช่วงปี พ.ศ.​๒๔๖๕ ก็ต้องเป็นเช่นนั้น และเท่านั้น

ตามบันทึก หลวงพ่อจั่นท่านเกิดเมื่อ พ.ศ.2380 ที่ ต.บางมอญ อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา มรณภาพในปี พ.ศ. 2470 สิริอายุรวม 90 ปี
เหรียญหล่อพิมพ์รูปเหมือนหลวงพ่อจั่นรุ่นแรกจัดสร้างในปี พ.ศ.2465
ดังนั้นเราจะเช็คเหรียญนี้โดย ต้องเป็นเหรียญหล่อ ที่สร้างแบบหล่อโบราณ
ธรรมชาติต้องผ่านอายุมามากกว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป
และเมื่อเป็นเหรียญวัดและเป็นเหรียญหล่อท่ีสร้างมาเมื่อร้อยกว่าปีก่อน ต้องเป็นเหรียญเนื้อโลหะผสม
จะเป็นเนื้อทองเหลืองร้าน หล่อโรงงานไม่ได้ นี่คือประเด็นที่ว่าด้วย ทำไมต้องระวังเหรียญเก่า เนื้อทองเหลืองล้วนๆ อมเขียว เนื้อเรียบตึง เพราะแท้ไม่ได้ด้วยหลักการและเหตุผลอะไรเลย

พุทธศิลป์ #โชคลาภ
เป็นเหรียญทรงกลม มีขอบ ๒ ชั้นยกสูงโดยรอบ ด้านบนเป็นหูปลิงหนาใหญ่ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อจั่น มีรายละเอียดบนใบหน้า ใบหูกางออก ช่วงลำตัวมีลายจีวร อังสะ รัดประคดและ ลายเส้นสังฆาฏิชัด มือทั้งสองข้างวางที่ช่วงหัวเข่า นั่งในท่าสมาธิบนเส้นผ้ารองนั่ง
ด้านหลังเป็นยันต์ ๙ ช่อง ทรง​ ๔ เหลี่ยม มีอักขระยันต์พระพุทธเจ้า ๑๖ พระองค์ในกรอบทั้ง ๔ มุม และมียันต์ภควัมปติหรือยันต์น้ำเต้า ยอดเป็นอุณาโลมทั้ง ๔ ทิศ
ขอบเหรียญมีร่องประกบพิมพ์ด้านหน้าและด้านหลัง เห็นรอยตะไบเก็บรายละเอียดแต่งขอบเหรียญโดยรอบเป็นธรรมดาของพระหล่อโบราณ เหรียญหล่อโบราณ ไม่มีตำหนิ มีแต่ธรรมชาติ

เนื้อเหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจั่นรุ่นแรก #วัตถุมงคล
เป็นเนื้อทองผสมหล่อโบราณ ส่วนผสมหลักคือทองแดง สังกะสีรวมถึงทองคำและโลหะอื่นๆ ที่ผู้คนนำมาร่วมบุญในงาน มาหลอมรวมกันและหล่อขึ้นเป็นเหรียญ ดังนั้นเราจะดูกระแสโลหะกันด้วยนะครับ

ส่วนหนึ่งที่เราจะสังเกตุได้ การวางชุดอักขระยันต์ในเหรียญโบราณ ความคมชัดก็เป็นจุดที่เราใช้ดูความแท้ได้ เพราะเหรียญหล่อเมื่อร้อยกว่าปีก่อน ถ้าเป็นอักขระยันต์ขนาดเล็กคมชัดได้ไม่แปลก แต่ถ้าเป็นชุดยันต์ขนาดใหญ่แล้วคมชัดทั้งหมด ต้องเรียกว่าสวยระดับ ๑ ในพัน หรือไม่งั้นก็ฉีดแว๊กส์หล่อเหวี่ยงมา ยิ่งถ้าผิวตึงๆ ไม่มีออกไซด์ ไม่มีกระแสโลหะผสม ยิ่งเป็นแค่ทองเหลืองล้วนๆ ด้วยแล้ว ยังไงก็เก๊ อย่าไปจับมานะครับ

ความแห้ง
เรามาเช็คเนื้อพระเก่ากันครับ พื้นฐานคือ เหรียญต้องแห้ง ผิวต้องแห้ง มีคราบแห้งๆ นวลๆ ให้เห็น ถ้าเนื้อฉ่ำๆ สีสดๆ วางครับ ถ้าข้อแรกไม่ผ่าน ไปต่อไม่ได้ #วัตถุมงคล

เนื้อเหี่ยว
ในพระเก่าและพระหล่อโบราณ เนื้อต้องเหี่ยวย่นเป็นลอนคลื่น ไม่ใช่ฉีดแว๊กส์ ปั๊มเครื่องมาตึงๆ ใครเคยหล่อโบราณมากับมือจะรู้ในจุดนี้ จริงๆ ถึงจะไม่เคยหล่อเอง แค่คิดตามหลักความเป็นจริง ก็เข้าใจเรื่องนี้ได้ทุกคน

กระแสโลหะ
เมื่อเป็นการผสผมโลหะหลอมรวมกันด้วยวิธีหล่อโบราณ โลหะต่างชนิด ต่างจุดหลอมละลาย และถูกความร้อนต่างกัน จะแสดงออกมาให้เราเห็นเป็นกระแสอยู่ในเนื้อ

ออกไซด์
ออกไซด์ดูไม่ได้ดูยาก ดูลักษณะการเกิดทีละจุดแล้วสะสมตัว การสะสมตัวบนผิว การสะสมตัวในร่อง เหลืองส้มแดง หลากสี เข้มอ่อน หนาบาง พิจารณาดูจากรูป หรือแวะมาส่องออกไซด์บนองค์พระตอนกิจกรรมปิดหูดูพระกันสิครับ แล้วจะเข้าใจ

รอยตามด
พื้นฐานการดูรอยตามดคือ ส่องหาหลุมและดูก้นหลุม ดูธรรมชาติตามอายุที่เกิดในหลุม เป็นจุดเล็กๆ ที่มีความสำคัญไม่เล็ก

รอยตะไบ
รอยตะไบเก่า ปากรอยจะต้องไม่เป็นร่องคมๆ ร่องต้องเหี่ยว ท้องรอยมีออกไซด์คลุมเหมือนเนื้อเหรียญ รอยตะไบตื้นจะดูเป็นริ้วๆ มีรอยแต่ไม่มีร่อง รอยตะไบสำคัญนะครับ เพราะธรรมชาติในร่องตะไบทำปลอมไม่ได้ แต่ทำให้เลอะเทอะเหมือนเก่าได้


เราถูกสอนกันมาตลอดว่า การศึกษาพระเครื่องต้องนำด้วยพิมพ์ ให้เหมือนที่เค้าตกลงกัน ตามด้วยส่องหาตำหนิให้ครบทั้งๆ ที่เป็นการหล่อโบราณ เนื้อต้องตึง พิมพ์ต้องคมขัดแย้งกับความเป็นพระผ่านอายุเป็นร้อยปี โดยที่ไม่เคยมีการบอกหรือสอนให้ดูธรรมชาติที่ต้องมีบนพระเครื่อง ว่าต้องเห็นอะไร และธรรมชาติของพระเหรียญหล่อโบราณจะต้องมีอะไร
... ปิดหู ดูพระ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке