สนทนาธรรม-ถามตอบอริยสัจจ์ ๔ (ครั้งที่ ๒๑ - วันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๘

Описание к видео สนทนาธรรม-ถามตอบอริยสัจจ์ ๔ (ครั้งที่ ๒๑ - วันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๘

ถาม : สัจฉิกาตัพพธรรม คืออะไร ? ต่างจากนิโรธอริยสัจอย่างไร ?
ตอบ : สัจฉิกาตัพพธรรม คือธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งประจักษ์ ว่าโดยสภาวธรรมได้แก่ขันธ์ในอดีต โลกิยสมาบัติ ผลจิต นิโรธสมาบัติและพระนิพพาน ดังความที่กล่าวไว้ในบาฬีและอรรถกถาทั้งหลาย ดังมีอุทาหรณ์เป็นต้นว่า
จตฺตาโร สจฺฉิกรณียา ธมฺมา: ปุพฺเพนิวาโส สติยา สจฺฉิกรณีโย, สตฺตานํ จุตูปปาโต จกฺขุนา สจฺฉิกรณีโย, อฏฺฐวิโมกฺขา กาเยน สจฺฉิกรณียา, อาสวานํ ขโย ปญฺญาย สจฺฉิกรณีโย.๑-(๑- ที.ปา. ๑๑/๓๑๒/๒๐๕.)
สัจฉิกรณียธรรม (ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง) ๔ อย่าง คือ
๑. ปุพเพนิวาส ควรทำให้แจ้งด้วยสติ (อนุสสติ)
๒. การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ควรทำให้แจ้งด้วยจักษุ (ทิพพจักขุ)
๓. วิโมกข์ ๘ ควรทำให้แจ้งด้วยกาย
๔. ความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญา
สจฺฉิกรณียาติ ปจฺจกฺขกรเณน เจว ปฏิลาเภน จ สจฺฉิกาตพฺพา. จกฺขุนาติ ทิพฺพจกฺขุนา. กาเยนาติ สหชาตนามกาเยน. ปญฺญายาติ
อรหตฺตผลญาเณน.๒-(๒- ที.อฏฺ. ๓/๓๑๒/๒๑๐.)
ข้อว่า สจฺฉิกรณียานิ ความว่า พึงทำให้แจ้ง โดยทำให้ประจักษ์และโดยการได้เฉพาะ,
บทว่า จกฺขุนา ได้แก่ ทิพยจักษุ,
ข้อว่า กาเยน ได้แก่ สหชาตนามกาย,
ข้อว่า ปญฺญาย ได้แก่ ญาณในอรหัตผล
ปุพฺเพนิวาโส สตฺตานํ จุตูปปาโต จ ปจฺจกฺขกรเณน สจฺฉิกาตพฺพา, อิตเร ปฏิลาเภน, อสมฺโมหปฏิเวธวเสน ปจฺจกฺขกรเณน จ สจฺฉิกาตพฺพา.๑-(๑- ที.ฏี. ๓/๓๑๒/๓๐๓.)
ขันธ์ในอดีต, การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ควรทำให้แจ้งโดยทำให้ประจักษ์, วิโมกข์ ๘ และความสิ้นอาสวะทั้งหลาย นอกนี้ ควรทำให้แจ้งโดยการได้เฉพาะ และควรทำให้แจ้งโดยทำให้ประจักษ์ ด้วยอำนาจการแทงตลอดอสัมโมหะ.
นิพฺพานสจฺฉิกิริยา - การทำนิพพานให้แจ้ง ๒-(๒- ขุ.ขุ. ๒๕/๑๑/๔.)
นิกฺขนฺตํ วานโตติ นิพฺพานํ, สจฺฉิกรณํ สจฺฉิกิริยา, นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยา นิพฺพานสจฺฉิกิริยา.๓-(๓- ขุทฺทก.อฏฺ. ๑/๑๑/๑๓๒.)
ชื่อว่า นิพพาน เพราะออกจากตัณหา ที่ชื่อว่าวานะ (เครื่องร้อยรัด), การทำให้แจ้งชื่อว่า สัจฉิกิริยา, การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ชื่อว่า นิพพานสัจฉิกิริยา
นิพฺพานสจฺฉิกิริยา นาม อิธ อรหตฺตผลํ นิพฺพานนฺติ อธิปฺเปตํ. ตมฺปิ หิ ปญฺจคติวาเนน วานสญฺญิตาย ตณฺหาย นิกฺขนฺตตฺตา นิพฺพานนฺติ วุจฺจติ.๔-(๔- ขุทฺทก.อฏฺ. ๑/๑๑/๑๓๓.)
ชื่อว่า นิพพานสัจฉิกิริยา กระทำให้แจ้งในนิพพาน ในมงคลข้อนี้พระองค์ประสงค์เอาอรหัตตผลว่า นิพพาน จริงอยู่อรหัตผลแม้นั้น ท่านกล่าวว่านิพพาน เพราะออกจากตัณหา ที่เข้าใจกันว่า วานะ เพราะร้อยไว้ในคติ ๕
นิโรธสจฺจํ อภิญฺเญยฺยํ ปริญฺเญยฺยํ, น ปหาตพฺพํ น ภาเวตพฺพํ, สจฺฉิกาตพฺพํ.๑-(๑- อภิ.วิ. ๓๕/๑๐๓๑/๕๒๐.)
นิโรธสัจ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้, แต่ไม่พึงละไม่พึงเจริญ, แต่พึงทำให้แจ้ง
ตโย อพฺยากตเหตู อภิญฺเญยฺยา ปริญฺเญยฺยา, น ปหาตพฺพา, น ภาเวตพฺพา, สิยา สจฺฉิกาตพฺพา, สิยา น สจฺฉิกาตพฺพา.๒-(๒. อภิ.อฏฺ. ๒/๑๐๓๑/๕๒๑.)
อัพยากตเหตุ ๓ พึงรู้ยิ่ง พึงกำหนดรู้, แต่ไม่พึงละไม่พึงเจริญ, ที่พึงทำให้แจ้งก็มี ที่ไม่พึงทำให้แจ้งก็มี
(อัพยากตเหตุ ๓ ที่เกิดพร้อมกับผลจิต เป็นธรรมที่ควรกระทำให้แจ้ง)
ตามอุทาหรณ์แสดงให้ทราบว่าสัจฉิกาตัพพธรรม ได้แก่ ขันธ์ ในอดีต โลกิยสมาบัติผลจิต นิโรธสมาบัติและนิพพาน ซึ่งต่างจากนิโรธอริยสัจตรงที่ นิโรธอริยสัจ มุ่งถึงพระนิพพานอย่างเดียวเท่านั้น (ดูอภิ.วิ. ๓๕/๑๐๓๐-๑๐๓๑/๕๑๙-๕๒๑)

Комментарии

Информация по комментариям в разработке