รีวิว เครื่องวัด LCR สุดคุ้ม...!! ถึงกับโยนมัลติมิเตอร์เก่าทิ้ง..!! ตัวนี้ตัวเดียววัดได้หมด

Описание к видео รีวิว เครื่องวัด LCR สุดคุ้ม...!! ถึงกับโยนมัลติมิเตอร์เก่าทิ้ง..!! ตัวนี้ตัวเดียววัดได้หมด

📌ลิงค์สั่งซื้อ เครื่องวัด LCR (ตัวในคลิป)
LAZADA 👉https://s.lazada.co.th/l.0u78
SHOPEE 👉https://shope.ee/7ey0SRoe36

สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZim DIY
สำหรับวันนี้ผมจะมา รีวิว เครื่องมือ วัดอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ สารพัดประโยชน์ ตัวหนึ่ง ซึ่งบ้านเรา เขาเรียกว่า เครื่องวัด LCR
และตัวที่ผมใช้ในคลิปนี้ จะเป็น LCR รุ่น T4 รุ่นนี้ ก็ถือว่า ขายมานานพอสมควรแล้วเหมือนกันนะครับ แต่มันก็ยังได้รับความนิยมเรื่อยๆอยู่
ผมไปดู Feedback มา เขาบอกว่าตัวมัน เนี่ย วัดได้ข้อนข้างดี น่าพอใช้ในระดับหนึ่ง
แต่ถ้าเพื่อนๆ อยากได้เป็นตัว แบบ วัดละเอียดๆไป มีความเที่ยงตรงสูง ก็ควรเลือกซื้อ เป็น LCR มิเตอร์ แบบอุตสาหกรรมไปเลยครับ คุณภาพก็จะดีกว่า
ราคาก็จะหลักหมื่นขึ้นไป

ตัวนี้ที่เขาขาย มันก็จะเปลือยๆ แบบนี้เลยครับ ก็จะ มีแผงบอร์ด มีช่องเสียบ มีคันโยก มีหน้าจอ มี ที่เสียบถ่าน 9 V
ถ้ามาดูที่หัวใจหลักของมัน เครื่องนี้เขาจะใช้ เป็น ชิบไมโครคอนโทรลเลอร์ Atmega328P
ชิบตัวนี้ มันก็จะอยู่ ในพวกบอร์ดของ Arduino นั้นแหละครับ

ก็คือ ตัวมัน สามารถทำการประมวลได้อย่างแม่นยำ และข้อดีตรงนี้ โปรแกรมเมอร์ ก็เลยเขียนโปรแกรม ใส่ เข้าไป ใส่ฟังก์ชั่นต่างๆ
ออกแบบ ให้ตัวมัน วัดค่าอุปกรณ์ Passive ต่างๆ ได้อย่างสารพัดประโยช์น

ถ้าเพื่อนๆจะซื้อ ผมแนะนำให้ ซื้อเคสที่เป็น แผ่นอะคลีลิคใสมาด้วยครับ เพื่อป้องกันความเสียหายจากอุปกรณ์ภายนอกที่จะมากระทบมัน
และ เพื่อความสวยงาม สะดวกในการหยิบจับ

หลักๆเลยที่ผมซื้อมา ก็คือ มันสามารถวัดอุปกรณ์ ได้หลายอย่าง ราคาก็ถูกอีก ที่ชอบเลยก็คือ วัดตัวเหนี่ยวนำได้ , วัดทรานซิสเตอร์ได้ , วัด มอสเฟสได้
ระบุชนิด ระบุขา ระบุ อัตราการขยาย บอกได้เลยว่า ทำงานได้สุดจัด ปลัดไม่ได้บอก แต่ผมเป็นคนบอกเองครับ

ตัว มัน หลักๆ ก็คือ สามรถวัดค่า ได้ตามชื่อมันนั้นแหละครับ นั้นก็คือ L C R
เพราะฉะนัน้เดี่ยวผมจะเริ่มวัดจากตัว L ก่อน

และ ก่อนที่จะเริ่มทำการวัด
ผมขอ อธิบาย การใช้งานของเครื่อง คร่าวๆ ดังนี้ครับ

1.ดึงคันโยก ควรที่จะดึงขึ้นมาก่อนทำการวัด เสมอ ถ้าเพื่อนๆสังเกตุ ถ้าผมดันคันโยกลง มันจะเป็นการหนีบ ขาของตัวอุปกรณ์ ไว้
เพราะฉะนั้นดึงคันโยกขึ้นก่อน แล้วค่อยนำเอาขา อุปกรณ์ที่ต้องการวัด มาเสียบ
แล้วก็ดันคันโยกลง หลังจากนั้น ให้กดปุ่มฟ้ากลมๆตรงนี้ ไป 1 ที มันก็จะ เริ่ม ทำการประมวลผล และหาค่าผลลัพท์ออกมาเองอัตโนมัติ
แต่ถ้าขามัน ใหญ่ก็ไม่ต้องกด สุดหนีบให้มันตึงๆมือก็พอครับ

2. มันจะวัดอุปกรณ์ได้ 2 ขา หรือ 3 ขาเพียง เท่านั้น

3. ช่องเสียบอุปกรณ์ ช่องบนกับช่องล่าง มันจะเชื่อมต่อถึงกัน เสมอ
ถ้าหาก ข้างบนคือช่องที่ 1 ข้างล่างก็คือช่องที่ 1เช่นเดียวกันครับ

4. ตัวเลข 123 มันก็คือช่องที่ เอาไว้เสียบอุปกรณ์ที่มี 3 ขา
ดังนั้น ถ้าหาก จะเสียบช่องบน หรือช่อง ล่าง มันก็ได้ผลลัพท์เหมือนกัน

แต่ถ้าหาก อุปกรณ์ที่จะวัด มี 2 ขา เพื่อนๆ ก็สามารถเลือก เสียบจะเป็นช่องที่ 1 กับ 2 แบบนี้ก็ได้ หรือว่า เสียบช่องที่ 2 กับ 3 แบบนี้ก็ได้ หรือแม้แต่
จะเสียบช่องที่ 1 ข้ามไป 3 แบบนี้ก็ไม่ผิดครับ เสียบได้เหมือนกัน แต่ขออย่างเดียว ห้ามเพื่อนๆเสียบช่องเดียวกัน แค่นั้นเอง

และข้อสุดท้ายก็คือ ช่องที่ 1 ตรงนี้มันก็คือช่องที่1 ช่องเดียวกันทั้งหมดเลยครับ แต่ที่เขาออกแบบไว้ ให้ มันมีหลายช่องๆ ก็เพราะว่า อุปกรณ์บางตัวขาอาจจะยาว จนเกินไปไม่สามารถพับหดให้สั้นได้
ดังนั้น ถ้าผมมีอุปกรณ์ 2 ขา ก็อาจจะเสียบ ช่องที่ 1 ตรงนี้ แล้วมาเสียบช่องที่ 2 ตรงนี้ ก็ไม่ได้แปลกอะไร ครับ
นี่ครับมันก็จะมองว่าเป็น ช่องที่ 1 กับ 2 เหมือนกัน

ผมจะ เริ่ม วัดจากตัว L

ก็สรุปได้ว่ามันสามารถ วัด ตัวเหนี่ยวได้ในช่วง uH , mH , และก็ช่วง H ปกติครับ

อุปกรณ์ ต่อไป ที่ผมจะทำการวัด ก็คือ ตัว คาปาซิเตอร์
ตัว C ก็สามารถ วัดได้ทั้งมีขั้วและไม่มีขั้ว

แต่ก่อนที่จะทำการวัด ก็อย่าลืม ทำการช๊อตขั้ว สะก่อนนะครับ เพื่อเป็นการคลายประจุ ไม่ให้เครื่องพัง

สังเกตุว่ายิ่งตัวใหญ่ ค่า Vloss กับ ESR ไม่ได้เกี่ยวกับขนาด
และตัวสุดท้ายค่า 1F วัดค่าไม่ได้นะครับ ค่ามันไม่ขึ้นครับ

และ อุปกรณ์ตัวต่อไปที่ผมจะทำการวัดก็คือ
ตัวต้านทานครับ
ก็สรุปได้ว่า ในการวัดตัวต้านทานก็ถือว่า มีเร้นจ์ที่วัดค่อนข้างกว้าง

แต่จริงๆแล้ว เครื่องมือตัวนี้ มันสามารถวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอกนิกส์ ได้มากกว่านั้น อย่างเช่นวัด
Diode ผมลองเสียบก็วัดได้จริงๆครับ
ก็จะขึ้น แรงดัตกคร่อมอยู่ที่ 582mV และก็ค่า C แฝง 123pF

ส่วน ไฮไลท์ของเราก็คือ
Transistor transistor ก็สามารถ ค้นหาชนิด ให้อัตโนมัติครับ อย่างตัวนี้เป็นชนิด NPN
ขา 1 เป็นขา E
ขาที่ 2 เป็นขา C
ขาที่ 3 เป็นขา B

มีอัตราการขยาย หรือ ค่า HFE = 292
แรงดัน vf = 571mV

ถือว่าสะดวกสบาย เป็นอย่างมาก ที่นี้ ไม่ต้องไปค้นเบอร์ ไม่ต้องไปเปิด Datasheet ให้เสียเวลา

ผมจะเทส อีกตัวหนึ่ง นะครับ
นี่ครับเป็นชนิด PNP
ขา 1เป็นขา E ขาที่ 2เป็นขา C ขาที่3เป็นขา B
ค่า Hfe อยู่ที่ 338 และก็ Vf อยู่ที่ 566 mV

ทรานซิสเตอร์ตัวใหญ่ๆก็วัดได้นะครับ แต่ตอน เสียบนี้ ก็อาจจะต้องถือไว้แบบมือนิ่ง ๆ หรือว่าอาจจะต้องต่อ สายคีบออกมา

สรุปได้ว่าวัด ทรานซิสเตอร์ได้ ค่อนข้างครบ เลยครับ

ผมจะลองใช้เป็น เจ้าตัวมอสเฟสกันบ้าง ครับเบอร์ IRFz44N
นี่ครับ มัน บอกหมดว่าเป็น ชนิด N chanel ประเภท Emosfet
ขา 1 เป็นขา G ขา 2เป็นขา D ขา 3 เป็นขา S
มี C แฝง = 2.47nF
มีค่า Vt = 3.2V Vt น่าจะเป็นแรงดัน VGS theshold นะครับ ซึ่งถือว่าสะดวกสบายมากๆไม่ต้องไปเดา ให้เสียเวลาว่า

ก็สรุปในภาพรวมได้ว่า เป็นเครื่องมือที่ ซื้อไปแล้วนี้ถือว่าค่อนข้างคุ้มเลยทีเดียว ครับ
ราคาก็ ถือว่า ไม่แพงด้วย 300 กว่าบาท
เหมาะอย่างยิ่งสำหรับ งาน DIY งานเช็ค ตวรจซ่อม คุ้มค่าสุดๆ วัดได้หลากหลายอย่าง

ถ้าเพื่อนๆ สนใจเดียวผมจะใส่ลิงค์ ซื้อสินค้าไว้ใต้คลิปนี้ให้นะครับ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке