นาฏยนิพนธ์เชิงสร้างสรรค์ชุด หงส์ในโคม

Описание к видео นาฏยนิพนธ์เชิงสร้างสรรค์ชุด หงส์ในโคม

นาฏยนิพนธ์เชิงสร้างสรรค์ชุด หงส์ในโคม

โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปีการศึกษา 2566 (การละเมิดลิขสิทธิ์ เผยแพร่ ท่ารำ เพลง ดัดแปลง ทำซ้ำ โดยผู้เป็นเจ้าของผลงานไม่อนุญาตหรือไม่ได้รับทราบถือว่ามีความผิดทางกฎหมายและสามารถถูกดำเนินคดี)

นาฏยนิพนธ์เชิงสร้างสรรค์ชุด หงส์ในโคม หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
คณะผู้วิจัย
1.นางสาวกุลธิดา อินอิ่น
2.นางสาวณัฐชลีพร บุญถา
3.นายทิวากร ยานะฝั้น
4.นางสาวนภัสศรณ์ แสงสุวรรณ์
5.นางสาวปิยาภรณ์ คําหอด
6.นางสาวพิชญา แสงศรีจันทร์
7.นางสาวพฤกษา คําภีระ
8.นางสาววรพา อุตโม
9.นางสาวสาวิตรี บัวหนอง

การแสดงชุด “หงส์ในโคม" ได้รับแรงบันดาลใจจากลายหงส์ในโคม ซึ่งเป็นลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเจริญ พระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๐๕ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ที่ทรงพระวิริยะอุตสาหะ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการส่งเสริมเรื่อง "ผ้าไทย” และ สิ่งทอท้องถิ่นที่เกือบสูญหายไปให้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง พร้อมยกระดับผ้าไทยให้มีความโดดเด่นและมีชื่อเสียงในเวทีโลก เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชน ให้ดียิ่งขึ้น โดยลายผ้า “หงส์ในโคม” มีที่มาจากลายผ้าตีนจกโบราณที่โดดเด่น และแพร่หลายในกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนหรือคนเมืองในเชียงใหม่มาแต่อดีต สำหรับสาย “หงส์” หรือบางพื้นที่เรียกว่าลาย “นกกินน้ำร่วมต้น" ปรากฏ อยู่บนผืนผ้าซิ่นตีนจกของเจ้านายสตรีในราชสำนักล้านนา มีลักษณะคล้ายหงส์ หรือนกที่หันหน้าชนกัน ลายนี้จะอยู่ในใจกลางของรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดส่วนลาย "โคม" เป็นลายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน และลายรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม มีรูปลักษณ์ คล้ายกับโคมแขวน ทำหน้าที่เป็นกรอบล้อมรอบรูปหงส์ ชาวล้านนา ประดิษฐ์โคมขึ้น เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในวันเพ็ญเดือนยี่ หรือวันลอยกระทง เมื่อนำมารวมกันแล้วจึงเป็นที่มาของลายผ้าที่ชื่อว่า “หงส์ในโคม"

Комментарии

Информация по комментариям в разработке