ตัวเหนี่ยวนำ EP.4 (ตัวเหนี่ยวนำ ค่าต่างๆ nH , uH , mH นำไปประยุกต์ใช้....)

Описание к видео ตัวเหนี่ยวนำ EP.4 (ตัวเหนี่ยวนำ ค่าต่างๆ nH , uH , mH นำไปประยุกต์ใช้....)

📌ลิงค์สั่งซื้อ อุปกรณ์เครื่องวัด LCR
LAZADA 👉https://s.lazada.co.th/l.0Jxq

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZim DIY
หลังจากที่เพื่อนๆได้รู้จักตัวเหนี่ยวนำไปพอสมควรแล้วจากในคลิปที่ผ่านๆมา
EP นี้ผมจะพาเพื่อนๆไปทำความรู้จัก ตัวเหนี่ยวนำ เพิ่มมากขึ้นไปอีกครับ
ตัวเหนี่ยวนำอย่างที่เพื่อนๆ รู้ถ้าเรา ป้อนกระแสให้กับมัน ตัวมันก็จะสร้างสนามแม่เหล็ก รอบๆตัวมันออกมา
ปกติเส้นทางการไหลของกระแสไฟฟ้า ก็คือมันจะไหลออกมาจากขั้วบวกใช่ไหมครับ
เมื่อมันไหลผ่านเข้าไป ทิศทาง การหมุนวน ของสนามแม่เหล็ก
เขาก็จะใช้กฎมือขวา ในการเทียบเคียง
กฎมือขวาก็คือ ให้เรายกนิ้วโป้งมือขวาขึ้น แล้ว กำนิ้วที่เหลือเอาไว้ ในลักษณะกด Like แบบนี้ นิ้วโป้งก็คือ ทิศทางของกระแสไฟฟ้า
ส่วนนิ้วที่เหลือคือ ทิศทางของสนามแม่เหล็ก

ถ้าหากเรามีลวดทองแทง 1 เส้น แล้ว เราป้อนกระแส เข้าไป แบบนี้
ก็จะเกิดการหมุน วนของสนามแม่เหล็ก แบบนี้เกิดขึ้น หรือ

ก็จะเห็นว่ามัน ทิศทางของสนามแม่เหล็ก มีความ สัมพันธ์กับ ทิศทางของนิ้วมือ
แค่นี้เราก็จะ รู้ทิศทางของสนามแม่เหล็กง่ายๆแล้วแล้วละครับ

แต่ถ้าเกิด เราเพิ่มขดลวด เข้าไป พันเป็นรูปเกลียว
จะทำให้เกิด สนามแม่เหล็กที่ เข้มข้นสูงมากขึ้น
สนามแม่เหล็กแต่ละเกลียว จะถูกไหลมารวมกัน แล้วก็ หมุนวนแบบนี้

ตัวเหนี่ยวนำ มันก็จะมีค่าๆหนึ่ง เราเรียกว่า ค่าการเหนี่ยวนำ
จะอยู่ในรูปแบบของหน่วย Henrys

และ 1 ใน คุณสมบัติ ของมัน ก็คือ ช่วยในการป้องกันการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวมัน ได้
+ กับ ตัวเหนี่ยวนำ มักจะมีความล้าช้าอยู่ เสมอ

เขาก็เลยสามารถที่ จะประยุกต์ ใช้ตัวมัน ในพวกงาน กรองความถี่ได้
อย่างเช่น
ในช่วง ค่าต่ำๆ ที่ ในระดับ nH
เขาก็จะใช้ มันกรอง สัญญาณความถี่สูงๆ หลัก 100Mhz ขึ้นไป
มักจะอยู่ในวงจร วิทยุ ทรานซิสเตอร์ เก่าๆ ที่ใช้ขดลวดมาพันสัก 2-3 รอบ
ก็สามารถสร้าง ตัวเหนี่ยวนำได้แล้วละครับ

นอกจากนี้ในวงจรเล็กๆ ก็อาจจะเจอ C ในรูปแบบของชิป smd ตัวเล็กๆก็เป็นไปได้
ถ้าไม่สังเกตุดูดีๆ ก็อาจจะเกิดความ สับสน ระหว่าง ตัว L และตัว C ได้เหมือนกัน

ต่อไป ที่เราเห็นบ่อยๆก็คือ ตัวเหนี่ยวนำในช่วง uH
ค่าในช่วงนี้ เขามัก มักจะใช้กรองความถี่ในหลัก 50kHz ขึ้นไป
เราจะเห็นมันบ่อยๆ ในพวกแหล่งจ่ายไฟ PowerSuply เพราะว่ามันสามารถที่จะทำให้แรงดันไฟฟ้า เรียบขึ้นได้

//mH
ต่อไป ค่าตัวเหนี่ยวนำในช่วง มิลลิ เฮนรี่
เป็นอีกค่าหนึ่ง ที่ ผู้คนนิยมใช้ เพราะว่ามันสามารถ กรองความถี่ได้ค่อนข้างดี

อย่างในวงจร ครอสโอเวอร์ ของตู้ลำโพง ก็นิยมใช้ตัวเหนี่ยวนำในช่วงนี้
เพราะว่าสามารถใช้แยก ความถี่ต่ำ ออกไปหาดอกซับวูฟเฟอร์ได้

ปกติโดยทั่วไป ยิ่งมีขดลวดมากเท่าไหร่ ค่าความเหนี่ยวนำก็จะยิ่งสูงขึ้นมากเท่านั้น
แต่อย่างที่ผมบอกไป ค่าความเหนี่ยวนำ ล้วนขึ้นอยู่กับ องค์ประกอบต่างๆ เช่น เส้นรัศมี , พื้นที่ , ความยาวของแกน , จำนวนรอบ , ไปจนถึงชนิดของแกนด้วย

เพื่อนๆสามารถ สร้างตัวเหนี่ยวนำ ขึ้นมาใช้เองได้นะครับ
ถ้าค้นใน google ก็จะมีหลายๆเว็บ ทำโปรแกรม คำนวณ ออกมา

หรือถ้าเพื่อนๆ ไม่อยากสร้างขึ้นมาใช้เอง ไม่อยากปวดหัวไม่อยากคำนวณ
ตัวเหนียวนำเหล่านี้ ก็มีขายสำเร็จรูปอยู่แล้วนะครับ ในร้านค้าออนไลน์

ตัวเหนี่ยวนำ ปกติ ก็มีทั้งที่มี แกน และไม่มีแกน แกนก็สามารถทำจากหลายๆวัสดุได้ เช่นทำมาจากแกนเหล็ก หรือ แกนเฟอร์ไรท์
แกนกลาง ประโยชน์ ของมันก็คือ จะช่วยเพิ่ม สนามแม่เหล็ก มากขึ้น
แน่นอนครับว่า เมื่อสนามแม่เหล็กมากขึ้น เราก็จะได้พลังงานที่ เก็บสะสมมากขึ้นตามไปด้วย

นี่คือตัวอย่างที่ ผมสร้าง ตัวเหนี่ยวนำที่เป็น แกนอากาศซึ่งมีค่า การเหนี่ยวนำอยู่ที่ 0.13 mH
แต่ถ้าผม ใส่แกนเพิ่มเข้าไป แกนตรงนี้มันจะช่วยสร้างสนามแม่เหล็กที่มากขึ้น
เมื่อสนามแม่เหล็กมากขึ้นก็ สามารถทำให้ตัวเหนี่ยวสามารถ เก็บพลังงานได้มากขึ้น
ดังนั้นค่าความเหนี่ยวนำจึงเพิ่มขึ้นถ้าวัดอีกครั้ง จะได้ค่าถึง 5... กว่าๆ

เพื่อนๆก็อาจจะสงสัย ว่าเครื่องที่ผมใช้วัดนี้มันคือเครื่องอะไร ในบ้านเรา เขาจะเรียกว่า เครื่องวัด LCR
ซึ่งเครื่องมือตัวนี้ ตัวที่ดี วัดได้ค่าแม่นยำ มีประสิทธิภาพ มักจะเป็นตัวที่มีราคาที่สูง
ซึ่งตัวที่ผมใช้ ก็ถือว่าวัดค่า ได้ดีพอใช้ ในระดับหนึ่ง
ถ้าหากเพื่อนๆ สนใจเดี๋ยวผมจะทิ้งลิงค์ไว้ใต้คลิปนี้ให้

ตัวเหนี่ยวนำ
ถ้าเราต่อในลักษณะ อนุกรม ค่า การเหนี่ยวนำ ก็จะเพิ่มขึ้น

แต่ถ้าต่อ ตัวเหนี่ยวนำ แบบบขนาน ค่าการเหนี่ยวนำจะลดลงครับ
ซึ่ง สูตร สมการเหล่านี้ ถ้าเพื่อนๆสังเกตุ มันก็จะเหมือน กับการคำนวณ ตัวต้านทาน ทุกประการเลยครับ

สำหรับคลิปนี้ ผมขออธิบาย ตัวเหนี่ยวนำไว้เท่านี้ก่อน
แล้วพบกันใหม่ใน EP ถัดๆไปครับ
ขอบคุณเพื่อนๆที่ติดตามรับชมครับ
#ตัวเหนี่ยวนำค่าต่างๆ #การประยุกต์ใช้ตัวเหนี่ยวนำ #Inductor

Комментарии

Информация по комментариям в разработке