ไทดำมาจากไหน..? ตามรอยอดีตประวัติศาสตร์ความเป็นมากว่า200 ปี

Описание к видео ไทดำมาจากไหน..? ตามรอยอดีตประวัติศาสตร์ความเป็นมากว่า200 ปี

ไทดำมาจากไหน..? #ตามรอยอดีต #ประวัติศาสตร์ #ความเป็นมา
“ไทดำ” เป็นชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ที่เริ่มถูกนำมาเป็นชื่อที่ใช้เรียกตนเองมากขึ้น ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากความเคลื่อนไหวในการฟื้นฟูอนุรักษ์วัฒนธรรมที่มีต้นกำเนิดจากดินแดนดั้งเดิมในเขต #สิบสองจุไท สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ที่ต้องการเรียกชื่อของตนเองว่า “ไทดำ” ตามผู้คนและแหล่งกำเนิดดั้งเดิม ชื่อเรียกดังกล่าวจึงถูกใช้อย่างกว้างขวางและเป็นสากล สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำข้ามรัฐชาติเพื่อสร้างความเป็นกลุ่มก้อนเดียวกันในขณะที่ชื่อเรียกที่มีคำนำหน้าว่าลาว เช่น ลาวโซ่งหรือ ลาวทรงดำ เริ่มถูกปฏิเสธเนื่องจากพวกเขายืนยันอัตลักษณ์การเป็นกลุ่มคนไท แต่เนื่องจากการถูกบังคับในย้ายถิ่นจึงได้เดินทางมาพร้อมกับกลุ่มลาวหลายกลุ่ม ทำให้ถูกเรียกอย่างเหมารวมว่าเป็นชาวลาว กลุ่มชาติพันธุ์ไทดำเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่จัดอยู่ในตระกูลภาษาขร้าไท (Kra-Dai) สาขาตะวันตกเฉียงใต้ (Southwestern Language Group) มีระบบภาษาเขียนเป็นของตนเองเรียกโดยทั่วไปว่า “โตสือไตดำ” (ตัวสือไทดำ) สันนิษฐานว่าอาจจะมาจากตัวอักษรสมัยสุโขทัย ไทดำในประเทศไทย มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในบริเวณภาคเหนือของประเทศเวียดนาม แถบแม่น้ำดำและแม่น้ำแดงปัจจุบันอยู่ในเขตเวียดนามเหนือตอนเชื่อมต่อกับลาวและจีนตอนใต้ เคยเป็นที่รู้จักในนามของสิบสองจุไทส่วนการเคลื่อนย้ายเข้ามาในประเทศไทยเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2322 เป็นต้นมา ช่วงเวลาของการเคลื่อนย้ายครั้งสำคัญเข้าสู่ประเทศไทย 7ครั้ง คือ1) สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ. 2322)2) รัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์(พ.ศ. 2335) 3) รัชกาลที่ 3 กรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2378)4) รัชกาลที่ 3กรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2379)5) รัชกาลที่ 3กรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2381) 6) รัชกาลที่ 3กรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2382)และ7) รัชกาลที่ 5 กรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2429) ในระยะแรกที่เคลื่อนย้ายเข้ามาในประเทศไทย ชาวไทยดำได้รับอนุญาตในการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในเขตเมืองเพชรบุรี และได้ตั้งถิ่นฐานอย่างต่อเนื่องมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากนั้นจึงได้เริ่มโยกย้ายออกจากเพชรบุรี ไปตั้งบ้านเรือนกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ปัจจุบันพบ #ชุมชน ชาวไทดำอยู่ในหลายจังหวัดของ #ประเทศไทย ได้แก่ราชบุรีกาญจนบุรีนครปฐมสุพรรณบุรีสมุทรสงครามสมุทรสาครลพบุรีสระบุรีนครสวรรค์พิจิตรสุโขทัยพิษณุโลกประจวบคีรีขันธ์ชุมพรสุราษฎร์ธานี และเลย ในมิติสังคมและวัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ไทดำถือเป็นกลุ่มที่มีความเข้มเข็งทางวัฒนธรรม ที่เกิดขึ้นจากความผูกพันในระบบสายตระกูลและเครือญาติและระบบผีบรรพบุรุษที่มีอยู่อย่างเข้มข้น แม้ว่าจะมีการเคลื่อนย้ายแยกออกห่างจากถิ่นฐานดั้งเดิมมายาวนานกว่าสองร้อยปี แต่ชาวไทดำยังสามารถรักษาอัตลักษณ์วัฒนธรรมทางชาติพันธุ์ร่วมกับชาวไทดำในภูมิภาคได้ชาวไทดำจึงเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการอนุรักษ์ฟื้นฟูและธำรงรักษาอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ให้มีความเข้มแข็งท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำในประเทศไทยสมทรงบุรุษพัฒน์ และคณะ (2552, 540) กล่าวไว้ว่ากลุ่มชาติพันธุ์ไทยโซ่งหรือไทดำ ดั้งเดิมอยู่ที่เมืองแถง หรือปัจจุบันคือเมืองเดียนเบียนฟูทางตอนเหนือของประเทศเวียดนามต่อมาได้มีการอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2322ด้วยเหตุผลทางการเมืองจากนั้นการอพยพดำเนินต่อไปอีกหลายครั้งบริเวณที่กลุ่มชาติพันธุ์ไทยโซ่งเข้ามาตั้งหลักแหล่งเป็นแห่งแรก คือที่ตำบลหนองปรงอำเภอเขาย้อยเมืองเพชรบุรีต่อมาได้มีการโยกย้ายไปหาที่ทำกินใหม่ในบริเวณใกล้เคียงในภาคตะวันตกมีชุมชนภาษาไทยโซ่งอาศัยอยู่ใน 7 จังหวัดได้แก่ กาญจนบุรีเพชรบุรีราชบุรีนครปฐมสมุทรสาครสมุทรสงครามสุพรรณบุรีกลุ่มชาติพันธุ์ไทยโซ่งที่อาศัยอยู่ในจังหวัดที่มาอาณาบริเวณใกล้เคียงกับจังหวัดเพชรบุรีส่วนใหญ่อพยพมาจากจังหวัดเพชรบุรีเป็นเวลา 3-4 ชั่วอายุคน(ประมาณ 200 ปี)
#ไทดำ : การเดินทางแห่งอัตลักษณ์จากสิบสองจุไทสู่ดินแดนไทย"
"การฟื้นฟูวัฒนธรรมไทดำ: จากเวียดนามสู่การตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย"
"ประวัติศาสตร์ไทดำ: กลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังคงความเข้มแข็งผ่านกาลเวลา"
"ไทดำกับความเปลี่ยนแปลง: วัฒนธรรมและการตั้งถิ่นฐานในไทย"
"จากสิบสองจุไทสู่เมืองเพชรบุรี: เรื่องราวการอพยพของชาวไทดำ"
ไทดำ, วัฒนธรรมไทดำ, กลุ่มชาติพันธุ์ไทดำ, #ชาติพันธุ์ , การฟื้นฟูวัฒนธรรม, สิบสองจุไท, ประวัติศาสตร์ไทดำ, #ลาวทรงดำ , การอพยพ, ไทดำในไทย, ไทยโซ่ง, ราชบุรี, เพชรบุรี, กาญจนบุรี, นครปฐม, สมุทรสงคราม, สุโขทัย, พิจิตร, ชุมชนไทดำ, ตัวสือไทดำ, ภาษาไทดำ, วัฒนธรรมประเพณี, ไทดำในเวียดนาม, ชุมชนชาติพันธุ์, รักษาวัฒนธรรม, อัตลักษณ์ชาติพันธุ์, ความเข้มแข็งทางวัฒนธรรม, ผีบรรพบุรุษ, กลุ่มชาติพันธุ์ขร้าไท, การตั้งถิ่นฐาน, ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์, ลาวโซ่ง, เมืองเดียนเบียนฟู, ภาคเหนือเวียดนาม, ไทยโบราณ, วัฒนธรรมไทย, ภาคกลาง, การเคลื่อนย้าย, พื้นที่ประวัติศาสตร์, สิบสองจุไท
"ไทดำ: รากเหง้าและการฟื้นฟูวัฒนธรรมข้ามพรมแดน"
"จากสิบสองจุไทถึงเมืองไทย: การอพยพของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำ"
"อัตลักษณ์ไทดำ: การรักษาวัฒนธรรมและสายสัมพันธ์ผ่านกาลเวลา"
"ชุมชนไทดำในไทย: ประวัติศาสตร์และความแข็งแกร่งทางวัฒนธรรม"
"ไทดำ: สืบทอดวัฒนธรรมและการตั้งถิ่นฐานในไทย"


#เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке