พระพุทธรูปแห่งบามียันรวมประวัติและเรื่องพระพุทธรูปถูกทำลายโดยตอลิบานและนำพระธรรมเจดีย์มาสู่ประเทศไทย

Описание к видео พระพุทธรูปแห่งบามียันรวมประวัติและเรื่องพระพุทธรูปถูกทำลายโดยตอลิบานและนำพระธรรมเจดีย์มาสู่ประเทศไทย

00:00 ประวัติพระพุทธรูปแห่งบามียัน
21:53 พระพุทธรูปแห่งบางมามียันต์กลับมาอีกครั้ง
36:47 พระธรรมเจดีย์ที่เก่าแก่ที่สุดของโลกจากถ้ำบาบิยันสู่ประเทศไทย
#พระพุทธรูปแห่งบามียัน
พระพุทธรูปแห่ง #บามียัน หมายถึง อดีตพระพุทธรูปอายุราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 ขนาดใหญ่ที่สร้างฝังเข้าไปในหน้าผา ตั้งอยู่ในจังหวัดบามียัน
-บามียัน เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศอัฟกานิสถาน มีเมืองหลักคือบามียันตามชื่อจังหวัด มีประชากรราว 495,557คน
ในอดีตพื้นที่จังหวัดบามียันถูกปกครองโดยจักรวรรดิมีดซ์ ก่อนตกอยู่ในการปกครองของจักรวรรดิ\อะคีเมนิด ต่อมาในปี 330 ปีก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้เข้ายึดบริเวณนี้แต่ได้ละทิ้งไป ภายหลังจักรวรรดิเซลูซิดจึงเข้ามาปกครองต่อ ขณะนั้นพื้นที่ทางตอนใต้ของเทือกเขาฮินดูกูซ ได้มีการเผยแผ่ศาสนาพุทธจากราชวงศ์เมารยะเข้ามา
จังหวัดบามียัน ตั้งอยู่ในหุบเขาบามียัน ซึ่งมีแม่น้ำหล่อเลี้ยงประชาชน ด้านหนึ่งเป็นเขา ด้านหนึ่งเป็นหน้าผาสูงชันสลักเป็นพระยืน สภาพแวดล้อมของหุบเขา รายล้อมไปด้วยความแห้งแล้ง แต่ที่แห่งนี้อุดมไปด้วยทุ่งหญ้าและน้ำ ปัจจุบันเมืองบามียัน ใช่แต่เป็นสถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการสู้รบเท่านั้น แต่มีความสำคัญเพราะเป็นสถานที่ที่มีโบราณสถานอีกทั้งโบราณวัตถุและร่องรอยประวัติศาสตร์ทางสังคมและศาสนาจำนวนมากอีกแห่งหนึ่ง ที่กลุ่มนักอนุรักษ์วัตถุทางโบราณคดีในปัจจุบันให้ความสนใจ

จังหวัดบามียันทางตอนกลางของประเทศ #อัฟกานิสถาน ราว 130 กิโลเมตร (81 ไมล์) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงคาบูล และตั้งอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 2,500 เมตร (8,200 ฟุต) โดยพระพุทธรูปสององค์เป็นของพระไวโรจนพุทธะ
- พระไวโรจนพุทธะ[1]เป็นพระธยานิพุทธะ 1 ใน 5 องค์ ของนิกายวัชรยันและนิกายมหายัน ทรงเป็นประธานของพระพุทธะทั้ง 5 หมายถึงปัญญาอันสูงสุด ตราประจำพระองค์เป็นธรรมจักร หมายถึง ความเป็นหนึ่ง พระกายเป็นแสงสว่าง มักแทนด้วยสีขาว ตำแหน่งในพุทธมณฑลจะอยู่ตรงกลางโดยมีพุทธะอีก 4 องค์ห้อมล้อม พระโพธิสัตว์ในกลุ่มของท่านที่สำคัญมี 2 องค์ คือ พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ และพระมัญชุศรีโพธิสัตว์
ความเชื่อ
พระองค์ได้รับการเคารพนับถือจากชาวพุทธทั้งในตะวันออกไกล เนปาล ทิเบต และชวา ชาวพุทธจำนวนมากยกย่องให้เป็นอาทิพุทธะหรือพระพุทธเจ้าองค์ปฐม ความเชื่อเกี่ยวกับพระไวโรนะพุทธะปรากฏตั้งแต่ครั้งยุคมหายันและจรยาตันตระ พระสูตรที่กล่าวถึงพระองค์มีหลายฉบับเช่น
• มหาไวโรจนสูตร ยกให้พระองค์เป็นศูนย์กลางมณฑล เป็นตัวแทนของความจริงสากล
• อวตังสกสูตร ที่มีรากฐานมาจากคัณฑวยูหสูตรและทศภูมิกสูตร กล่าวไว้ว่าพระไวโรจนะพุทธะเป็นพระพุทธเจ้าในโลกแห่งแสงสว่าง เหมาะกับผู้ที่ต้องการความหลุดพ้นในปัจจุบัน
ในคัมภีร์มรณศาสตร์ของทิเบตกล่าวว่าพระองค์จะปรากฏตัวในวันแรกของบาร์โดพร้อมกับแสงสีคราม
และ พระศากยมุนี
- พระศากยมุนี พระโคตมพุทธเจ้า โค-ตะ-มะ มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทฺธตฺถ โคตม เป็น #พระพุทธเจ้า พระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า)[1]
คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายันบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงประสูติ 623 ปี ก่อนคริสต์ศักราช พระองค์ทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล

พระพุทธรูปสององค์ซึ่งพิจารณาได้จากมุทรา
มุทราในศาสนาพุทธมักปรากฏเป็นปางต่าง ๆ ของพระพุทธรูป โดยแต่ละปางจะมีอิริยาบถและท่ามือแตกต่างกันไป ทั้งประวัติความเป็นมาของแต่ละปางก็มีที่มาจากพุทธประวัติ
มุทราที่ต่างกันจากการตรวจอายุคาร์บอนพบว่า องค์โตหรือองค์ ตะวันตก" ที่สูง 55 เมตรสร้างขึ้นในราว ค.ศ. 591-644 และองค์น้อยหรือองค์ ตะวันออก" สูง 38 เมตร สร้างขึ้นในราว ค.ศ. 544-595
พุทธศิลป์แสดงวิวัฒนาการยุคหลังจากรูปแบบผสมผสานดั้งเดิมของศิลปะคันธาระ ชาวท้องถิ่นเรียกพระพุทธรูปองค์โตว่า ซาลซาล (Salsal; "แสงซึ่งส่องไปทั่วเอกภพ") และองค์เล็กว่า ชามามา (Shamama; "พระมารดาราชินี") ตัวองค์หลักของพระพุทธรูปสร้างขึ้นโดยการขุดเจาะเข้าไปในผาหินทรายโดยตรง ส่วนรายละเอียดย่อย ๆ ที่ตกแต่งสร้างขึ้นจากการผสมดินเหนียวกับฟาง ฉาบด้วยสตักโค และตกแต่งด้วยสีสันซึ่งแสดงรายละเอียดพระพักตร์ หัตถ์ และรอบพับบนจีวร แต่สีที่มีนี้จางหายไปตามกาลเวลา องค์โตถูกทาด้วยสีแดงคาร์มีน และองค์เล็กทาด้วยสีต่าง ๆ หลายสี ท่อนล่างของพระกรของพระพุทธรูปสร้างขึ้นจากดินเหนียวผสมฟางประกอบโครงที่ทำจากไม้ ส่วนท่อนบนของพระพักตร์เชื่อว่าสร้างขึ้นจากไม้ แถวของหลุมและรูที่ปรากฏโดยรอบมีไว้ปักแท่งไม้ที่ช่วยยึดสตักโคชั้นนอก
นอกจากองค์พระพุทธรูปแล้ว ในบริเวณโดยรอบยังรายล้อมด้วยถ้ำและพื้นผิวที่ล้วนตกแต่งด้วยจิตรกรรม[7] เชื่อกันว่ายุครุ่งเรืองสูงสุดทางพุทธศาสนาของบริเวณนี้คือระหว่างคริสต์ศตวรรษที่หกถึงแปด จนกระทั่งถูกมุสลิมเข้ายึดครอง[7] รูปแบบศิลปะที่พบนั้นเข้าใจว่าเป็นศิลปะในศาสนาพุทธ และศิลปะคุปตะจากอินเดีย ผสมผสานอิทธิพลจากซาสซานิกและบีแซนทีน รวมถึงอิทธิพลแบบมณฑลโตคาริสตาน[7]

เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке