สูตรนี้สำคัญ..!! กฎของเคอร์ชอฟฟ์ EP.2 (KVL) Kirchhoff's Laws วิศวกร เขาใช้กัน..!!!

Описание к видео สูตรนี้สำคัญ..!! กฎของเคอร์ชอฟฟ์ EP.2 (KVL) Kirchhoff's Laws วิศวกร เขาใช้กัน..!!!

สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZimDIY
หลังจากคลิปที่แล้ว เราได้พูดถึง กฎกระแสของเคอร์ชอฟฟ์ หรือ KCL กันไปแล้ว
ใน วันนี้ EP ที่ 2 เราจะมาพูดถึง กฎแรงดัน ของเคอร์ชอฟฟ์ กันบ้างนะครับ
กฎแรงดันเคอร์ชอฟฟ์ หรือ เรียกสั้นๆว่า KVL
ที่จริง กฎนี้ มันก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน เลยครับ มันเป็นเพียง แค่แนวคิดพื้นฐาน
เรา เพียงเข้าใจคอนเซฟ ของมันคร่าวๆ ก็สามารถนำไประยุกต์ใช้งานได้แล้วครับ
เราไปดูคอนเซบของ KVL กันครับ
คอนเซบเขาบอกว่า
ผลรวมของแรงดันที่ใช้ รอบลูป จะเท่ากับ
ผลรวมของแรงดันที่ ตกคร่อม รอบ ลูป
หรือกล่าวอีกนัย ก็คือ
ผลรวมเชิงพีชคณิตของแรงดันไฟฟ้าทั้งหมด....รอบวงปิดใดๆในวงจร
จะมีค่า = 0
เพื่อนๆได้ฟังแบบนี้ ครั้งแรก แล้วรู้สึก เป็นยังไงกันบ้างครับ
ที่ขนาดแปลไทยเป็นไทย แล้วนะครับ ก็ยังรู้สึกว่า ยังไม่ค่อยเคลียร์ สักเท่าไหร่
งั้น ผมพาเพื่อนๆ ดูที่วงจรนี้กันก่อนเลย ครับ
ผมมีแรงดันแหล่งจ่ายตรงนี้ กำหนดชื่อว่า E1
และผมก็มี โหลด ที่เผป็นตัวต้านทาน ต่ออนุกรมกัน สามตัว
และก็จะตั้งชื่อมันแต่ละตัวว่า R1 , R2 และก็ R3
ตอนนี้ ให้เพื่อนๆเข้าใจว่า เมื่อมี กระแสไฟ ไหลผ่านตัวต้านทานเหล่านี้ มันก็จะมีแรงดันตกคร่อมเกิดขึ้น
งั้นผมขอ ชื่อ เรียกแรงดันตกคร่อม ของ R แต่ละตัวเหล่านี้ ให้ชื่อมัน สอดกันนะครับ
แรงดันตกค่อมของ R1 ผมจะเรียกว่า VR1
แรงดันตกค่อมของ R2 ผมจะเรียกว่า VR2
และ แรงดันตกค่อมของ R3 ผมจะเรียกว่า VR3
ผม ก็สามารถ สร้างสมการง่ายๆ จากคอนเซป เมื่อสักครู่ได้แล้ว
นั้นก็คือ
ผลรวมของแรงดันที่ใช้รอบลูป สังเกตุว่าผม มีแรงดัน จากแหล่งจ่ายเดียว
ก็จะได้ E1 = ผลรวมของแรงดันตกคร่อมรอบลูป
แรงดันตกคร่อม รอบลูป มาจาก
vR ทั้ง 3 ตัวนี้ เราก็เอามาใส่ เพราะฉะนั้น เราก็จะได้สมการ
ที่สวยงามออกมาแบบนี้ครับ
E1 = VR1 + VR2 + VR3
ซึ่ง สมการนี้ ผมจะก็ยังไม่ด่วนสรุป..หรือ ปักใจเชื่อ จนกว่า ผมจะได้ พิสูจน์
ด้วยตัว ของผมเอง ในวงจร จริงครับ
ตอนนี้ ผมได้เตรียมอุปกรณ์ ทุกอย่าง ไว้หมด แล้วครับ
ผมใช้แหล่งจ่ายเป็น Powersupply ปล่อยแรงดันออกมา อยู่ ประมาณ 12.11 V ครับ
ผมวัดแรงดันตกคร่อมม VR1 ได้ = 1.794V
วัดแรงดันตกคร่อมม VR2 ได้ = 2.58V
และ วัดแรงดันตกคร่อมม VR3 ได้ = 7.70 V
เมื่อเราเอา แรงดันตกคร่อมทั้ง 3 ตัวมารวมกัน ผลปรากฎว่า ได้แรงดัน =12.07 V
ซึ่งใกล้เคียง กับ แรงดันของ แหล่งจ่าย ของเรา อาจะมี การสูญเสีย ไปนิดหน่อย ระหว่างสาย
ก็ถือว่า สมการนี้ ถูกต้อง และ แนวคิด ทฤษฎี KVL ของคุณ กุสตัฟ เคอร์ชอฟ เป็นความจริง แน่แท้ทุกประการครับ
ทำให้ ทฎษฎีนี้ ต่อมา ได้กลายเป็นกฎพื้นฐานทางด้าน ฟิสิกส์ ของ อิเล็กโทรนิกส์ กฎ หนึ่งในปัจจุบัน
นอกจากนี้ เรายังสามารถประยุกต์ใช้ กฎ KVL กับวงจรอื่นๆได้
ไม่ใช่แค่ตัวต้านทานเพียงอย่างเดียว
วงจร พวกไดโอด หรือ วงจร ทรานซิสเตอร์ ก็คำนวณ ได้
เดี๋ยวถ้ามีโอกาส ผมจะ สาธิต วิธีคำนวณ ใช้ให้ดูนะครับ
สำหรับคลิปนี้ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке