คนดังกับโรค ตอนที่ 18 : วิเคราะห์สาเหตุ ทำไม คุณแต้ว ถึงป่วยเป็น แพนิค และ ลำไส้แปรปรวน

Описание к видео คนดังกับโรค ตอนที่ 18 : วิเคราะห์สาเหตุ ทำไม คุณแต้ว ถึงป่วยเป็น แพนิค และ ลำไส้แปรปรวน

คนดังกับโรค
คุณแต้ว
แพนิก
ลำไส้แปรปรวน
คนดังกับโรค ตอนที่ 18 : วิเคราะห์สาเหตุ ทำไม คุณแต้ว ถึงป่วยเป็น แพนิค และ ลำไส้แปรปรวน
โรคแพนิค หรือ Panic Disorder คืออะไร
โรคที่เกิดจากฮอร์โมนลดหรือเปลี่ยนแปลงกระทันหัน ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ เหมือนไฟฟ้าลัดวงจร ระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของร่างกายในหลายๆ ส่วน จึงเกิดอาการหลายอย่างร่วมกัน เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก หายใจไม่ทัน ท้องไส้ปั่นป่วน วิงเวียนคล้ายจะเป็นลม และเป็นอาการที่เกิดขึ้นฉับพลันโดยที่ไม่มีสาเหตุหรือมีเรื่องให้ต้องตกใจ นั่นทำให้บางคนที่มีอาการมักคิดว่าตนเองเป็นโรคหัวใจ และไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ และผู้ป่วยโรคแพนิคมักจะรู้ตัวว่าเป็นโรคแพนิกก็ต่อเมื่อมีอาการดังกล่าวไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็ค แล้วพบว่าหัวใจแข็งแรงเป็นปกติ แพทย์จะสงสัย และอาจวินิจฉัยว่าเป็นโรคแพนิก
อาการของโรคแพนิค

ใจสั่น ใจเต้นแรง แน่นหน้าอก
เหงื่อออกมาก หนาวๆ ร้อนๆ
หายใจถี่ หายใจตื้น หายใจไม่อิ่ม
วิงเวียน โคลงเคลง รู้สึกตัวลอย คล้ายจะเป็นลม
รู้สึกกลัวไปหมดทุกอย่าง โดยเฉพาะกลัวตาย
ควบคุมตัวเองไม่ได้ รู้สึกอยู่คนเดียวไม่ได้
สาเหตุของโรคแพนิค (Panic Disorder) มีสาเหตุมาจากอะไร?
โรคแพนิคเกิดขึ้นได้ในคนทั่ว ไป เกิดจากได้หลายสาเหตุ ไม่สามารถบอกได้ว่าเกิดจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง

สาเหตุทางกาย ได้แก่
ปัจจัยด้านพันธุกรรม : ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรควิตกกังวล มีโอกาสเกิดอาการได้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติในเครือญาติ
ปัจจัยด้านฮอร์โมนในร่างกาย : ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง อาจทำให้สารเคมีในสมองเสียสมดุลการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติไป เกิดเป็นโรคแพนิคได้
โรคลำไส้แปรปรวน หรือ ไอบีเอส (IBS) เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของลำไส้ส่วนปลาย ได้แก่ ปลายลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็ก ที่มีการบีบตัวมากเกินไป ทำให้เกิดอาการปวดท้อง แน่นท้อง ไม่สบายท้อง มีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่าย ท้องผูกหรือท้องเสีย เป็นต้น

สังเกตอาการลำไส้แปรปรวน มักมีอาการเหล่านี้
• ปวดท้อง อย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ในช่วง 3 เดือน
• ท้องผูก และ/หรือ ท้องเสีย
• ท้องอืด แน่นท้อง
• ปวดเกร็งบริเวณท้องน้อยหรือใต้สะดือ
• มีลมในท้อง
• อาการปวดหายไปหลังขับถ่าย

ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุได้ถึงสาเหตุของภาวะลำไส้แปรปรวนได้อย่างแน่ชัด แต่พบว่ามีหลายปัจจัยร่วมกันที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะลำไส้แปรปรวน ได้แก่
• การบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ
• การรับรู้ของระบบทางเดินอาหารที่ไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าปกติ
• ปัญหาในการย่อยอาหาร
• การติดเชื้อในทางเดินอาหาร
• ปัญหาทางด้านจิตใจและอารมณ์
• การใช้ยาบางชนิด
• กรรมพันธุ์ โดยพบว่า ในครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นโรคลำไส้แปรปรวน จะมีแนวโน้มในการเกิดโรคนี้ได้ 2 – 3 เท่า

โรคลำไส้แปรปรวนไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังและมีแนวโน้มที่จะกลับมาเป็นอีก หากผู้ป่วยยังคงไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

Комментарии

Информация по комментариям в разработке