28 กันยายน 2541 การสร้างพิณเปี๊ยะ โดย พ่อครูบุญรัตน์ ทิพยรัตน์

Описание к видео 28 กันยายน 2541 การสร้างพิณเปี๊ยะ โดย พ่อครูบุญรัตน์ ทิพยรัตน์

การสร้างพิณเปี๊ยะ โดย พ่อครูบุญรัตน์ ทิพยรัตน์

บันทึกโดย Andrew Shahriari เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2541

นายสงกรานต์ สมจันทร์ ได้รับมอบจากศาสตราจารย์ ดร.แอนดรูว์ ชาริอารี เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2559 เพื่อจัดทำหอจดหมายเหตุดนตรีล้านนาออนไลน์ (Online Ethnomusicology Archive)

ศาสตราจารย์ ดร.แอนดรูว์ ชารีอารี (Prof. Andrew Shahriari, PhD) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขามานุษยวิทยาดนตรี (Ethnomusicology) จาก The Hugh A. Glauser School of Music, Kent State University รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 2001/พ.ศ. 2544

ดร.แอนดรูว์เขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง Lanna Music and Dance: Image and Identity in Northern Thailand (ดนตรีและนาฏศิลป์ล้านนา: ภาพลักษณ์และอัตลักษณ์ในภาคเหนือของประเทศไทย) โดยการควบคุมของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.เทอรี่ มิลเลอร์ (Prof. Emeritus Terry E. Miller, PhD) เก็บข้อมูลดนตรีล้านนาระหว่าง พ.ศ. 2539-2544 วิทยานิพนธ์เล่มดังกล่าวต่อมาได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ White Lotus นับเป็นชาวต่างชาติคนที่ 2 ที่ศึกษาวิจัยเรื่องดนตรีล้านนา นอกจากนี้ ดร.แอนดรูว์ยังมีผลงานเขียนที่สำคัญ ได้แก่ World Music: A Global Journey ซึ่งเขียนร่วมกับ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.เทอรี่ มิลเลอร์ และ Popular World Music ทั้งสองเล่มตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Routledge

ดร.แอนดรูว์ มีประสบการณ์ในการศึกษาดนตรีภาคสนาม (fieldwork) ในประเทศต่างๆ เช่น ไทย จีน หลายประเทศในทวีปยุโรป แม็กซิโก และในสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สาขามานุษยวิทยาดนตรี สำนักวิชาดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยเค้นท์สเตท รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากจะสอนในรายวิชาทางมานุษยวิทยาดนตรีแล้ว ดร.แอนดรูว์ยังสอนดนตรีล้านนาสำหรับรายวิชาดนตรีโลก (World Music) มีความสามารถในการบรรเลงดนตรีไทยและดนตรีล้านนา โดยเฉพาะพิณเปี๊ยะ

หอจดหมายเหตุดนตรีล้านนาเจอรัลด์ ไดค์
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านดนตรีและนาฏศิลป์ล้านนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Gerald P. Dyck Ethnomusicology Archive of Lanna Music
Chiang Mai Rajabhat University, Thailand.

Комментарии

Информация по комментариям в разработке