ชัวร์ก่อนแชร์ : ซ่อมเข่า แก้โรคข้อเข่าเสื่อมโดยไม่ต้องเปลี่ยนเข่า จริงหรือ ?

Описание к видео ชัวร์ก่อนแชร์ : ซ่อมเข่า แก้โรคข้อเข่าเสื่อมโดยไม่ต้องเปลี่ยนเข่า จริงหรือ ?

1 ก.พ. 65 - บนสังคมออนไลน์แชร์แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการ “ซ่อมเข่า” โดยไม่ต้องเปลี่ยนเข่า เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามกับคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

🎯 ตรวจสอบกับ ศ.นพ.กีรติ เจริญชลวานิช
รองคณบดีฝ่ายสร้างเสริมสุขภาพ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
สัมภาษณ์เมื่อ 12 มกราคม 2565
🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

-----------------------------------------------------

📌 สรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์

Q : การ “ซ่อมเข่า” นี่ มีจริงไหม ?
A : จริง ๆ แล้วการซ่อมเข่าก็คือคำนิยามที่เอามาใช้กัน
ฟังแล้วรู้สึกว่าดูน่ากลัวลดลง
แต่การซ่อมเข่าจริง ๆ ก็คือ การผ่าตัดนั่นเอง
เป็นการผ่าตัดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีตั้งแต่ส่องกล้อง
จนกระทั่งถึงเปลี่ยนผิวข้อบางส่วน หรือเต็มทั้งข้อ
ก็เป็นการซ่อมทั้งหมดเหมือนกัน

Q : ที่แชร์กันระบุว่า ซ่อมเข่า เป็นเทคโนโลยีใหม่จากสหรัฐอเมริกา ?
A : คนไข้มาถามหมอหลายท่านว่า ซ่อมข้อนี่มาจากอเมริกา
จริง ๆ แล้วคือการผ่าตัดเปลี่ยนเข่าบางส่วน
ประเทศที่ประสบความสำเร็จดั้งเดิม ตั้งแต่นำมา
ไม่ใช่อเมริกานะครับ เป็นประเทศอังกฤษ ด้วยซ้ำ
ทำกันมาหลายสิบปีแล้ว 40-50 ปีเป็นอย่างน้อย ประเทศไทยก็เข้ามาเป็น 20 ปี
ดังนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่นัก ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนก็สามารถทำได้

Q : แล้วผู้ป่วยโรคเข่าเสื่อม จำเป็นต้องผ่าตัดทุกคนไหม ?
A : ไม่จำเป็น ผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคข้อ โดยเฉพาะข้อเข่านะ
ถ้าเป็นไม่มากก็สามารถดูแลตนเอง ป้องกันปัจจัยที่จะทำให้เกิดความเสี่ยง
ต่อการที่ข้อสึกมากขึ้น ลดน้ำหนัก ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
รับประทานยาต้านอักเสบ พักผ่อน อันนี้ก็จะทำให้ฟื้นตัวกลับมาได้

Q : การผ่าตัดเข่านั้น ไม่ใช่ทั้งคำตอบแรก หรือ คำตอบสุดท้าย สำหรับผู้ป่วย ?
A : การผ่าตัดก็ไม่ใช่เป็นคำตอบสุดท้าย
การผ่าตัดหลาย ๆ กรณี ผู้ป่วยยังมีอาการเจ็บอยู่บ้างก็มี
หรือเกิดการเสียชำรุดก่อนเวลาอันควร
หรือเกิดการสึกกร่อนของข้อที่เปลี่ยนไปด้วยก็มี
ดังนั้น เราอาจจะมีโอกาสเสียข้อที่ซ่อมไปแล้วหรือผ่าไปแล้วได้อีก
ข้อที่ดีที่สุดคือ ข้อที่เราได้รับมาจากเกิดมา ใช้เขาตั้งแต่เด็กแต่เล็ก
ไม่ว่านวัตกรรมจะดีเท่าไหร่ก็ตาม ก็ยังไม่สามารถทำให้
คุณภาพของข้อนั้น ๆ ดี เท่ากับข้อธรรมชาติที่เรามีอยู่
แนวคิดที่ว่า “ถึงเวลาเราก็ไปผ่าตัดซ่อมเอา”
อันนี้ฝากเตือนเอาไว้นะครับว่า เราควรจะดูแลข้อที่เรามีอยู่ให้ดีที่สุด
ก่อนที่จะไปถูกเปลี่ยนหรือไปผ่าตัด

Q : ก่อนจะปล่อยให้เป็นหนักถึงขั้นต้องผ่าตัด
อาจารย์แนะนำวิธีชะลอความเสื่อม ?
A : เริ่มดูแลข้อเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
เช่น มีอาการติด มีอาการเจ็บ มีอาการขัด ยังไม่ผิดรูป
ก็เป็นช่วงที่สำคัญมากที่เราจะชะลอ
เช่น ลดปัจจัยเสี่ยงนะครับ น้ำหนักตัวสำคัญมาก ๆ เลย
กิจวัตรประจำวันที่ทำให้แรงกระแทกต่อข้อเยอะ ๆ มาก ๆ
เช่น แบกหาม หรือว่ากระโดด หรือนั่งพับเข่าเยอะ ๆ
ถ้าเราชะลอสิ่งเหล่านี้ได้ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด

Q : แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่า เข่าเราเริ่มเสื่อมแล้ว ?
A : สัญญานเตือนที่ง่ายที่สุดสำหรับความเจ็บไข้ได้ป่วยของคนเราคือ การเจ็บ
โดยเฉพาะเจ็บเมื่อเรามีกิจกรรม ใช้กิจกรรม เช่น ลุกจากนั่งไปยืน
หรือดำเนินกิจวัตรประจำวันการเดินปกติเริ่มทำไม่ได้
หรือต้องกินยาเพื่อลดบรรเทาอาการเจ็บเหล่านี้
ในระยะเวลา 3 - 5 วัน แล้วไม่ดี หรือ 1 สัปดาห์ไม่ดี
เป็นสัญญานเตือนต้องไปหาสาเหตุให้ชัดเจน
และรักษาให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น

Q : ให้การผ่าตัด เป็นทางเลือกเมื่อจำเป็นจริง ๆ ?
A : ถ้าผู้ป่วยยังไม่ได้ผ่านการรักษาด้วยวิธีที่ไม่ผ่าตัดอย่างเต็มที่
หมอแนะนำว่าให้ดำเนินการรักษาด้วยการไม่ผ่าตัดให้เต็มที่เสียก่อน
เช่น ถ้าเรามีอาการปวดเจ็บ 1 อาทิตย์ 2 อาทิตย์
แล้วแพทย์แนะนำให้ผ่าตัดเลยอันนี้ ต้องพึงระวังนะ เพราะว่า
เราอาจจะหายได้ดีโดยไม่ต้องถูกผ่าตัดก็ได้
และการผ่าตัดก็มีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาวะที่อาจจะสูญเสียชีวิตก็ได้
หรือว่าพิการ หรือว่าติดเชื้อเรื้อรัง หรืออาจจะต้องมาผ่าตัดซ้ำซ้อน
ดังนั้น อย่าเพิ่งตัดสินใจรับการผ่าตัดโดยยังไม่ผ่านกระบวนการขั้นตอนเหล่านี้

Q : ก่อนการผ่าเข่า เตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมจริง ๆ ?
A : การผ่าตัดเปลี่ยนหรือตกแต่งข้อเนี่ย ไม่เร่งด่วน
มีบางกรณีที่เร่งด่วนเท่านั้น คือ ถ้าผู้ป่วยติดเชื้อไปยังข้อ
ก็อาจจะต้องรีบผ่าตัดเพื่อกำจัดการติดเชื้อนั้น
นอกนั้นไม่เร่งด่วนเลย
เรามีเวลาที่จะหันกลับไปทบทวนดูแลตนเอง ด้วยวิธีอื่น ๆ ทั้งหมด
และก็เตรียมพร้อมในร่างกาย ถ้าจะต้องรับการผ่าตัด
ไม่ว่าดูแลโรคประจำตัวให้ดีนะครับ
หรือว่ารักษาด้วยโรคร่วมอื่น ๆ ให้ดี ให้ปลอดภัย
การผ่าตัดครั้งแรก เป็นโอกาสที่ดีที่สุดด้วยซ้ำไป
ดังนั้น ความแข็งแรงของร่างกายก็เป็นสิ่งที่จะต้องเตรียมให้พร้อม
ไม่จำเป็นต้องรีบด่วนในการที่จะรับการผ่าตัด

Q : แต่สรุปแล้วเรื่อง “ซ่อมเข่า” นี่เป็นอย่างไร ?
A : ไม่ควรแชร์ต่อ ในแง่ทำให้เข้าใจผิดว่า แตกต่างจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า
เพราะว่าการซ่อมเข่าในความหมายนี้ ที่แชร์กันอยู่ในปัจจุบัน
ก็คือการผ่าตัดเปลี่ยนเข่าบางส่วนนั่นเอง

👉 ดูแลรักษาในวันที่ยังป้องกันได้
ลดความเสี่ยงรับผลจากการซ่อมแก้ไขในอนาคต

#ชัวร์ก่อนแชร์ #sureandshare
-----------------------------------------------------

🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ "ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์" 🎯
LINE | @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40sureandshare
FB |   / sureandshare  
Twitter |   / sureandshare  
IG |   / sureandshare  
Website | http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok |   / sureandshare  

ข่าวค่ำ | สำนักข่าวไทย อสมท | ช่อง 9 MCOT HD เลข 30 | http://www.tnamcot.com

Комментарии

Информация по комментариям в разработке