Inverter 3 มอเตอร์ 3 เฟส (In-Runner และ Out-Runner)

Описание к видео Inverter 3 มอเตอร์ 3 เฟส (In-Runner และ Out-Runner)

เมื่อพูดถึงระบบการควบคุมมอเตอร์ 3 เฟสหรือระบบอินเวอร์เตอร์ไปแล้ว เราก็จะมาพูดถึงเรื่องของตัวมอเตอร์ระบบอินเวอร์เตอร์หรือมอเตอร์ไฟ 3 เฟสกันต่อ
ลักษณะของมอเตอร์ธรรมดา 1 เฟสกับมอเตอร์(อินเวอร์เตอร์) 3 เฟส ถ้าดูรูปร่างเพียงภายนอกเราจะไม่ค่อยเห็นความแตกต่าง แต่ก็พอจะสังเกตได้ด้วยตาเปล่าได้บ้างนั่นก็คือ
มอเตอร์ 3 เฟสจะมีซ๊อกเกตสายไฟอยู่ 2 ชุด
... ชุดแรกจะเป็นไฟ (ความถี่) เข้ามอเตอร์ 3 เส้นลักษณะเส้นสายไฟจะใหญ่
... และซ๊อกเกตเล็กจะเป็นสายไฟเล็กเป็นทางออกของสัญญาณป้อนกลับไปยังแผงควบคุมหรือ MCU
ตัวมอเตอร์จะมีลักษณะตัวเล็กๆไม่ใหญ่มาก **** ถ้ากล่าวถึงมอเตอร์ของเครื่องซักผ้า และถ้าป็นคอมเพรสเซอร์ของตู้เย็นก็จะมีลักษณะที่เล็กกว่าปกติของคอมเพรสเซอร์ธรรมดา 1 เฟสโดยทั่วไป ****
และสิ่งที่แตกต่างกันที่เราไม่สามารถเห็นได้นั่นก็คือ ลักษณะการพันของขอลวดมอเตอร์ ก่อนอื่นก็ขอย้อนถึงพื้นฐานของมอเตอร์กันก่อนนั่นก็คือ มอเตอร์ทุกชนิดไม่ว่าจะธรรมดา 1 เฟสหรืออินเวอร์เตอร์ 3 เฟสจะประกอบด้วย
..... สเตเตอร์ Stater ขดลวดพันบนแกนเหล็กที่อยู่กับที่
..... โรเตอร์ Rotor ขดลวดพันบนแกน หรือแม่เหล็กถาวรเป็นส่วนที่เคลื่อนที่ได้
สิ่งที่น่าสนใจจะอยู่ตรงขดลวดสเตเตอร์นั่นก็คือ ขดลวดสเตเตอร์จะประกอบด้วยขดลวด 2 ขด นั่นก็คือ - ขดสตาร์ท Start เป็นขดที่เริ่มต้นการทำงานในครั้งแรกในการเริ่มต้น เมื่อหมุนได้ซักระยะหนึ่งก็จะส่งให้กับ...
ขดรัน Run เป็นชุดขดลวดที่ทำงานต่อจาอขดสตาร์ทและจะทำงานไปตลอด
แต่ในมอเตอร์หรือมอเตอร์-คอมเพรสเซอร์เราจะเห็นว่าจะมีหัวหลักอยู่ 3 หัวหลักเราได้รู้แล้วว่าสเตเตอร์มีขดสตาร์ทนั่นก็คือหัวหลัก S
ขดรันนั่นก็คือหัวหลัก R
และเมื่อเรานำปลายของขดลวดรัน และสตาร์ทมารวมกันก็จะได้หัวหลักรวมหรือ C นั่นเอง
แต่เมื่อมอเตอร์กลายเป็นมอเตอร์แบบไฟ 3 เฟสหรืออินเวอร์เตอร์ การพันขดลวดก็จะแตกต่างกันไปกับแบบเดิมนั่นหมายถึงว่า จะมีการพันขดลวดแบบพิเศษจำนวน 3 ขดซึ่งจะทำงานได้ด้วยความถี่หรือไฟ AC ที่ปรับค่าโวลท์และความถี่ได้โดยควบคุมการหมุนด้วยวงจรอิเลคโทรนิกคส์ที่เราเรียกว่าอินเวอร์เตอร์
..... เพราะฉะนั้น หัวหลักที่ออกมาจากมอเตอร์ หรือมอเตอร์คอมเพรสเซอร์เราจะไม่เรียกว่า C S R อีกต่อไป แต่จะกลายเป็น U V W แทนนั่นก็คือการเรียกแทนในระบบอินเวอร์เตอร์อีกเช่นกัน การทำงานคร่าวๆ วงจรที่ควบคุมจะกำหนดจ่ายแรงดันหรือความถี่แต่ละขดลวดให้มีความต่างกันที่มุมของกระแส 120 องศา หรือการกำหนด 2 อย่างคือความถี่ หรือที่เราเรียกอีกอย่างว่า “ พัลส์ Pulse” และสถานะปิดกับเปิด หรือที่เราเรียกว่า “ ลอจิก Logic “
หมายเหตุ ไว้จะกล่าวถึงเรื่องของ พัลส์ หรือ PWM ในการควบคุมมอเตอร์อินเวอร์เตอร์ต่อไป
และก็เช่นเคยนะครับ หวังว่าคลิปวีดีโอเรื่องเกี่ยวกับมอเตอร์ของไฟ 3 เฟส นี้คงเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจได้ไม่มากก็น้อย แต่ก็คงไม่เกินความสามารถของท่านไปได้
“ขอให้ความสำเร็จจงสถิตย์อยู่กับตัวท่าน”
สงสัยอย่างไร,ประการใด โทรถามได้ที่
มือถือ 084-666-3328 โทรได้ตลอด ถ้าสะดวกจะรับสาย ถ้าไม่ได้
รับก็เพียรพยายามอีกนิด..เว้นช่วงและโทรเอาใหม่นะครับ จะไม่
โทรกลับสำหรับกรณีปรึกษา
ID Line ssc-services เป็นวิธีที่สะดวกสุด กดเป็นเพื่อนก่อนกดแจ้งมาก่อนว่า ID Line ของท่านชื่ออะไร เราจะได้กดรับ ถ้าไม่กดรับเราจะติดต่อกันไม่ได้ ใช้สำหรับส่งข้อมูลภาพ,วีดีโอ อาการของเครื่องที่ต้องการปรึกษา
“ขอให้ความรู้จงสถิตอยู่กับตัวท่าน”
และกราบขอบพระคุณที่ติดตามและรับชม...สวัสดี
นายพสิษฐ์ ชัยสนองพัฒน์
10/2/2564 เวลา 19.10น.

Комментарии

Информация по комментариям в разработке