ลมหายใจ ระลึกชาติได้ *อานาปานสติ* มีฤทธิ์ เห็นเวรกรรม เสียงธรรม โดยหลวงพ่อสมภพ โชติปัญโญ

Описание к видео ลมหายใจ ระลึกชาติได้ *อานาปานสติ* มีฤทธิ์ เห็นเวรกรรม เสียงธรรม โดยหลวงพ่อสมภพ โชติปัญโญ

แบ่งปันเสียงหลวงพ่อสมภพ โชติปัญโญ เรื่อง ระลึกชาติ เห็นเวรกรรม ฝึกอานาปานสสติ ฝึกสติให้เกิดกำลังตั้งมั่น

อานาปานสติ หมายถึง การมีความระลึกรู้ตัวในลมหายใจเข้าออก (อาน- : ลมหายใจเข้า + อปาน- : ลมหายใจออก + สติ : ความระลึก) อานาปานสติเป็นได้ทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน บางคัมภีร์กล่าวว่าเป็นอารมณ์กรรมฐานของมหาบุรุษทั้งหลาย มีอยู่ 16 คู่ โดยเป็นกายานุปัสสนา 4 คู่ เป็นเวทนานุปัสสนา 4 คู่ เป็นจิตตานุปัสสนา 4 คู่ และเป็นธัมมานุปัสสนา 4 คู่

1.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
การกำหนดรู้ในอานาปานสติ ตั้งแต่ขั้นที่ 1-4 เป็นการกำหนดรู้ภายในกาย จัดเรียกว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

1.หายใจออก-เข้ายาวรู้

2.หายใจออก-เข้าสั้นรู้ .

3.หายใจออก-เข้า กำหนดกองลมที่กระทบในกายทั้งปวง

4.หายใจออก-เข้า เห็นกองลมทั้งปวงสงบก็รู้ (จับลมหายใจไม่ได้เหมือนลมหายใจหายไป)

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ตั้งแต่ข้อ 5 - 8 สติเริ่มละเอียดจะจับชัดที่ความรู้สึกได้ชัดเจน จัดเรียกว่า เวทนานุปัสสนา จนสามารถแยกรูปนามออกจากกันได้ชัดเจน หรือ นามรูปปริทเฉทญาณ

5.หายใจออก-เข้า กำหนดรู้ในความรู้สึกปีติ เกิดขึ้นเมื่อบรรลุทุติยฌาน ( ปีติสัมโพชฌงค์)

6.หายใจออก-เข้า กำหนดรู้ในความรู้สึกสุข เกิดขึ้นเมื่อบรรลุตติยฌาน

7.หายใจออก-เข้า กำหนดรู้ในจิตสังขารทั้งปวง

8.หายใจออก-เข้า กำหนดระงับจิตตสังขารทั้งปวง (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์)

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ตั้งแต่ข้อ 9 - 12 สติเริ่มละเอียดจะจับชัดที่การรู้หรือที่อายตนะได้ดี อันเป็นวิญญาณขันธ์ได้ชัดเจน เรียกว่า จิตตานุปัสสนา จนสามารถเท่าทันในเหตุปัจจัยของรูปนามได้ชัดเจน หรือ นามรูปปัจจยปริคคหญาณ

9.หายใจออก-เข้า พิจารณาจิต

10.หายใจออก-เข้า จิตบันเทิงร่าเริงก็รู้

11.หายใจออก-เข้า จิตตั้งมั่นก็รู้ ( สมาธิสัมโพชฌงค์)

12.หายใจออก-เข้า จักเปลื้องจิตก็รู้ (อุเบกขาสัมโพชฌงค์)

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ตั้งแต่ข้อ 13 - 16 สติละเอียดมากจนพิจารณารูปนามเพราะปรากฏชัดอยู่ในธัมมารมณ์ (สิ่งที่เกิดขึ้นในใจหรือมนายตนะ มี 3 อย่าง คือ เวทนา สัญญา สังขาร ธรรมในความหมายนี้หมายเอาความนึกคิดซึ่งก็คือการพิจารณานั้นเอง) จัดเรียกว่า ธัมมานุปัสสนา พิจารณาเห็นว่ารูปนามเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์

13.หายใจออก - เข้า พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ในขันธ์ทั้ง 5 มีลมหายใจเป็นตัวแทนรูปขันธ์ จะพบเห็นสังขตลักษณะ (ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป) ในขันธ์ทั้งห้า (สมมสนญาณ อุทธยัพพยญาณ ภังคญาณ)

14.หายใจออก - เข้า พิจารณาโดยความคลายกำหนัดในรูปนาม เห็นรูปนามเป็นสิ่งไร้ค่า (ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ)

15.หายใจออก - เข้า พิจารณาโดยไม่ยึดติดถือมั่นในรูปนามขันธ์ห้าว่าไม่ใช่ตัวตน เพราะเห็นความดับไปแห่งปฏิจจสมุปบาท (มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ)

16.หายใจออก - เข้า พิจารณาสละคืนขันธ์ (สัจจานุโลมมิกญาณ โคตรภูญาณ(หรือวิทานะญาณ) มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ)

เมื่อเจริญอานาปานสติ จนสัมปชัญญะทั้งสี่บริบูรณ์ก็จะเกิดสติสัมโพชฌงค์ขึ้นมา เมื่อศีลวิสุทธิเกิดขึ้นเพราะศรัทธาพละและปัญญาพละสมดุลกันก็จะเกิดธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ขึ้นมา เมื่อจิตตวิสุทธิเกิดขึ้นเพราะวิริยะพละสมดุลกับสมาธิพละก็จะเกิดวิริยะสัมโพชฌงค์ขึ้น

ที่มาข้อความ อริยสัจ 4 คำแปล วิกิพีเดีย/ธรรมสวนะ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке