ฟ้อนแอ่วสาว ปั่นฝ้าย

Описание к видео ฟ้อนแอ่วสาว ปั่นฝ้าย

ศิลปนิพนธ์ เรื่องฟ้อนแอ่วสาว ปั่นฝ้าย มีวัตถุประสงค์เพื่อสามารถนำปรากฏการณ์วิถีชีวิตของชาวล้านนาในอดีตมาออกแบบให้เป็นการแสดงอย่างเป็นเรื่องราวได้ และสามารถสร้างสรรค์ชุดการแสดง “ฟ้อนแอ่วสาว ปั่นฝ้าย” ได้
ผลการวิจัยพบว่า
ฟ้อนแอ่วสาว ปั่นฝ้าย ได้รับแรงบันดาลใจมาจากบทละครในการออกแบบเรื่องราวประกอบการแสดงสร้างสรรค์พื้นบ้านล้านนาเรื่อง หงส์ผาคำ ของวิทยาลัย
นาฏศิลปเชียงใหม่ ที่จัดแสดงเมื่อครั้งงานถวายพระเพลิงพระบรมศในหลวงรัชกาลที่ ๙ โดยได้รับความเมตตาในการประพันธ์เพลงจาก
อาจารย์รักเกียรติ ปัญญายศ ผู้เชี่ยวชาญด้านการประพันธ์เพลงและดนตรีล้านนา โดยบทเพลงการแสดงและเรื่องราวแบ่งออกได้เป็น ๓ ช่วงดังนี้
ช่วงที่ ๑ วิถีเรื่องราว หลังจากเสร็จสิ้นกิจวัตรประจำวัน ในเวลาพลบค่ำ เหล่าบรรดาชายหนุ่มจะเดินทางออกจากบ้านไปแอ่วสาว อีกทั้งฝ่ายหญิงสาวก็จะแต่งตัวให้สวยงาม และออกมาหน้าเติ๋นบ้าน (ชานบ้าน) เพื่อทำกิจกรรม
“การอยู่นอก” เรียกว่า “การปั่นฝ้าย”
ช่วงที่ ๒ แอ่วสาว พื้นเมือง การหยอกล้อเกี้ยวพาราสีของบรรดา
ชายหนุ่ม – หญิงสาวผ่านวรรณกรรมล้ำค่าของล้านนาแทนคำพูดที่แสดงออก ในเชิงภาษารัก
ช่วงที่ ๓ รุ่งเรืองสุขสันต์ ความปลื้มปิติยินดีในความรักที่สื่อถึงความสมหวังในความรัก ในแง่มุมหนึ่ง ก็ยังมีผู้ที่ไม่สมหวังในความรักอยู่ด้วยเช่นกัน

คณะผู้วิจัย
นายสาวิน มูลธิมา
นายสุวินัย สะอาดล้วน
นางสาวอนัญพร ศรีพรหม

อาจารย์ผู้ควบคุมศิลปนิพนธ์
อาจารย์ธงชัย จีนชาติ
อาจารย์ปทุมทิพย์ กาวิล

Комментарии

Информация по комментариям в разработке