เรื่องลึกลับที่ยากอธิบาย : คดีคนหายในโรงแรมร้อยปี และบทสรุปทางการแพทย์

Описание к видео เรื่องลึกลับที่ยากอธิบาย : คดีคนหายในโรงแรมร้อยปี และบทสรุปทางการแพทย์

เรื่องลึกลับที่ยากอธิบาย : คดีคนหายในโรงแรมร้อยปี และบทสรุปทางการแพทย์
ไบโพลาร์
ไบโพลาร์ (Bipolar disorder) เป็นโรคที่แสดงออกซึ่งความผิดปกติทางอารมณ์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงสองด้าน ทั้งทางด้านขั้วอารมณ์ดีหรือด้านอารมณ์ก้าวร้าวรุนแรง และด้านขั้วอารมณ์ซึมเศร้า โดยอารมณ์จะขึ้นสุด-ลงสุด และคงอยู่เป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมง หลายวัน หลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ส่งผลกระทบทั้งต่ออารมณ์ จิตใจ ร่างกาย ระดับพลังงาน รูปแบบความคิด และพฤติกรรม ตลอดจนการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมอย่างรอบด้าน จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าประชากรโลกประมาณ 5% ป่วยด้วยโรคไบโพลาร์ โดยเริ่มมีอาการ ที่อายุเฉลี่ย 25 ปี และมักเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โรคไบโพลาร์ เป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่ปัญหาการทำร้ายตัวเอง และการฆ่าตัวตาย การบำบัดรักษาอาการไบโพลาร์อย่างเป็นระบบโดยแพทย์ผู้ชำนาญการ ร่วมกับการให้ยา และการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจะช่วยให้สามารถเอาชนะโรคไบโพลาร์ได้


ไบโพลาร์ คืออะไร?
ไบโพลาร์ (Bipolar disorder) หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว คือ ความผิดปกติทางจิตเวชที่ทำให้เกิดความแปรปรวนทางอารมณ์ โดยการแสดงออกซึ่งอารมณ์ขั้วตรงข้ามสองแบบ สลับกันไปมาอย่างไม่สามารถควบคุมได้ระหว่างขั้วอารมณ์ดีสุดโต่งหรือก้าวร้าวผิดปกติ (Mania, or Hypomania) ที่แบ่งเป็นระดับสูงและระดับต่ำ และขั้วอารมณ์ซึมเศร้าผิดปกติ (Depressed) โรคไบโพลาร์ส่งผลกระทบต่อจิตใจและร่างกาย และเนื่องจากผู้ป่วยจะคงค้างอยู่ในอารมณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งขั้วอารมณ์บวกหรือลบอย่างต่อเนื่อง ยาวนานร่วมสัปดาห์โดยไม่สามารถดึงอารมณ์ให้กลับมาสู่สภาวะปกติได้ จึงส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในประจำวัน หน้าที่การงาน ครอบครัว และความสัมพันธ์กับเชิงสังคมกับบุคคลรอบข้าง การบำบัดรักษาโรคไบโพลาร์ร่วมกันแบบบูรณาการร่วมกับกำลังใจจากบุคคลรอบข้าง จะช่วยให้อาการของโรคไบโพลาร์ดีขึ้น และกลับมามีสภาพอารมณ์เป็นปกติได้อีกครั้ง

สาเหตุของไบโพลาร์ เกิดจากอะไร?
สาเหตุของการเกิดไบโพลาร์ สามารถแบ่งออกได้จากหลากหลายสาเหตุ และปัจจัย ซึ่งในปัจจุบัน แพทย์ยังไม่อาจระบุสาเหตุที่แน่ชัดถึงสาเหตุการเกิดไบโพลาร์ได้ว่าเกิดจากสาเหตุใด

ความผิดปกติในการหลั่งสารสื่อประสาทของสมองส่วนหน้า (Neurotransmitters) เช่น สารเซโรโทนิน (Serotonin) สารโดพามีน (Dopamine) สารเมลาโทนิน (Melatonin) หรือ สารนอร์อดรีนาลิน (Noradrenaline) ที่ไม่สมดุล ส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของเซลล์สมองในส่วนที่ควบคุมระดับอารมณ์ เช่น ความโกรธ ความเครียด ความสุข ความเคลิบเคลิ้ม หรือสมาธิในการทำสิ่งต่าง ๆ
พันธุกรรม โดยเป็นผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเดียวกันเป็นโรคไบโพลาร์ หรือเป็นโรคทางจิตเวชอื่น ๆ มาก่อน เช่น โรคซึมเศร้า หรือโรคสมาธิสั้นที่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้มีโอกาสเป็นโรคไบโพลาร์ได้เช่นกัน
การได้รับการทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง เช่น การเผชิญกับการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก การเลิกรากับคนรัก ความผิดหวังเสียใจอย่างรุนแรง ความบอบช้ำทางจิตใจ การถูกกระทำในวัยเด็ก การถูกทำร้าย และความเจ็บป่วยแบบเรื้อรังทั้งทางร่างกายและจิตใจ
โรคบางชนิด เช่น ความผิดปกติของไทรอยด์ฮอร์โมน
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด อาจทำให้มีอาการของไบโพลาร์ได้
ความเครียดสะสม
การอดนอน
อาการของไบโพลาร์ เป็นอย่างไร?
อาการของโรคไบโพลาร์ แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มอาการเด่น คือ กลุ่มขั้วบวก ได้แก่ อารมณ์ดีหรืออารมณ์ก้าวร้าวรุนแรง (Mania, or Hypomania) ทั้งระดับสูงและระดับต่ำ และกลุ่มขั้วลบได้แก่ อาการซึมเศร้า (Depressed) โดยผู้ป่วยโรคไบโพลาร์จะแสดงออกซึ่งอารมณ์แปรปรวน ขึ้น-ลง สลับกันของทั้งสองขั้วอาการโดยไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ไม่เจาะจงเวลาหรือสถานการณ์ และไม่มีรูปแบบที่แน่นอนตายตัว อาการไบโพลาร์อาจอยู่ไม่นานแล้วจางหายไป หรืออาจกินระยะเวลายาวนานร่วมสัปดาห์ เดือน หรือปี

กลุ่มอาการขั้วบวกอารมณ์ดี หรืออารมณ์ก้าวร้าวรุนแรง (Mania, or Hypomania) โดยทั้ง 2 กลุ่มอาการนี้มีอาการแสดงที่คล้ายคลึงกัน โดยภาวะแมเนีย (mania) จะมีความโดดเด่นมากกว่าในด้านความชัดเจนและความรุนแรงของอารมณ์ โดยสามารถสังเกตเห็นพฤติกรรมได้อย่างชัดเจนทั้งที่โรงเรียน ที่ทำงาน หรือขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีอาการแสดงดังนี้
แสดงออกอย่างเต็มที่ มีพลังงานสูงล้น อารมณ์ดีร่าเริงผิดปกติ คึกคัก อยู่ไม่นิ่ง สมาธิสั้น
พูดเร็ว พูดมาก พูดไม่หยุด พูดคุยเสียงดัง เปลี่ยนเรื่องพูดเร็ว มีความคิดพรั่งพรูออกมาเป็นคำพูดมากมาย
มีความมั่นใจสูง สำคัญตนเองมาก รู้สึกเหนือกว่าคนอื่น ไม่คำนึงถึงคนรอบข้าง
ชอบทำอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวกัน และทำงานในปริมาณที่มากเกินพอดี ขยันผิดปกติ
ตอบสนองต่อสิ่งเร้ารวดเร็ว ไม่มีเหตุผล ขาดความยั้งคิด
ประมาทเลินเล่อ หุนหันพลันแล่น การตัดสินผิดพลาด ชอบทำพฤติกรรมเสี่ยงอันตราย
ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่าย ขาดความยั้งคิด
นอนน้อยกว่าปกติมาก ไม่ยอมหลับไม่ยอมนอน ตื่นตัวตลอดเวลา
เห็นภาพหลอน หรือภาพลวงตา
มีอารมณ์ทางเพศสูง มีความต้องการทางเพศสูง มีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม
อารมณ์ก้าวร้าวรุนแรง กระวีกระวาด หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย โมโหง่าย
กลุ่มอาการขั้วลบหรือซึมเศร้า (Depressed)
อยู่ในอารมณ์ซึมเศร้า หม่นหมอง อมทุกข์ ท้อแท้ หดหู่ สิ้นหวัง ว่างเปล่า
ร้องไห้อย่างควบคุมไม่ได้
สมาธิสั้น ไม่สามารถทำงานให้เสร็จได้ ขาดแรงจูงใจ
อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง ไม่มีชีวิตชีวา เหม่อลอย หมดความสนใจในทุกสิ่ง
วิตกกังวลอย่างรุนแรง หวาดระแวง มีปัญหาความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
น้ำหนักลดลงอย่างมากทั้งที่ไม่ได้อดอาหาร
กินไม่ได้ นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป
เครียด กระสับกระส่าย กระวนกระวายใจ
เหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า มีพฤติกรรมเชื่องช้า สูญเสียพลังงาน ไม่อยากทำอะไร
รู้สึกไร้ค่า ความนับถือตนเองต่ำ รู้สึกผิดกับการกระทำบางอย่างอย่างมาก
สมาธิสั้น คิดช้า ตัดสินใจไม่ได้
อาจมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นไบโพลาร์ โรคซึมเศร้า หรือโรคทางจิตเวชอื่น ๆ
อาจมีประวัติติดสารเสพติด
มีความคิด การวางแผน หรือพยายามฆ่าตัวตาย

Комментарии

Информация по комментариям в разработке