ฟ้อนถิ้งบ้อง

Описание к видео ฟ้อนถิ้งบ้อง

ศิลปนิพนธ์เรื่อง ฟ้อน “ถิ้งบ้อง” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการฟ้อนรำประกอบวงกลองถิ้งบ้องอันมีวิวัฒนาการอยู่ในวัฒนธรรมล้านนา และสร้างสรรค์และประดิษฐ์ท่าฟ้อน“ถิ้งบ้อง” เป็นเอกลักษณ์เฉพาะและมีแบบแผนที่งดงาม และแรงบันดาลใจของชุดแต่งกายประกอบการแสดงที่นำเอาความมีเอกลักษณ์โดดเด่นของการแต่งกายล้านนาในปี ๒๕๐๐
ฟ้อน“ถิ้งบ้อง” มีชื่อเรียกหลากหลายในวัฒนธรรมล้านนา อาทิ
ฟ้อนแห่ครัวทาน ฟ้อนโจ๊ะโล๊ะดอกข่า เป็นการฟ้อนที่ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมประเพณีของชาวล้านนามาแต่โบราณ มิได้มีท่าฟ้อนรำที่แน่ชัด แต่มีรูปแบบของแม่ท่ามือ
ในรูปของการเลียนแบบความงดงามของดอกข่า โดยผู้ฟ้อนรำจะกระทำด้วยความบันดาลใจโดยฉับพลัน และเพื่อก่อให้เกิดความรื่นเริง สนุกสนานในการแห่แหนขบวนครัวทาน
รูปแบบการฟ้อน“ถิ้งบ้อง” มี ๓ ช่วง คือ
ช่วงที่ ๑ ตีลั่นก๋องยามแลง
ช่วงที่ ๒ แห่แหนแต๋นแต้
ช่วงที่ ๓ แอ่นแอ้หน้าวัด
ใช้วงดนตรีวงกลองถิ้งบ้อง ซึ่งเป็นวงกลองพื้นบ้านล้านนา ประกอบด้วยกลองสิ้งหม้อง กลองทั่ง โหม่ง ฉาบ กรับไม้ไผ่ และปี่แนน้อย
เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงคือ เพลงหยุบมือกำ เพลงสาวน้อยป่าบง เพลงบ่เกย และเพลงภารตะ
คณะผู้วิจัย
นายสรศักดิ์ พรหมระอางวัน
นายผดุงเกียรติ ใหญ่ยิ่ง
นางสาวศุภกาญจน์ กิตติกวางทอง
นางสาวศศิประพร รอดภักดี

อาจารย์ผู้ควบคุมศิลปนิพนธ์
ผศ. สมภพ เพ็ญจันทร์
อาจารย์ ธงชัย จีนชาติ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке