รวมเรื่องพระราชประวัติเหตุการณ์สวรรคต รัชกาลที่8 การสืบสวนคดีและดำเนินคดี จนถึงที่สุด!!!

Описание к видео รวมเรื่องพระราชประวัติเหตุการณ์สวรรคต รัชกาลที่8 การสืบสวนคดีและดำเนินคดี จนถึงที่สุด!!!

00:00 | รวมเรื่องพระราชประวัติเหตุการณ์สวรรคต #รัชกาลที่8
05:22 | รัชกาลที่ 8 เสด็จนิวัติพระนคร
08:34 | ช่วงสงครามโลกครั้งที่2 ญี่ปุ่นเข้ามากรุงเทพ
10:50 | เสด็จนิวัติพระนครครั้งที่ 2
16:09 | เหตุการณ์สวรรคตและรายละเอียด
19:00 | ช่วงเหตุการณ์สวรรคต
26:15 | ประชุมแถลงการณ์เรื่องสวรรคต
30:08 |เจ้าหน้าที่เข้าชันสูตรการสวรรคต
39:45 | ทำการสอบสวนชุดใหม่
47:44 | ศาลสั่งประหารผู้กระทำความผิด
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตเพราะต้องพระแสงปืนเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 เวลาประมาณ 9.20 น. บนชั้นสอง พระที่นั่งบรมพิมาน พระบรมมหาราชวัง สภาพพระศพมีบาดแผลกลางพระนลาฎ (หน้าผาก) บริเวณระหว่างพระขนง (คิ้ว) ข้างพระบรมศพมีปืนพกโคลต์ตกอยู่ชิดข้อศอก ด้ามปืนหันออกจากตัว ในช่วงแรกมีการรบกวนพระบรมศพทำให้การพิสูจน์เกิดปัญหา ความเห็นของแพทย์ผู้ชันสูตรเกือบสามในสี่ลงมติเป็นการลอบปลงพระชนม์ปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวน และรัฐสภาลงมติถวายราชสมบัติให้แก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช ข่าวลือแพร่สะพัดไปว่าระเจ้าอยู่หัวถูกลอบปลงพระชนม์ และศัตรูการเมืองของปรีดีซึ่งประกอบด้วยทหารสายจอมพล ป. พิบูลสงครามและพรรคประชาธิปัตย์ปล่อยข่าวลือว่าปรีดีเป็นผู้บงการ เมื่อไขคดีไม่ได้และรัฐบาลสั่งปิดหนังสือพิมพ์ที่โจมตีรัฐบาลนานเข้า ปรีดีจึงลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อแทน แต่สุดท้ายเกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 โดยอ้างสาเหตุหนึ่งว่ารัฐบาลไม่สามารถแก้ไขคดีสวรรคตได้ ทำให้ปรีดีและพันธมิตรหมดอำนาจทางการเมือง ทั้งนี้ ส. ศิวรักษ์เขียนว่า ปรีดี พนมยงค์มีบทบาทช่วยปกป้องเชื้อพระวงศ์ที่กระทำผิดในเหตุการณ์ และไม่ได้บอกให้อธิบดีตำรวจและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยชันสูตรพระบรมศพแต่แรก และจับกุมผู้ทำลายหลักฐานเพื่อปิดบังพิรุธคณะกรรมการสืบสวนคดีสวรรคตที่มีพระพินิจชนคดี (พินิจ อินทรทูต) เป็นประธาน อันตั้งขึ้นหลังรัฐประหารนั้นพยายามสรุปคดีในดูเหมือนปรีดีเป็นผู้บงการ แม้มีหลักฐานเท็จ แต่การสอบสวนดำเนินต่อ จนศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิตมหาดเล็ก 3 คนในเดือนตุลาคม 2497เนื่องจาก "มีเหตุบังเกิดการประทุษร้ายแก่พระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึงแก่การ #สวรรคต " ในปี 2498 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามพยายามฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยกฎีกา
เหตุการณ์ช่วงสวรรคต9 มิถุนายน 2489 (วันเกิดเหตุ)ประมวลจากหนังสือ กรณีสวรรคต 9 มิถุนายน 2489 และ คดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ ร.8เวลาประมาณ 5 นาฬิกาเศษ สมเด็จพระราชชนนีทรงตื่นบรรทมแล้วเสด็จเข้าไปปลุกในหลวงอานันท์ที่ห้องนอน (เสด็จผ่านห้องแต่งพระองค์) เพื่อถวายน้ำมันละหุ่ง (มหาดเล็ก 2 คนช่วยยกถาดตามเสด็จ) หลังจากนั้นในหลวงอานันท์ทรงบรรทมต่อ พระราชชนนีกลับไปบรรทมต่อเช่นกันที่ห้องของพระองค์เอง (มหาดเล็กกลับลงชั้นล่าง)เวลาประมาณ 6.20 น. บุศย์ ปัทมศริน มหาดเล็กห้องพระบรรทมของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเข้าเวรถวายงานที่พระที่นั่งบรมพิมาน ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเวลาประมาณ 7.00 น.–8.00 น. มหาดเล็กรับใช้ขึ้นไปบนพระที่เตรียมจัดตั้งโต๊ะเสวยเวลาประมาณ 7 นาฬิกาเศษ บุศย์ ปัทมศริน เริ่มเวรมหาดเล็กประจำห้องบรรทมในหลวงอานันท์ ยกแก้วน้ำส้มคั้นมาเตรียมถวาย โดยนั่งรออยู่ที่หน้าห้องแต่งพระองค์เวลาประมาณ 8 นาฬิกาเศษ ในหลวงอานันท์ตื่นบรรทม เข้าห้องสรง ออกจากห้องสรงผ่านห้องแต่งพระองค์กลับไปยังห้องนอน บุศย์ยกน้ำส้มคั้นตามเข้าไปในห้องนอนเพื่อถวาย ในหลวงทรงโบกพระหัตถ์ไม่ต้องการ แล้วเสด็จขึ้นแท่นบรรทม บุศย์จึงวางน้ำส้มไว้ที่ธรณีประตู แล้วกลับมานั่งที่เดิมเวลา 8.55 ชิต สิงหเสนี ขึ้นไปบนพระที่นั่ง เพื่อวัดขนาดดวงพระตราเพื่อเอาไปให้ช่างทำหีบดวงพระตรา ชิตกับบุศย์นั่งคอยอยู่หน้าห้องแต่งพระองค์เวลา 9.00 น. พระพี่เลี้ยงเนื่อง จินตดุล ขึ้นไปบนพระที่นั่ง เข้าเฝ้าสมเด็จพระราชชนนี แล้วไปจัดห้องและเก็บฟิล์มหนังในห้องสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดชเวลาประมาณ 9 นาฬิกาเศษ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดชทรงเสวยพระกระยาหารเช้าพระองค์เดียว ณ มุขพระที่นั่งด้านหน้ามีมหาดเล็กรับใช้ 2 -3 คนเสด็จออกจากโต๊ะเสวยไปทางห้องพระบรรทมของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พบชิต สิงหเสนี, บุศย์ ปัทมศริน ที่หน้าห้องแต่งพระองค์ทรงถวายพระอาการของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วเสด็จกลับห้องของพระองค์เวลาประมาณ 9.20 น. เสียงปืนดังขึ้นหนึ่งนัด ภายในห้องพระบรรทมของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชิตสะดุ้งอยู่มองหน้าบุศย์และคิดหาที่มาของเสียงปืนอยู่ประมาณ 2 นาที จึงเข้าไปในห้องพระบรรทม พบว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรรทมหลับอยู่เป็นปกติ แต่ปรากฏว่ามีพระโลหิตไหลเปื้อนพระศอและพระอังสะ (ไหล่) ด้านซ้าย ชิตจึงวิ่งไปที่ห้องบรรทมของสมเด็จพระราชชนนีแล้วกราบทูลว่า “ในหลวงยิงพระองค์”[4] สมเด็จพระราชชนนีตกพระทัย ทรงร้องขึ้นได้เพียงคำเดียวและรีบวิ่งไปที่ห้องพระบรรทมของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทันที นายชิต, คุณพระพี่เลี้ยงเนื่อง, สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ, และนางสาวจรูญ ได้วิ่งตามเสด็จสมเด็จพระราชชนนีไปติด ๆขณะนั้นมีคนอยู่บริเวณพระที่นั่งชั้นบน 8 ด้วยกันคือสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (บรรทมอยู่ในห้องของพระองค์)ชิต สิงหเสนี (นั่งอยู่หน้าประตูห้องแต่งพระองค์)บุศย์ ปัทมศริน (นั่งอยู่หน้าประตูห้องแต่งพระองค์)ฉลาด เทียมงามสัจ (อยู่ห้องเสวยมุขพระที่นั่ง)จรูญ ตะละภัฎ (อยู่ในห้องสมเด็จพระบรมราชชนนี)คุณพระพี่เลี้ยงเนื่อง จินตดุลย์ (อยู่ในห้องสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช)สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช (อยู่ในห้องเครื่องเล่น)

#เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке