บทร้องเพลงเต่าเห่ ชุด “เย็นย่ำ” (ตับเย็นย่ำ)

Описание к видео บทร้องเพลงเต่าเห่ ชุด “เย็นย่ำ” (ตับเย็นย่ำ)

บทร้องเพลงเต่าเห่ ชุด “เย็นย่ำ” (ตับเย็นย่ำ)
(เต่าเห่-สาวคำ-เพลงเร็ว-เขมรทุบมะพร้าว-ลา)

ประวัติเพลง
เพลงเต่าเห่ อัตรา 2 ชั้น เป็นทำนองของเก่ามีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ประเภท
หน้าทับปรบไก่ บรรจุอยู่ในเพลงช้าเรื่องเต่ากินผักบุ้ง ในลำดับที่ 2 เพลงนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ กับหลวงเสนาะดุริยางค์ (ทองดี
ทองพิรุฬห์) ได้ร่วมกันปรับปรุงเข้าไว้ในบทคอนเสิร์ตเรื่องนางลอย ขับร้องและบรรเลงลำลองพร้อมกันไปทำให้เกิดรสน่าฟังขึ้นมาก ที่เรียกว่าเต่าเห่ ก็ด้วยมีผู้นำมาร้องแล้วแทรกเห่ต่อท้าย อย่างเห่เรือเข้าไปด้วยนั่นเอง โดยทำเป็นสร้อยทำนองให้ผู้ขับร้องเห่สอดปี่พาทย์ ประสานกันคนละแนว จึงมีผู้นิยมนำไปใช้เพื่อผลในการขับร้องบรรเลง และประกอบการแสดงนาฏศิลป์อย่างหลากหลาย

บทร้องเพลงเต่าเห่ บท “เย็นย่ำ” ที่นิยมใช้ประกอบการบรรเลงแต่เดิมนั้น สมเด็จฯ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายว่าเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นัยว่าทรงพระราชนิพนธ์เป็นคำพูดของสาวชาววังอ้างถึงท้าวศรีสัจจา (มิ) ผู้มีสิทธิ์ขาดในงานว่าราชการต่างพระเนตรพระกรรณ ที่ทำงานของท่านอยู่ใกล้กับประตูดิน มีเกียรติคุณยิ่งกว่าท้าวนางอื่น ๆ จึงได้ฉายาว่า “เจ้าคุณประตูดิน” นอกจากนี้ ในบันทึกความรู้เรื่องต่าง ๆ ลายพระหัตถ์ลงวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2480 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงอธิบายมูลเหตุของบทพระราชนิพนธ์ “เย็นย่ำ” ที่นำมาบรรเลงและขับร้องด้วยเพลงเต่าเห่ไว้ว่า
เจ้าพระยาเทเวศร์เป็นผู้รู้สึกราคาญหูก่อน ท่านจึงคิดจัดร้องเพลงช้าบทเย็นย่ำ ให้เป็นลาเต่ากินผักบุ้ง และบังคับให้ปี่พาทย์ทำเพลงช้าด้วยเพลงเต่ากินผักบุ้งเช่นกัน จึงฟังกลมกลืนเข้ากันดี หายรกหู คนชอบ จึงจำเอามาเล่นกันจนทุกวันนี้.. ส่วนเพลงเร็วต่อท้ายซึ่งร้องบทรักเจ้าสาวคำนั้น จะตอนมาแต่เมื่อไร และมีชื่ออย่างไรหาได้ทราบไม่ เรียกกันแต่ว่าเพลงสาวคำตามบทร้องนั้นเอง
บทขับร้องเพลงเต่าเห่นี้ เมื่อเกิดความนิยมขึ้นจึงได้มีผู้คิดนาเพลงมาบรรเลงและขับร้องต่อท้ายเพิ่มเติมจากเพลงประธาน อาทิ เพลงสาวคำ บทร้องของเก่าไม่ทราบนามผู้แต่ง เพลงเร็ว จากบทพระราชนิพนธ์ “เงาะป่า” ตอนที่นางกอยสาวเข้ากระบวนฟ้อนรำในพิธีแต่งงานของนางลาหับกับฮเนา เพลงออกภาษาเขมรทุบมะพร้าว หรือ “สาวสุดสวย” อัตรา 2 ชั้น เป็นต้น ได้ใช้เป็นแบบฉบับการบรรเลงในหมู่นักดนตรีสืบมา เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ตับเย็นย่ำ”

สำหรับการบรรเลงครั้งนี้ ประกอบด้วยเพลงจำนวน 5 เพลง คือ เต่าเห่ สาวคำ เพลงเร็ว
แม่วอนลูก-ลูกวอนแม่ เขมรทุบมะพร้าว (สาวสุดสวย) และบรรเลงปิดท้ายด้วยเพลงลา ซึ่งได้มีการเรียบเรียงการบรรเลงรับ-ส่งร้องเพื่อให้เกิดสุนทรียรสตามแบบฉบับของวงเครื่องสายผสมออร์แกนและขิม พร้อมทั้งปรับปรุงคาร้องและวิธีการขับร้องแบบต้นบท-ลูกคู่ พร้อมทั้งการขับร้องหมู่สอดสลับกันไป เพื่อเพิ่มลีลาและอรรถรสในการรับฟังบทเพลงยิ่งขึ้น

--------------------------

รายนามนักดนตรี

อุดม ชุ่มพุดซา - โทน-รำมะนา
วรพล มาสแสงสว่าง - ออร์แกน, โทน-รำมะนา
จาตุรงค์ จันทภาโส - ซอด้วง
อ.กันต์ อัศวเสนา - ซออู้
ผศ.ดร.ปาณิศรา เผือกแห้ว - ขลุ่ยเพียงออ
ดลภทร จันทร์วรานนท์ - ขิม
สุพจน์ สำราญจิตต์ - ฉิ่ง
อ.ขจรศิษฎ์ ชุมพร - ตะโพน
ธนายุทธ กาญจนานุช - กลองตะโพน
อ.ชัยทัต โสพระขรรค์ - ขับร้อง, โทน-รำมะนา
อ.ธนรัฐ อยู่สุขเจริญ - ขับร้อง, ฉิ่ง, โหม่ง
ส.ต.ท.หญิง อนุสรา ดีชัยชนะ - ขับร้อง
จณิสตา เสียมกระโทก - ขับร้อง, โหม่ง
ศิวกร มานุมูลัด - ขับร้อง, โหม่ง

นักดนตรีกิตติมศักดิ์
ครูวรยศ ศุขสายชล - ซอด้วง
ครูประสิทธิ์ คุ้มทรัพย์ - ออร์แกน
ผศ.ดร.จตุพร สีม่วง - ขับร้อง

ดำเนินรายการโดย
อ. พิชชาณัฐ ตู้จินดา

--------------------------

ฟังดนตรีที่จุฬาฯ
ศุกร์แรกของเดือน
จุฬาวาทิต ครั้งที่ ๒๑๔

วัชโรดม
วงเครื่องสายผสมออร์แกนและขิม

วันศุกร์ที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓

เวลา ๑๘.๐๐ น.

ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ขอขอบคุณข้อมูลเพลงจาก สูจิบัตร จุฬาวาทิต ครั้งที่ ๒๑๔
โดย สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

-----------------------------------------

Комментарии

Информация по комментариям в разработке