พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ ดูให้ขาด!! ตีแตก พระกรุเนื้อชิน | EP 124

Описание к видео พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ ดูให้ขาด!! ตีแตก พระกรุเนื้อชิน | EP 124

พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ ดูให้ขาด!! ตีแตก พระกรุเนื้อชิน
#วัตถุมงคล #พระเนื้อชิน

สวัสดีครับพี่ๆ เพื่อนๆ คลิปนี้เราจะมาดูพระเครื่อง เป็นพระเนื้อชิน ยุคอยุธยากัน พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ ประสบการณ์เพียบ ซึ่งตามที่ ๔ มีนาเกริ่นไว้แล้วว่าพระเนื้อชินเป็นเนื้อพระที่มีส่วนผสมของเงินและตะกั่ว และพระชุดนี้เป็นตัวอย่างที่ดีในการดูธรรมชาติที่เกิดจากส่วนผสมของเงินและตะกั่วที่ต่างกัน การผ่านอายุยังไม่ลึก การเปลี่ยนสภาพยังไม่มาก ถ้าแร่เงินมากกว่าหรือตะกั่วมากกว่าจะมีธรรมชาติลักษณะไหนเกิดขึ้น และธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนองค์พระที่เราเห็นก็เกิดจากส่วนผสมที่ต่างกันและผ่านอายุมาจนถึงปัจจุบันจะต้องมีธรรมชาติอย่างไร เดี๋ยวเรามาดูกันครับ

พุทธศิลป์พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ เป็นรูปองค์พระปางมารวิชัยประทับในซุ้มเรือนแก้วทรง ๕ เหลื่ยม มีเสา ๒ ข้าง พุทธลักษณะจะคล้ายกับพระยอดขุนพล ยุคลพบุรี แต่พุทธศิลป์จะเป็นเอกลักษณ์ศิลปะอยุธยาประยุกต์เข้ามา ใบหน้าจะไม่ดุดัน พิมพ์ทรงจะไม่ดูล่ำสันบึกบึนเหมือนพระศิลปะยุคลพบุรีส่วนมาก องค์พระมีความสมส่วน พระเกศสั้น สวมหมวกหรือมงกุฎ มีรายละเอียดของตา จมูกและปากบนใบหน้า ดูอ่อนโยน ช่วงลำตัวคอดมีเอว มีเส้นสังฆาฏิพาดเฉียง ช่วงแขนและขาเล็กเรียว อ่อนช้อย ประทับบนฐานบัว ๒ ชั้น ด้านหลังเรียบ เห็นเป็นลายผ้า ส่วนพิมพ์ใหญ่องค์พระจะดูหนากว่าและมีรายละเอียดต่างกันเล็กน้อย ยุคลพบุรีเป็นช่วงศึกสงคราม ส่วนยุคอยุธยาเป็นยุคที่เริ่มมีการเชื่อมความสัมพันธ์และการค้าขาย ดังนั้นเอกลักษณ์ของพุทธศิลป์ในแต่ละยุคจึงมีความต่างกัน
พระกรุเนื้อชิน ยอดขุนพล สมัยอยุธยา เราจะดูธรรมชาติ พระกรุ ที่จะต้องผ่านอายุมามากกว่า ๔๐๐ ปี

พระยอดขุนพล กรุวัดไก่ที่จะใช้ดูรายละเอียดกันจะเป็นองค์ที่เนื้อชิน มีตะกั่วผสมมากหน่อย การสึกหรอและผุกร่อนที่เกิดจากออกไซด์ของตะกั่วมีให้เห็นในหลายๆ จุด ไขขึ้นบนองค์พระปนกับคราบดินจากกรุ เวลาที่พี่ๆ เพื่อนๆ ดูไขตะกั่วในพระเนื้อชิน ไม่ได้ดูเฉพาะจุดที่ที่ไขหนาเป็นชั้นๆ เท่านั้น แต่เราจะต้องดูไขที่คลุมผิวพระไว้บางๆ นวลๆ ทั่วทั้งองค์ ไขที่เป็นก้อนๆ ทำไม่ยากครับ แต่ไขที่เกิดขึ้นทั่วองค์พระ คือสิ่งที่เราก็ต้องดู รวมถึงเนื้อระเบิดที่ต้องเกิดจากด้านในออกนอก แบบเป็นการปริแยกออก ใครที่เก็บสะสมพระกรุเนื้อชินแก่ตะกั่วไว้ มักจะได้เห็นสิ่งเดียวกันคือ เศษไขตะกั่วที่หลุดร่อนออกในกล่องเก็บพระ ไขเก่าจะหลุดร่อน ไขใหม่จะเกิดขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าตะกั่วจะหมดไข หรือว่าหมดสภาพไป

พื้นฐานของการดูให้ขาด ตีแตกพระเนื้อชินคือการดูส่วนผสมระหว่างเงินและตะกั่ว ธรรมชาติของเนื้อชินที่มีแร่เงินมากสภาพองค์พระจะสมบูรณ์กว่า ผิวจะออกนวล ออกไซด์ขึ้นเป็นเม็ดผดสีเทาอมดำ ไขจะไม่หนามาก ถ้าองค์ที่มีส่วนผสมของตะกั่วมากขึ้น ต้องเป็นตะกั่วขาวหรือตะกั่วนม เราจะเห็นความสึกหรอ ผุกร่อนมากขึ้นและมีไขมากกว่า แต่เราจะไม่ทิ้งธรรมชาติของแร่เงินที่ผสมอยู่ด้วย ถ้าเป็นชินตะกั่วหรือมีแร่เงินผสมอยู่น้อยมากๆ เนื้อจะผุกร่อน ปริแยก ไขคลุมจนแห้งร่อน เหมือนพระปรุหนัง ส่วนแร่แฝงต่างๆ ที่ปนมาจากการรวบรวมแร่ตามธรรมชาติ จะทำให้เกิดออกไซด์อื่นๆ บนเนื้อพระ อย่างเช่นแร่เหล็กจะเกิดสนิมแดง ทองแดงจะเกิดสนิมเขียว หรือสังฆวานรจะออกดำ แต่โดยหลักการแล้วเราจะดูแร่เงินและตะกั่วเป็นสำคัญ การดูพระเก่าอย่าดูที่เนื้อพระเท่านั้น ต้องดูที่ออกไซด์ที่เกิดขึ้น อย่าลืมนะครับ ทุกครั้งต้องประเมินก่อนว่าเนื้อพระผสมเงินมากกว่าหรือตะกั่วนมมากกว่า

๔ มีนามีตัวอย่าง พระกรุ เนื้อชินแก่ตะกั่ว มีเงินผสมน้อยมากๆ เป็นพิมพ์พระพุทธชินราช ยุคสุโขทัย อายุประมาณ ๗๐๐ ถึง ๘๐๐ ปี เราจะเห็นไขตะกั่วแห้งๆ และการหมดสภาพของตะกั่วในเนื้อพระ ทำให้เห็นการปริแยกทั่วทั้งองค์ ขนาดพระเนื้อชินตะกั่วยุคสุโขทัย ยังมีธรรมชาติขนาดนี้ เพราะฉะนั้นพระเนื้อชินยุคลพบุรี ผ่านอายุมากกว่านี้อีก ๔๐๐ ปี เนื้อชินตะกั่วจะเหลือสภาพแบบไหน ๔ มีนาถึงเคยพูดไว้ในคลิปแยกยุคพระเนื้อชินไว้ว่า พระเนื้อชินยุคลพบุรี ถ้าสภาพยังดูได้ ต้องเป็นเนื้อชินเงินเท่านั้น จะเป็นชินแก่ตะกั่วแบบที่ชอบเรียกกันไม่ได้ เพราะธรรมชาติของตะกั่วคงสภาพไม่ได้เป็นพันปี ดังนั้นคำว่าพระเนื้อชินตะกั่ว ยุคลพบุรี หรือพระร่วงหลังรางปืนเนื้อชินตะกั่วสภาพสวย ไม่ว่าจะเก็บดีแค่ไหน คือผิดธรรมชาติ เพราะการเกิดออกไซด์ ยังไงก็ต้องเกิดขึ้นตามหลักธรรมชาติ

เช็คความแห้ง เนื้อเหี่ยว

ออกไซด์
มาถึงจุดสำคัญที่เราใช้ตีแตกเรียนรู้ดูวัตถุโบราณ ก็คืออกไซด์ที่ต้องเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตามอายุ การดูของเก่า พิมพ์เป็นเรื่องหยาบที่สุดที่เราใช้ดูได้แค่ความน่าจะเป็น บอกความแท้ทันยุคของพระเครื่องไม่ได้ ส่วนการดูธรรมชาติคือการเรียนรู้อย่างละเอียดลึกลงไป การดูพระกรุ เนื้อชิน เราจะดูออกไซด์ของแร่เงินและตะกั่ว เงินเป็นแร่แกร่ง เมื่อผสมกับตะกั่วจะทำให้หล่อเข้ารูปได้ง่ายขึ้น พื้นฐานคือดูออกไซด์ของแร่เงิน
การออกซิเดชั่นของเงินเมื่อถูกอากาศจะไม่กัดกร่อนตัวเองเหมือนตะกั่ว จึงทำให้คงรูปอยู่ได้นาน และจะเกิดเป็นคราบและเม็ดสนิมละเอียดปูดขึ้นจากในเนื้อเป็นสีเทาอมดำ ส่วนตะกั่วจะเกิดออกไซด์ขึ้นเป็นไข และส่วนที่เป็นสนิมแดงคือไขของตะกั่วผสมกับออกไซด์ของแร่แฝงอื่นๆ ไขตะกั่วขึ้นเป็นสีเหลืองนวล เมื่อผ่านอายุ ไขเก่าจะแห้งหลุดร่อนทับไขที่เกิดขึ้นใหม่ ทับซ้อนกันไปแบบนี้

พระเครื่องจริงๆ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์ มีจิตและวิชาของครูบาอาจารย์ประจุไว้ สร้างให้เกิดสิ่งดีๆ แก่ร่างกายและจิตใจของผู้ใช้ มีหลักการสร้าง หลักการใช้แร่และมวลสารต่างๆ ทั้งแร่รักษา แร่ป้องกัน แร่เสริมสร้าง ไม่ได้สร้างขึ้นมาโดยไม่มีตำรา การเก็บพระปลอมต่อให้แพงแค่ไหนจะไม่มีสิ่งเหล่านี้ และถ้าวันข้างหน้าเราสามารถกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้พระเครื่องที่เป็นสากล ไม่ใช่แค่ตามความนิยมได้แล้ว พระเครื่อง ที่แพงแต่ไม่แท้จะกลายเป็นภาระลูกหลานต่อๆ ไป

Комментарии

Информация по комментариям в разработке