แบบนี้แท้เลย!! วิธีแยกเก๊แท้ พระมเหศวร หนึ่งในสุดยอดพระเนื้อชิน | EP 92

Описание к видео แบบนี้แท้เลย!! วิธีแยกเก๊แท้ พระมเหศวร หนึ่งในสุดยอดพระเนื้อชิน | EP 92

EP 92 เช็คพระมเหศวร เนื้อชิน วิธีแยกเก๊ แท้

สวัสดีครับพี่ๆ เพื่อนๆ คลิปนี้เราจะมาเช็คพระมเหศวรกันครับ พระมเหศวรเป็นหนึ่งในพระกรุเนื้อชินที่มีความนิยมในอันดับต้นๆ เลยนะครับ พระมเหศวรองค์นี้เนื้อพระและส่วนผสมระหว่างแร่เงินและแร่ตะกั่วค่อนข้างสมดุลย์ อย่างที่ ๔​มีนาเคยทำคลิปไปนะครับ พระเนื้อชินมีส่วนผสมหลักๆ ที่เราจะดูคือแร่เงิน และแร่ตะกั่ว ที่เหลือเป็นแร่แฝงที่มาจากธรรมชาติ ถ้าเงินเยอะก็จะมีธรรมชาติแบบหนึ่ง ตะกั่วเยอะก็อีกแบบหนึ่ง ส่วนแร่แฝงมีผลให้เกิดออกไซด์ หรือสนิมที่ต่างสีต่างธรรมชาติกัน

เรามาเช็คพระมเหศวรองค์นี้กันครับ
พุทธศิลป์ของพระมเหศวร เป็นรูปพระพุทธปางมารวิชัย หรือปางชนะมาร พระเกศตรงสั้น คล้ายสวมหมวกทรงฝาชีครอบ ใบหน้าใหญ่ เห็นโครงใบหน้า องค์ที่ติดชัด จะเห็นมีคิ้ว ตา จมูกและปาก มีเส้นรัศมีอยู่รอบเศียรขององค์พระเป็นเส้นตรงทั้งด้านขวาและด้านซ้าย ลำตัวมีเส้นสังฆาฏิพาดเฉียงจากไหล่ลงมาที่ลำตัวและ แขนเล็กและเรียว ด้านขวาพาดตรงลงมาที่หัวเข่า แขนซ้ายเป็นท่าสมาธิ มือทั้ง ๒ ข้างดูมีขนาดใหญ่ ประทับนั่งอยู่บนฐานหน้ากระดาน ๒​ ชั้น ด้านบนและด้านฐานล่างขององค์พระจะกว้างกว่าช่วงกลาง
พระมเหศวรเป็นพระเครื่องที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะสำหรับพิมพ์ที่มี ๒ หน้า จะมี ๒ ด้านสลับบนล่างกัน คือสวนทางกัน และยังมีพบพิมพ์อื่นๆ อีก

เนื้อพระ
ประเมินเนื้อพระองค์นี้เป็นพระเนื้อชินเงิน มีส่วนผสมของแร่เงินและตะกั่วค่อนข้างพอดี ไม่แก่เงินหรือแก่ตะกั่วจนเกินไป ถ้าเป็นพระมเหศวรองค์ในคลิปแรกที่ ๔ มีนาทำไว้เป็นเนื้อชินแก่ตะกั่ว ไขตะกั่วคลุมผิว และเนื้อจะกร่อนกว่านี้มาก
วิธีเช็คเบื้องต้น ถ้าองค์พระโดยรวมดูแล้วเนื้อค่อนข้างไปทางเนื้อแกร่ง เนื้อออกสีเทาอมดำ มีผดออกไซด์ตามผิวพระ มีไขนวลๆ แต่ไม่หนาจนคลุมผิว ให้ประเมินเป็นชินเงิน หรือชินแก่เงิน
แต่ถ้าองค์พระดูแล้วมีไขขึ้นคลุมผิว มีความสึกกร่อนค่อนข้างมาก เราจะประเมินเป็นชินเงินแก่ตะกั่ว

ความแห้ง คือหัวใจของพระเก่าทุกเนื้อ ดังนั้นเวลาเช็คพระเก่า เราต้องหาความแห้งและนวลตาในเนื้อพระให้เจอ ในพระมเหศวรองค์นี้ ตามเนื้อพระ ตามซอกหรือในร่องต่างเราจะเห็นความแห้งที่สะสมตัวกันอยู่ ค่อนข้างดูง่าย สำหรับพระมเหศวรของพี่ๆ เพื่อนๆ หรือพระในชินในยุคใกล้เคียงกันหรือที่ผ่านอายุมาหลายร้อยปี ก็ต้องดูความแห้งในลักษณะนี้เหมือนกัน มากน้อยต่างกันได้ขึ้นอยู่กับสภาพขององค์พระและการเก็บรักษา พระเก่าหาความแห้งนวลตาให้เจอนะครับ

เนื้อเหี่ยว
พอเราเช็คความแห้งเจอแล้ว ธรรมชาติเนื้อพระเก่าต้องเหี่ยว ดูแล้วต้องไม่เรียบตึง โดยเฉพาะธรรมชาติของพระเนื้อชินเงิน ซึ่งจะมีเม็ดผดปูดขึ้นบนผิวโดยเฉพาะในร่องหรือพื้นที่ต่ำกว่า มีความกร่อนจากตะกั่ว มีออกไซด์ที่ต้องเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตามอายุ ไม่มีไม่ได้ ทำให้เนื้อพระเก่าอายุหลายร้อยปี เนื้อจะต้องไม่เรียบตึงเหมือนพระใหม่

ออกไซด์
จุดสำคัญที่สุดในการเช็คและประเมินอายุพระกรุเนื้อชินคือ ออกไซด์ที่ต้องเกิดขึ้นตามธรรมชาติตามอายุ การดูออกไซด์ ช่วยให้เราประเมินได้ว่าเป็นพระเนื้อชินแก่เงิน หรือชินแก่ตะกั่ว ออกไซด์ของเงินและตะกั่วเป็นจุดสำคัญในการประเมินการผ่านอายุของพระ ซึ่งพระมเหศวร เป็นศิลปะในยุคอู่ทอง ธรรมชาติและออกไซด์ที่เกิดขึ้นจะต้องผ่านอายุมาประมาณ ๖๐๐ ถึง ๗๐๐​ปี

ธรรมชาติแร่เงิน ออกไซด์จะขึ้นเป็นคราบสีเทาอมดำคลุมผิวขององค์พระ และขึ้นเป็นเม็ดผดปูดๆ อยู่บนเนื้อพระ
ส่วนออกไซด์ของตะกั่วจะขึ้นเป็นไขสีขาวอมเหลือง ยิ่งผ่านเวลามานาน ออกไซด์จะยิ่งหนาและทับซ้อนขึ้น
การเช็คพระองค์นี้ เราจะเห็นคราบสีเทาทั้งสีเข้ม สีอ่อน ไปจนถึงสีดำปะปนกันอยู่บนเนื้อพระ การเกิดออกไซด์แบบนี้ใช้การทาสีทับไม่ได้ เพราะมีความหลากหลาย หนาบาง เข้มอ่อนเกิดขึ้นแบบทับซ้อนกันไปมา

ส่วนออกไซด์ของตะกั่ว หรือไขเกิดขึ้นจากในเนื้อปนกับออกไซด์ของแร่เงิน ยิ่งทำให้เกิดธรรมชาติที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เพราะไขตะกั่วที่เกิดจากธรรมชาติจะคลุมผิวไว้ดูนวลตา ไขสีขาวอมเหลือง มีหนาบาง มีสีเข้มอ่อน ยิ่งเนื้อพระมีส่วนผสมของตะกั่วมากหรือผ่านเวลามานานขึ้น ไขจะยิ่งหนาสะสมตัวกัน หนาเป็นชั้นๆ มากขึ้น

พระกรุเนื้อชินที่ผ่านอายุมานานจะต้องมีธรรมชาติหลากหลายเกิดขึ้น มีจุดที่แห้งมากแห้งน้อย มีสีเข้มอ่อนไล่โทนกัน เนื้อพระต้องเหี่ยวตามอายุมีออกไซด์ของเงินเป็นคราบสีดำอมเทา สนิมปูดและไขตะกั่วหนาบางให้เห็น ดูมีมิติและดูนวลตา ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติตามอายุของแร่เงินและตะกั่ว

การเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติตามอายุเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นเป็นเรื่องธรรมชาติของโลหะแต่ละชนิด เดี๋ยวนี้พี่ๆ เพื่อนๆ เรียนรู้ได้ง่ายๆ นะครับ เพราะเดี๋ยวนี้มีรูปพระมเหศวรให้เรากดดูได้เยอะแยะ รูปไหนเนื้อตึง รูปไหนเนื้อแห้ง รูปไหนผิดธรรมชาติไม่มีออกไซด์ เราเรียนรู้ได้หมดครับ เรียนรู้ได้ทั้งพระและคนขายพระ วางชื่อเจ้าของพระ กับราคาที่เค้าโฆษณาไว้ไปก่อนนะครับ แล้วจะเรียนรู้ธรรมชาติขององค์พระได้ตามความเป็นจริง

เพราะฉะนั้น เวลาที่เราเห็นพระมเหศวรเนื้อชินเงิน อายุเกิน ๖๐๐ ปี ถ้าเป็นชินเงิน เนื้อตึงๆ ไม่มีออกไซด์คลุมผิว ก็คือผิดธรรมชาติ
ส่วนถ้าเป็นชินตะกั่ว หรือสนิมแดง เนื้อไม่กร่อน ไขไม่คลุม ก็ผิดธรรมชาติเช่นกัน
แต่อย่างที่บอกนะครับ ถ้าจะเก็บเผื่อไว้ขายร้านพระ ก็หาแบบที่เค้าสอน เก็บเนื้อเรียบๆ ตึงๆ ได้ แต่ถ้าจะหาพระแท้มีพุทธคุณไว้อาราธนาใช้ หาที่เป็นไปตามธรรมชาติ ตามอายุดีกว่าแน่นอนครับ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке