สยามรั้งกัมพูชาไว้ไม่อยู่เพราะเหตุใด..? การเสียดินแดนครั้งที่ 7

Описание к видео สยามรั้งกัมพูชาไว้ไม่อยู่เพราะเหตุใด..? การเสียดินแดนครั้งที่ 7

สยามรั้งกัมพูชาไว้ไม่อยู่เพราะเหตุใด การเสียดินแดนครั้งที่ 7 เขมรและเกาะ 6 เกาะ
วันที่ 15 กรกฎาคม เมื่อ 151 ปีที่แล้ว นั้นคือปี พ.ศ.2410 ในสมัยรัชกาลที่ 4 สยามต้องสูญเสียเขมรและเกาะ 6 เกาะ พื้นที่ 124,000 ตร.กม.ให้แก่ฝรั่งเศส
เนื่องจากไทยกับญวนทำสงครามเพื่อแย่งชิงเขมรส่วนนอกกันมานานหลายปี สงครามครั้งนั้นเรียกว่า อานามสยามยุทธ สู้รบกันอยู่นานหลายสิบปีจนมีการสงบศึกกัน โดยตกลงกันว่าจะให้เขมรเป็นประเทศราชของสยามต่อไป แต่ก็ต้องส่งบรรณาการไปให้ญวนเสมือนประเทศราชของญวนด้วย (แต่ไทยมีสิทธิ์ในการสถาปนากษัตริย์เขมรดั่งเดิม)
ต่อมารัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนากษัตริย์แห่งเขมร โดยให้ นักองด้วง ขึ้นครองราชย์ เป็นสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี หรือสมเด็จพระหริรักษ์รามสุริยะมหาอิศวรอดิภาพ ในปี 2397 เขมรได้แอบส่งสารลับไปยังฝรั่งเศส โดยขอให้ฝรั่งเศสช่วยกู้ดินแดนที่เสียให้ญวณได้กลับมาอยู่กับเขมรอีกครั้ง และมาช่วยคุ้มครองเขมรให้พ้นจากทั้งอำนาจของสยามและญวน แต่การติดต่อระหว่างฝรั่งเศสและกัมพูชาครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อคณะทูตของมงติญี กงสุลฝรั่งเศสประจำเซี่ยงไฮ้เข้ามาทำสนธิสัญญากับไทยแบบเดียวกับสนธิสัญญาเบาว์ริงของอังกฤษเมื่อ พ.ศ.2399
เมื่อเดินทางออกจากไทย มงติญีได้เดินทางต่อไปยังกัมพูชา แต่นักองค์ด้วงกษัตริย์ในกัมพูชาขณะนั้นตอบว่ากัมพูชาเป็นเมืองน้อยไม่อาจทำสัญญาได้ตามลำพัง ต้องปรึกษาสยามก่อน คณะทูตของมงติญีจึงเดินทางต่อไปยังราชสำนักเว้ของเวียดนาม
อย่างไรก็ตาม หลังจากคณะทูตของมงตีญีกลับไปไม่นาน นักองค์ด้วงได้ส่งหนังสือไปยังกงสุลฝรั่งเศสของสิงคโปร์เมื่อ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2399 เพื่อนำไปถวายพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ของฝรั่งเศส เพื่อขอให้ฝรั่งเศสช่วยคุ้มครองกัมพูชาให้พ้นจากอำนาจของสยามและเวียดนาม
แต่ไม่กี่ปีถัดมาสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดีก็เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ นักองราชาวดี หรือสมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ ขึ้นเป็นกษัตริย์เขมรองค์ต่อไป หลังจากที่โดนน้องชายอย่างพระสีวัตถาและลุงคือ สนองสู จ้องและได้ทำการแย่งบัลลังก์
แต่ด้วยความช่วยเหลือจากทางสยามจึงได้ครองราชย์สำเร็จ ในช่วงก่อนปี 2406 นั้น ฝรั่งเศสได้เข้ามามีอำนาจในดินแดนแถบอินโดจีนหรือญวนมากขึ้น และได้เข้ามาบีบบังคับโดยใช้กำลังทั้งทางกองเรือและทางการทูตให้สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ยอมให้อำนาจแก่ฝรั่งเศส ในการเข้ามาปกครองและให้เขมรเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศสและพระองค์ยังคงเป็นกษัตริย์อยู่

และได้ทำสัญญากันในปี 2406 ฝรั่งเศสเข้ามาเอาผลประโยชน์โดยเอาเปรียบทางการค้าไทย และต้องการดินแดนเพื่อเข้าไปใกล้กับแม่น้ำโขงเพราะต้องการจะล่องเรือเข้าไปยังจีนผ่านทางนั้น
เมื่อรู้ว่า #ไทย ได้ทำสัญญาลับกับเขมรว่าดินแดนเขมรส่วนนอกยังเป็นของไทยไม่ใช่ของ #ฝรั่งเศส ทางฝรั่งเศสจึงยื่นคำขาดกับไทยให้ยกเลิกสัญญาฉบับนั้นและยอมสละดินแดนเขมรส่วนนอกให้ฝรั่งเศสเสีย ฝรั่งเศสจึงได้ส่งกองเรือเข้ามาประชิดเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อข่มขู่สยามหลายครั้ง
หลังจากที่ฝรั่งเศสดำเนินนโยบายแข็งกร้าวในการยึดครองดินแดนเวียดนาม พลเรือเอก เดอ ลากรองดิแยร์ ข้าหลวงอินโดจีนฝรั่งเศสได้เข้ามาติดต่อกัมพูชาอีกครั้ง เพื่อให้กัมพูชาเป็นดินแดนในอารักขาของฝรั่งเศส
นักองค์ราชาวดีได้ตกลงใจทำสนธิสัญญาดังกล่าว หลังจากการลงนามในสนธิสัญญาเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ.2406 นักองค์ราชาวดีได้ทำหนังสือกราบทูลรัชกาลที่ 4 ว่าถูกฝรั่งเศสบังคับให้ทำสัญญา
สยามได้พยายามรักษาสิทธิของตนเหนือกัมพูชาโดยทำสนธิสัญญาลับสยาม-กัมพูชา เมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ.2406 เพื่อยืนยันสิทธิของสยามเหนือกัมพูชา พระนโรดมยินยอมลงนามในสนธิสัญญานี้เช่นกัน
การเสียดินแดนในประวัติศาสตร์ไทย: บทเรียนที่ไม่ควรลืม”
“ความสำคัญของอธิปไตย: เรียนรู้จากการเสียดินแดนครั้งที่ 7”
“ชาติและอธิปไตย: สอนใจจากเหตุการณ์ในอดีต”
“การสร้างความรักชาติผ่านบทเรียนประวัติศาสตร์”
“เสียดินแดน: บทเรียนที่ต้องจำเพื่ออนาคต”
เสียดินแดน, อธิปไตย, ประวัติศาสตร์ไทย, บทเรียนประวัติศาสตร์, ความรักชาติ, ความมั่นคง, สอนใจ, เอกภาพ, ความสามัคคี, การเมือง, การทูต, การพัฒนาชาติ, ความสูญเสีย, ความภูมิใจ, ประชาชน, ชาติ, อนาคต, ประชาธิปไตย, เรียนรู้จากอดีต, การสร้าง
อานามสยามยุทธ: จุดเริ่มต้นของการสูญเสียเขมรให้ฝรั่งเศส
รอยร้าวแห่งประวัติศาสตร์: การสูญเสียเขมรและเกาะ 6 เกาะให้แก่ฝรั่งเศส
สยาม-ฝรั่งเศส: เบื้องหลังการเสียดินแดนครั้งใหญ่สมัยรัชกาลที่ 4
#สยาม , #เขมร , เกาะ 6 เกาะ, เสียดินแดน, รัชกาลที่4, ฝรั่งเศส, อานามสยามยุทธ, สงครามสยาม, เสียดินแดนครั้งที่ 7, นักองด้วง, สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี, การปกครองเขมร, ประวัติศาสตร์สยาม, การสูญเสียดินแดน, ฝรั่งเศสในอินโดจีน, การเมืองฝรั่งเศส, สนธิสัญญา, กษัตริย์เขมร, #กัมพูชา , สงครามฝรั่งเศส, ราชสำนักสยาม, ประวัติศาสตร์เขมร, ญวน, นักองราชาวดี, เวียดนาม, อำนาจฝรั่งเศส, ความขัดแย้งสยาม-ฝรั่งเศส, สยามกัมพูชา, ฝรั่งเศสคุกคาม, เขมรส่วนนอก, สงครามอินโดจีน, ราชสำนักเขมร, การล่าอาณานิคม,ฝรั่งเศส, สนธิสัญญาลับ, เกาะในอารักขาฝรั่งเศส, สยามสมัยรัชกาลที่ 4, เสียเขมร, สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส, การสูญเสียดินแดนครั้งใหญ่, กษัตริย์นโรดม, พระนโรดมพรหมบริรักษ์, อิทธิพลฝรั่งเศส, ประวัติศาสตร์การล่าอาณานิคม, การเสียดินแดนให้ฝรั่งเศส, ข้อตกลงสยาม-ฝรั่งเศส, ความขัดแย้งทางการทูต, การเจรจา,ระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส, อำนาจใน,อินโดจีน
#เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ #ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке