ฎีกา InTrend EP.30 สิทธิการเช่าเป็นมรดกตกทอดที่เจ้าหนี้จะยึดมาบังคับชำระหนี้ได้หรือไม่

Описание к видео ฎีกา InTrend EP.30 สิทธิการเช่าเป็นมรดกตกทอดที่เจ้าหนี้จะยึดมาบังคับชำระหนี้ได้หรือไม่

ฎีกา InTrend ep.30 สิทธิการเช่าเป็นมรดกตกทอดที่เจ้าหนี้จะยึดมาบังคับชำระหนี้ได้หรือไม่

The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม

Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี

ที่ปรึกษา : สรวิศ ลิมปรังษี, สุริยัณห์ หงษ์วิไล, จีรวรรณ เจริญยศ

Show Creator : นันทวัลย์ นุชนนทรี, ศณิฏา จารุภุมมิก
Episode Producer & Editor : ศณิฏา จารุภุมมิก, ปนัสยา ชื่นอุระ
Sound Designer & Engineer : กฤตภาส ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ
Coordinator & Admin : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, โสรัตน์ ไวศยดำรง
Art Director : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, ปันจารีณ์ สุวรรณโภชน์ ทศพร ศิลาบำเพ็ญ
Webmaster : ผุสชา เรืองกูล, วชิระ โรจน์สุธีวัฒน์

เวลาที่เราไปเช่าทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งมาใช้ประโยชน์ สิทธิการเช่าถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่า มีราคาค่างวดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากทรัพย์สินที่เช่านั้นเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการทำมาค้าขายที่สร้างผลกำไรให้แก่คนเช่าได้อย่างมากมาย ความมีค่ามีราคาของสิทธิการเช่านี้ก็เป็นที่หมายตาของบรรดาเจ้าหนี้ต่าง ๆ เช่นกันที่ต้องการจะแปลงความมีค่าของสิทธิการเช่านี้มาเป็นเงินเพื่อใช้ชำระหนี้ของตน ปัญหาที่นำมากล่าวในตอนนี้จึงเป็นเรื่องที่ว่าเจ้าหนี้จะสามารถยึดสิทธิการเช่ามาบังคับชำระหนี้กองมรดกที่ค้างอยู่หรือไม่
เรื่องราวในตอนนี้เกิดจากการที่มาลีไปทำสัญญาเช่าแผงค้าขายที่ตลาดนัดสวนจตุจักรกับสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานครเพื่อทำกิจการร้านค้าพระเครื่อง ร้านค้าของมาลีเป็นร้านหนึ่งที่มีลูกค้าแวะเวียนมาอยู่เสมอ และได้มีการต่อสัญญาเช่าที่มีอายุคราวละหนึ่งปีมาตลอด
เมื่อสัญญาครบกำหนดในคราวล่าสุด มาลีก็ไปติดต่อทำสัญญาเช่าฉบับใหม่ตามกำหนดจนเสร็จเรียบร้อย แต่ภายหลังทำสัญญาได้เพียงสองเดือน มาลีก็เสียชีวิตเนื่องจากโรคหัวใจล้มเหลว
ภายหลังที่มาลีเสียชีวิต มารดาของมาลีก็ได้ไปติดต่อเรื่องการโอนสัญญาเช่าแผงค้าของมาลีกับสำนักงานการตลาดกรุงเทพมหานครให้มาเป็นชื่อตน โดยได้เสียค่าธรรมเนียมการโอนตามที่กำหนด และทำสัญญาเช่ากับสำนักงานการตลาดกรุงเทพมหานครจนเสร็จเรียบร้อย
ต่อมาธนาคารที่มาลีไปกู้ยืมเงินไว้ก็ฟ้องร้องให้มารดาของมาลีที่เป็นทายาทในกองมรดกของมาลีชดใช้หนี้เงินกู้ยืมที่ค้างอยู่ 300,000 บาท ศาลพิพากษาให้มารดาของมาลีต้องรับผิดในฐานะทายาทชำระหนี้จำนวนดังกล่าวให้แก่ธนาคาร
เมื่อธนาคารทราบเรื่องสัญญาเช่าแผงค้าของมาลีจึงได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดสิทธิการเช่าแผงค้าดังกล่าวมาขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยอมยึดให้ ธนาคารจึงได้ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่ยึดสิทธิการเช่าดังกล่าว
ประเด็นแรกของเรื่องนี้คงเป็นความเกี่ยวโยงของมารดาของมาลีในเรื่องนี้ เพราะหนี้ที่ธนาคารฟ้องและเป็นที่มาของความพยายามที่จะยึดสิทธิการเช่ารายนี้ความจริงเป็นหนี้ที่ “มาลี” ก่อไว้ เพียงแต่ธนาคารมาฟ้องมารดาของมาลีเพราะมาลีเสียชีวิตไปแล้วจึงต้องมาฟ้องผู้ที่เป็นทายาทแทน แต่ด้วยความที่ความรับผิดของมารดามาลีนี้เป็นความรับผิดในฐานะทายาท ไม่ใช่ความรับผิดในฐานะที่เป็นหนี้ส่วนตัว มารดาของมาลีจึงต้องรับผิดต่อธนาคารเพียงไม่เกินทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนเท่านั้น
ข้อหนึ่งที่ทำให้ธนาคารคิดว่าตนมีสิทธิที่จะยึดสิทธิการเช่ารายนี้อาจเป็นเพราะขณะที่มารดาของมาลีไปทำเรื่องกับกรุงเทพมหานคร สัญญาเช่ายังไม่ครบกำหนด ซึ่งตามปกติแล้ว หากสัญญามีกำหนดเวลาไว้ สัญญาเช่าจะระงับไปเมื่อครบกำหนดตามสัญญา อีกทั้งในการดำเนินการเรื่องนี้ กรุงเทพมหานครทำในทำนองเป็นการ “โอน” สิทธิการเช่ามาให้เป็นชื่อมารดาของมาลี จึงทำให้ดูเหมือนว่าเป็นสิทธิการเช่าเดียวกันกับที่เคยเป็นทรัพย์สินส่วนหนึ่งของมาลีที่อาจจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกองมรดกได้ด้วย
แต่สัญญาเช่ามีลักษณะที่พิเศษที่ “คุณสมบัติ” ของคนเช่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะการที่ผู้ให้เช่าให้บุคคลใดเช่าทรัพย์ของตนไปก็เพราะเชื่อว่าจะดูแลทรัพย์ที่เช่าได้ดี ไม่ทำให้ทรัพย์นั้นสูญหายหรือเสียหายไป เพราะถ้าได้คนเช่าไม่ดี ค่าเช่าที่ได้อาจไม่คุ้มกับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแม้อาจจะมีการเรียกเก็บเงินประกันไว้ด้วยก็ตาม
ด้วยเหตุที่คุณสมบัติของผู้เช่ามีความสำคัญนี้นี่เองจึงทำให้สิทธิการเช่าถือเป็น “สิทธิเฉพาะตัว” เมื่อมาลีเสียชีวิตไป สัญญาเช่ารายนี้ที่ไม่ได้มีลักษณะพิเศษอื่นที่ทำให้แตกต่างไปจากสัญญาเช่าธรรมดาทั่ว ๆ ไปจึงระงับไปพร้อมกับการตายของผู้เช่า ไม่ได้เป็นทรัพย์สินที่จะตกทอดต่อไปในกองมรดกให้แก่ทายาทด้วย
การที่มารดาของมาลีไปทำเรื่องแม้จะใช้ชื่อว่าเป็นการ “โอน” แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ต่างอะไรจากการที่เมื่อสัญญาเช่าเดิมระหว่างมาลีกับกรุงเทพมหานครระงับไปเพราะการตายของมาลีแล้ว มารดาของมาลีไปทำสัญญาเช่ากับกรุงเทพมหานครจึงเป็นการทำสัญญาเช่าฉบับใหม่ที่เป็นเรื่องระหว่างกรุงเทพมหานครกับมารดาของมาลี สิทธิการเช่ารายนี้จึงเป็นทรัพย์สินของมารดาของมาลีเอง ดังนั้น ธนาคารที่เป็นเพียงเจ้าหนี้ของกองมรดกของมาลี ไม่ใช่เจ้าหนี้ในหนี้ส่วนตัวของมารดาของมาลีจึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ยึดสิทธิการเช่ารายนี้ได้
สัญญาเช่าส่วนใหญ่ถ้าไม่มีอะไรที่ทำให้พิเศษไปกว่าปกติแล้วเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า สัญญาเช่าย่อมระงับไปพร้อมกับการตายของผู้เช่า ทำให้สิทธิการเช่าไม่เป็นทรัพย์มรดกตกทอดไปที่เจ้าหนี้ของกองมรดกจะไปยึดมาบังคับชำระหนี้ได้

(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6857/2562)

Комментарии

Информация по комментариям в разработке