พระพุทธชินราชใบเสมา เนื้อชินเงิน

Описание к видео พระพุทธชินราชใบเสมา เนื้อชินเงิน

#ชินราชใบเสมา #พระยอดขุนพล #พระพุทธชินราช

วิธีแยกประเภทพระเนื้อชินเบื้องต้น

พระพุทธชินราช เนื้อชิน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก เป็นหนึ่งในพระหลักของพระเครื่อง และยังอยู่ในทำเนียบเบญจภาคีพระยอดขุนพลเนื้อชิน เป็นพระที่มีหลายๆ คนชื่นชอบและศรัทธา เพราะว่านอกจากเป็นที่นิยมแล้ว ยังเป็นรูปเคารพของพระพุทธชินราช ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองเรามานาน
เท่าที่พบมาพระพุทธชินราช ถ้าเป็นเนื้อชิน ก็มีหลายกรุ หลายพิมพ์ มีทั้งเก่ายุคสุโขทัย เก่ายุคอยุธยา

การจะหาพระหลัก ประสบการณ์เพียบไว้ใช้ เราก็จะต้องดูความเป็นพระเนื้อชิน บนพื้นฐานโลหะที่ต้องมีอายุและความเก่า ประมาณ ๗๐๐ ถึง ๘๐๐ ปี

วิธีดูพระกรุเนื้อชิน บางคนจะใช้วิธีจำร่องรอยต่างๆ จำไข รอยผุ รอยตอกตัด รอยระเบิด สนิมรูปแบบต่างๆ ว่าเป็นแบบไหน แต่ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติของโลหะประเภทต่างๆ ในพระเนื้อชิน เช่น เงิน ตะกั่วนม โลหะในสูตรเนื้อชิน รวมถึงแร่แฝงต่างๆ ตามธรรมชาติ รอยตัดโลหะเก่า ออกไซด์และการเสื่อมสภาพของโลหะประเภทต่างๆ ถ้าเข้าใจหลักธรรมชาติตามอายุเหล่านี้ เราก็ไม่จำเป็นต้องจำอะไรมาก ยกตัวอย่างนะครับ บางคนจำมาว่าพระกรุเนื้อชินต้องดูเนื้อระเบิด ที่สำคัญคือต้องเข้าใจก่อนว่าทำไมเนื้อถึงระเบิดด้วยนะครับ

ก่อนจะจ่ายเงินหาพระหลักไว้ใช้… เราต้องดูอะไรกันบ้าง เหมือนเดิมครับ
เริ่มจากดูพุทธศิลป์ เพื่อประเมินอายุพระ
พระพุทธชินราชองค์นี้ เป็นพระเนื้อชินเงิน พุทธศิลป์แบบสุโขทัย ผสมผสานกับอิทธิพลของศิลปะเขมร เป็นรูปพระพุทธประทับนั่งปางมารวิชัย บนอาสนะฐานบัวคว่ำบัวหงาย ภายในซุ้มเรือนแก้ว พระพิมพ์นี้ยังมีแบบตัดฐานสูงด้วยนะครับ

พุทธลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ศิลปะสุโขทัย เช่น ยอดเกศมีรัศมีเหมือนเปลวเพลิง ใบหน้านูนใหญ่ คิ้วโก่ง
ตาโปน ช่วงคอใหญ่ อกหนา เอวแคบ
ช่างที่สร้างแม่พิมพ์พระค่อนข้าง ใส่รายละเอียดไว้มากนะครับ มีรายละเอียดหน้าตา มีเครื่องประดับ ลายกนกและซุ้มตามจุดต่างๆ ที่ยังเหลือให้เราเห็นและศึกษาได้ แต่ก็สึกและกร่อนไปตามอายุ

ส่วนด้านหลังของพระองค์นี้เป็นแบบหลังเรียบ มีร่องลอยของการเทโลหะหลอมลงเบ้าเป็นลอนคลื่นเล็กๆ หรือคล้ายแอ่งกระทะ
โดยทั่วไปพระพุทธชินราชเนื้อชินที่พบ จะมีทั้งแบบหลังเรียบ และหลังลายผ้าหรือหลังตาราง อาราธนาพุทธคุณไว้ได้เหมือนกันครับ ส่วนเรื่องความนิยมก็ขึ้นอยู่กับว่าคนพูดเขามีแบบไหนเก็บไว้เยอะ

เนื้อพระ
เมื่อเรารู้พุทธศิลป์และประเมินอายุพระได้แล้ว ถ้าเนื้อเก่าแต่ไม่ถึง เราอาจจะตีเป็นพระแท้ แต่เป็นคนละยุค คนละกรุได้ครับ พระแท้ผ่านพิธีที่เราไม่รู้ที่มาและไม่ได้ถูกบันทึกไว้ มีมากมาย เพราะฉะนั้นพิมพ์ไม่ตรง ขายไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งด่วนปรามาสพระนะครับ
สำหรับพระเนื้อชิน แบ่งออกหลักๆ ได้เป็น ชินเงิน และชินตะกั่ว ขึ้นอยู่กับว่ามีส่วนผสมหลักเป็นเงิน ดีบุกหรือตะกั่วมากกว่า จากที่เคยทำคลิปเกี่ยวกับพระกรุเนื้อชินตะกั่ว ลองย้อนกลับไปดูได้นะครับ

