ลูกกินยาก เลือกกิน พ่อแม่ทำยังไงดี?

Описание к видео ลูกกินยาก เลือกกิน พ่อแม่ทำยังไงดี?

ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว กินข้าวน้อยมาก กินแต่นม หรือเลือกกิน กินแต่ของเดิมๆ เป็นปัญหาที่พบบ่อย และสร้างความปวดหัวให้กับพ่อแม่มากๆ ถ้าลูกมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการกิน พ่อแม่จะช่วยลูกได้ยังไง มาฟังคำตอบกันครับ

🥳เวลาลูกมีปัญหากินข้าวน้อย หรือกินแต่ของเดิมๆ พ่อแม่มักจะกังวลว่าลูกจะได้รับสารอาหารเพียงพอหรือเปล่า น้ำหนักจะขึ้นดีไหม ลูกจะแข็งแรงหรือเปล่า แล้วโตขึ้นจะเตี้ยไหม พ่อแม่จึงพยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้ลูกกินให้มากพอ ไม่ว่าจะเป็นการบังคับ หลอกล่อ วิ่งไล่ป้อน และสารพัดวิธี ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว วิธีการดังกล่าวอาจจะไม่ได้ผล แล้วพ่อแม่ควรทำอย่างไรดี หมอมีคำแนะนำดังนี้ครับ

🚩ขั้นแรก ให้ประเมินน้ำหนักและส่วนสูงของลูกก่อน ว่าน้ำหนักและส่วนสูงของลูก อยู่ตามเกณฑ์หรือไม่ เพราะเรื่องการเจริญเติบโตของลูกมีผลต่อการวางแผนการดูแลลูกครับ

🚩 กรณีที่ น้ำหนัก และ/หรือส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ หรืออยู่ในเกณฑ์แต่มีแนวโน้มว่า จะขึ้นค่อนข้างน้อยกว่าที่ควรจะเป็น กรณีนี้พ่อแม่ควรจะต้องพยายามให้ลูกได้รับ พลังงานจากอาหารมากขึ้น

หลักการง่ายๆนะครับ "น้ำหนักเด็กจะขึ้นได้ จะต้องได้รับพลังงานจากอาหารมากเพียงพอกับการเจริญเติบโต"
อาหารของเด็กจะมีข้าว และนมเป็นหลัก ดังนั้นกรณีที่เด็กกินน้อยจริงๆ และน้ำหนักตกเกณฑ์ พ่อแม่สามารถเพิ่มพลังงานที่เด็กจะได้รับโดยการทำอาหาร ที่มันหน่อยได้นะครับ เช่น ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยวผัด เพราะ น้ำมันเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานสูงกว่า สารอาหารชนิดอื่น

ส่วนนมก็ยังเป็นอาหารเสริมที่มีความสำคัญสำหรับเด็ก นมสูตรทั่วๆไปจะให้พลังงาน 20 แคลอรี่ต่อ 1 ออนซ์ กรณีที่ประเมินแล้วน้ำหนักลูกต่ำกว่าเกณฑ์ เราอาจจะใช้นมที่เร่งการเจริญเติบโต ซึ่งให้พลังงานเข้มข้นมากกว่านมทั่วไปนะครับ

นมสูตรเข้มข้นในท้องตลาด มีดังนี้ครับ
😙 1 สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี มีสูตรเดียว คือ อินฟาทรินี่ (infatrni) จะให้พลังงาน 30 แคลอรี่ต่อ 1 ออนซ์
😙 2 สำหรับเด็กอายุมากกว่า 1 ปี จะมี 3 สูตร คือ
2.1 นิวทรินี่ (nutrini) ที่ให้พลังงาน 45 แคลอรี่ต่อออนซ์ นมสูตรนี้ มี 2 รูปแบบ คือเป็นแบบผงชง เรียกว่า Nutrini Powder กับแบบที่เป็นนมขวดพร้อมดื่ม ชื่อนิวทรินี่ดริ๊งค์ nutrinidrink
2.2 พีเดียชัวร์ (Pediasure ) ให้พลังงาน 30 แคลอรีต่อออนซ์
2.3 มิลนิวทริชัวร์ ( Milnutrisure)ให้พลังงาน 30 แคลอรีต่อ ออนซ์

🚩กรณีที่ประเมินแล้ว น้ำหนัก ส่วนสูงยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ พ่อแม่ก็ไม่ต้องกังวลมากแต่ถึงแม้ว่าน้ำหนักจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ เราก็อยากฝึกให้ลูกกินอาหารที่หลากหลาย หมอมีเทคนิคแนะนำดังนี้ครับ

😚สิ่งที่สำคัญที่สุดในการฝึกให้ลูกกินอาหารให้มากขึ้น คือ
"ห้ามบังคับเด็กกินเด็ดขาด"นะครับ ตรงนี้กาดอกจัน 10ดวง=เน้นมากกก เวลากินอาหารต้องเป็น"เวลาที่มีความสุข" เพราะถ้าเด็กกินน้อยแล้วพ่อแม่บังคับมาก เด็กจะรู้สึกไม่อยากกิน แล้วยังอาจจะส่งผลต่อปัญหาในการกินในระยะยาวได้
😚พ่อแม่ต้องพยายามจัดอาหารให้น่ากิน เปลี่ยนเมนูอย่าให้ซ้ำเดิมบ่อยๆ
😚เวลากิน ต้องไม่มีสิ่งอื่นที่ดึงดูดความสนใจเด็กจากการกินข้าว เช่น TV มือถือแท็บเล็ต
😚ควรให้เด็กนั่งกิน กรณีที่เป็นเด็กเล็กควรนั่ง High Chair เพื่อให้เด็กโฟกัสที่การกินได้
😚พยายามให้เด็กมีส่วนร่วมในการกินเอง อาจทำให้เด็กมีความสนุกในการกินและทำให้กินมากขึ้นได้
😚พยายามให้เด็กมีกิจกรรมทางกายที่มากพอ เพราะถ้าได้ออกกำลังกายมาก เด็กหิวก็อาจจะกินได้มากขึ้น
😚ลดการกินขนมหรือนมที่มากเกินไป เพราะถ้าเด็กอิ่มนม หรืออิ่มขนม อาจจะทำให้ไม่อยากกินข้าวได้
สำหรับเด็กที่อายุเกิน 1 ปี ไม่ควรกินนมเกิน 1 ลิตร ต่อวัน (ประมาณ 33 ออนซ์) ถ้าพ่อแม่ไม่แน่ใจว่าลูกกินนมเยอะเกินไปหรือเปล่า ลองนับปริมาณนมที่กินในแต่ละวันเลยครับ นับ24 ชั่วโมงนะครับว่าเกิน 33 ออนซ์มั้ย ถ้าเกิน ต้องลดปริมาณนมที่ลูกทานอยู่นะครับ
😚ชื่นชมเวลาลูกกินอาหารได้ดี
😚กรณีที่กินน้อย หรือเลือกกินบางอย่าง พ่อแม่ต้องพยายาม"เชียร์โดยไม่บังคับ" คือ พยายามลุ้นเต็มที่ให้เด็กกิน แต่ถ้าไม่กิน ก็ไม่บังคับ ไม่บ่น พ่อแม่ก็เก็บจานไป พอลูกอารมณ์ดีๆก็มาเชียร์ใหม่ จากการวิจัยพบว่ากรณีที่พ่อแม่จะฝึกให้ลูกกินอาหารที่ลูกไม่ยอมกิน จะต้องใช้ความพยายามในการเชียร์ลูกประมาณ "8-17 ครั้ง"กว่าเด็กจะเริ่มยอมกิน ที่ผ่านมาเราเคยใช้ความพยายามมากขนาดนี้มั้ยครับ ถ้าไม่ถึงแปลว่ายังไม่พอ เพราะฉะนั้น พ่อแม่อย่าเพิ่งท้อนะครับกรณีที่เชียร์ให้ลูกกินครั้ง 2 ครั้งแล้วลูกยังไม่ยอมกิน
😚 ห้ามเปรียบเทียบปริมาณการกินของลูกเรากับลูกคนอื่น ถ้าลูกเราดูเหมือนกินไม่เยอะเมื่อเทียบกับคนอื่น แต่น้ำหนักขึ้นดี ก็ถือว่าเพียงพอสำหรับลูกเรา พ่อแม่ก็ไม่ต้องกังวลมาก เพราะโดยธรรมชาติคนแต่ละคนก็กินอาหารไม่เท่ากันก็ได้

🚩สุดท้าย กรณีที่ไม่แน่ใจว่าว่าลูกมีปัญหาอื่นหรือไม่ ควรพาไปปรึกษาแพทย์นะครับ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке