อโยธยา อินเดีย เมืองของพระราม ที่มาแห่งนาม “กรุงศรีอยุธยา” I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.213

Описание к видео อโยธยา อินเดีย เมืองของพระราม ที่มาแห่งนาม “กรุงศรีอยุธยา” I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.213

อโยธยา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย มีหลักฐานทางโบราณคดี และวรรณกรรมจำนวนหนึ่งชี้ให้เห็นว่า เมืองนี้เริ่มมีการตั้งถิ่นฐานขึ้นตั้งแต่ช่วงพุทธกาลจนถึงพุทธศตวรรษที่ 1 หรือราว 500-600 ปี ก่อนคริสตกาล
สำหรับชาวฮินดูแล้ว ในคัมภีร์พระเวท รวมถึงมหากาพย์โบราณของอินเดีย เช่น รามายณะ และมหาภารตะ ต่างกล่าวถึงเมืองในตำนานที่ชื่อว่า “อโยธยา” คือสถานที่ประสูติของพระรามในฐานะเทพเจ้าองค์สำคัญ อย่างไรก็ตามคัมภีร์ทางพุทธศาสนาเรียกที่นี่ว่า “เมืองสาเกต” ปกครองโดยพระเจ้าปเสนทิ แห่งแคว้นโกศล
ไม่เพียงอโยธยา หรือสาเกตเดิม จะเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ และฮินดู แต่ยังมีความสัมพันธ์กับศาสนาเชนที่ระบุว่า มหาวีระศาสดา หรือตีรถังกรองค์สุดท้าย เคยเสด็จมาประทับเผยแผ่ศาสนาที่นี่เช่นกัน
จากความรุ่งเรืองของฮินดูในอโยธยาที่ผูกพันธ์กับเรื่องราวของพระรามในมหากาพย์รามายณะ กระทั่งในราวปี พ.ศ. 1769 (ค.ศ.1226) ภายใต้รัฐสุลต่านเดลี (Delhi sultans) อโยธยาได้กลายเป็นเมืองหลวงของแคว้นอวัธ (Awadh ) ศาสนาอิสลามได้ถูกให้ความสำคัญแทนที่
ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 21 (คริสต์ศตวรรษที่ 16) เมื่อจักรวรรดิโมกุลได้เริ่มแผ่อำนาจไปทั่วภูมิภาค
จักรพรรดิบาบูร์ทรงให้มีการก่อสร้างมัสยิด Babri ขึ้นบนเนินเขารามโกต (Ramkot) หรือ "ป้อมของพระราม" ระหว่างปี พ.ศ. 2071-2072
หลังจากสิ้นสุดราชวงศ์โมกุล และแคว้นอวัธถูกอังกฤษเข้ายึดครองในช่วงทศวรรษที่ 1850 ชาวฮินดูกลุ่มหนึ่งได้ออกมาโจมตีว่า มัสยิด Babri ได้สร้างขึ้นเหนือ “รามมนเทียร” (Ram Mandir) สถานที่เกิดของพระราม โดยเชื่อว่ามีการทุบทำลายโบสถ์พราหมณ์หลังเดิมเพื่อสร้างเป็นมัสยิด
การเคลื่อนไหวเพื่อทวงคืนมัสยิด Babri ให้เป็นวัดพระรามยังคงคุกรุ่นมาอย่างต่อเนื่องนับร้อยปี กระทั่ง พ.ศ. 2535 การชุมนุมชาตินิยมฮินดูฝ่ายขวาได้ก่อการจลาจล บุกทำลายมัสยิด Babri ลง
หลังจากการต่อสู้ในศาลนานหลายปี ในที่สุดเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ศาลสูงสุดของอินเดียมีคำพิพากษาให้พื้นที่ขัดแย้งเป็นของชาวฮินดู และเริ่มโครงการก่อสร้างวัดพระรามแห่งใหม่ (Shriram Janmbhumi Mandir) ขึ้นบนพื้นที่มัสยิดบาบรีเดิม
อโยธยาพื้นที่เล็กๆ ของอินเดีย ที่ซึ่งเต็มไปด้วยมรดกทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน ยังคงดำเนินสืบเนื่องเรื่อยมาไม่เคยขาดสาย และสรรสร้างให้เกิดโครงสร้างทางวัฒนธรรมที่หลากหลายและน่าสนใจอย่างยิ่งในปัจจุบัน

Комментарии

Информация по комментариям в разработке