สำหรับวิธีแยกประเภทพระเนื้อชินเบื้องต้น
ฝากพี่ๆ เพื่อนๆ ที่ยังไม่กดติดตาม ช่วยกดติดตาม กดไลค์ ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ ช่วยแชร์ความรู้ดีๆ เป็นธรรมทานให้คนที่ศรัทธาเหมือนเราด้วยนะครับ
การแยกประเภทพระเนื้อชิน เราจะเริ่มจาก
๑ ดูพุทธศิลป์แล้วประเมินอายุพระ ว่าอยู่ในศิลปะยุคใด ควรจะมีอายุการสร้างประมาณกี่ปี

๒ พระเนื้อชินถ้าเป็นชินตะกั่ว เราจะเห็นสภาพความเก่า และความกร่อนได้ค่อนข้างชัด ส่วนเนื้อชินเงินจะมีความแกร่ง และคงสภาพได้นานกว่า
๓ และถ้านำพระเนื้อชินเงินไปขีดกับกระดาษ จะไม่มีรอยหรือมีแค่รอยจางๆ ถ้าเป็นเนื้อตะกั่วทำเก่าให้เป็นชินเงิน เมื่อขีดกระดาษ จะเห็นเป็นรอยเข้มๆ

การดูธรรมชาติเนื้อชินเงิน อายุ ๘๐๐ ปี
ความแห้งและนวลตาเป็นสิ่งแรกที่เราต้องดูนะครับ พระเก่าเนื้อต้องแห้ง แห้งและมีคราบนวลในหลายๆ จุดไล่ระดับทับซ้อนกันไปมาทั่วองค์ นักสะสมที่ชอบพระกรุ ก็เพราะเสน่ห์ของพระเก่าในเรื่องนี้ครับ องค์พระมีสีเข้ม อ่อน หนา บาง สูง ต่ำ มีธรรมชาติหลากหลายระดับปะปนกันทั่วทั้งองค์ ทำให้พระดูมีมิติ

ความเหี่ยว
เนื้อพระมีความเหี่ยวกร่อน ผุและสึกตามจุดต่างๆ ตามธรรมชาติของโลหะที่ต้องเกิดออกไซด์ตามอายุโดยเฉพาะชินตะกั่ว
สำหรับเนื้อชินเงิน จะเกิดออกไซด์สีเทาดำตามจุดต่างๆ บนเนื้อพระ ปนกับผดและรอยเนื้อปูดเป็นดอกๆ ตามผิว บางคนจะเรียกสนิมขุม หรือบางคนก็อาจจะเรียกชื่อต่างกันออกไป

ไข
การสร้างพระเนื้อชิน ถึงจะเป็นชินเงิน ก็ต้องมีตะกั่วขาวหรือตะกั่วนมเป็นส่วนผสม และธรรมชาติของตะกั่วก็จะต้องมีไขเกิดขึ้น ดังนั้นเราต้องเห็นคราบไขเก่าๆ แห้งๆ ปนอยู่ในเนื้อและปนกับออกไซด์ของโลหะ
จุดสำคัญคือ ไขต้องอยู่ในเนื้อ เพราะขึ้นจากข้างในเนื้อ มีสีเข้ม อ่อน หนา บาง และไขธรรมชาติต้องดูนวล
ถ้าเป็นไขทำใหม่จะใช้วิธีการป้ายทับ ดูแข็งๆ ไม่เป็นธรรมชาติ

สีของพระเนื้อชิน จะแตกต่างกันไปตามโลหะและออกไซด์ต่างๆ ที่อยู่ในเนื้อ
เช่น ถ้าแก่เงิน เนื้อพระจะออกเป็นสีเทา ดำ
แก่ตะกั่ว จะมีไข ผุและกร่อนมากกว่าเนื้ออื่นๆ
แก่ดีบุก เนื้อจ วๆ นวลๆ

แก่ทองแดง จะขึ้นออกไซด์สีเขียว หรือสนิมเขียว
ถ้ามีออกไซด์ของเหล็ก จะขึ้นสนิมแดง
ถ้ามีสังกะสี จะต้องเห็นเส้นเสี้ยนสังกะสีในเนื้อ
นอกจากนั้น สภาพภายในกรุ และการเก็บรักษายังมีผลต่อสีขององค์พระ

แร่แฝง
การเก็บรวบรวมแร่ต่างๆ เพื่อสร้างพระในสมัยก่อน เป็นการรวบรวมแร่จากธรรมชาติ ไม่ได้สั่งโลหะจากโรงงานมาเข้าเครื่องปั๊ม แร่ที่รวบรวมมาจึงต้องมีแร่อื่นๆ จำนวนเล็กน้อย ที่อาจจะยังแยกออกไม่หมด แฝงมากับแร่หลัก ดังนั้นแร่แฝงและออกไซด์จากแร่แฝงคือจุดสำคัญที่เราต้องใช้พิจารณาเนื้อพระเก่า

แร่แฝงที่เราจะเห็นได้ในพระเนื้อชิน อาจจะเป็นทองแดง สังกะสี เหล็ก พลวงหรือสังฆวานร ไม่ตายตัวนะครับ
เวลาเราดูแร่แฝง ลักษณะของโลหะ สี และออกไซด์ของโลหะจะต้องแตกต่างกับพื้นผิวรอบๆ เมื่อเป็นโลหะหรือแร่คนละชนิดกัน เนื้อและออกไซด์เป็นคนละประเภท ต้องดูไม่เป็นการแต้มสีลงไป

หวังว่าจะได้รับประโยชน์จากคลิปนี้กันนะครับ

สุขกาย สุขใจครับ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке