ตามหา "เสียมกุก" บนกำแพงปราสาทนครวัด พวกเขาคือใคร ? มาจากไหนกันแน่ ? I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.238

Описание к видео ตามหา "เสียมกุก" บนกำแพงปราสาทนครวัด พวกเขาคือใคร ? มาจากไหนกันแน่ ? I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.238

“นี่ เสียมกุก” จนถึงวันนี้ผ่านมามาครบ 120 ปีแล้ว แต่คำเพียง 3 คำ จากภาพสลักนูนต่ำบนระเบียงปราสาทนครวัด ยังคงเป็นตำนานแห่งการถกเถียงกันว่า จริง ๆแล้ว พวกเขาคือใครกันแน่ ?
แม้จะมีความพยายามถอดคำปริศนา “เสียมกุก” มายาวนาน แต่กลับยังไม่มีข้อสรุป ขณะที่มีหลักฐานประเภทจารึกที่กล่าวถึงชื่อ “เสียม” เอาไว้หลายแห่ง ก่อนการสร้างปราสาทนครวัดนานหลายร้อยปี โดยสามารถย้อนกลับไปได้ถึงสมัยก่อนเมืองพระนคร
เช่น ใน “จารึกตวลวัดกุมนู” หรือจารึก K 557 – K600 จารึกที่ปรากฏศักราชเก่าแก่ที่สุดในบรรดาจารึกเกี่ยวกับกัมพูชาโบราณ พบคำว่า “กุ เสียมโป” เป็นข้าทาสหญิงชาวเสียมที่ถูกอุทิศให้เป็นข้ารับใช้เทวสถาน นับเป็นหลักฐานที่ปรากฏชื่อเสียมที่เก่าแก่ที่สุดตั้งแต่ยุคก่อนเมืองพระนคร
ชื่อ “เสียม” ยังมีปรากฏอยู่ใน "จารึกลงแวก" อายุราว พศว.ที่ 12 เก่าแก่พอ ๆ กับจารึกตวลวัดกุมนู พบที่ จ.กำปงชนัง ทางตอนกลางของกัมพูชา ความน่าสนใจอยู่ที่การปรากฏชื่อข้าทาสเสียมจำนวน 2 แห่ง ในชื่อเรียก “เสียมมรตาญ” และ “เสียมภรู”
ชื่อ “เสียม” มิได้ปรากฏเฉพาะเพียงในจารึกเขมรโบราณที่พบในปริมณฑลประเทศกัมพูชาทุกวันนี้เท่านั้น หากแต่ชื่อ “เสียม” ยังปรากฏอยู่ในดินแดนอาณาจักรจามปาโบราณในประเทศเวียดนาม
เช่น จารึกกรอบประตูที่ปราสาทโปกลองการาย เมืองฟานซาง ระบุปีสร้าง พ.ศ. 1744 มีชื่อกลุ่มคนที่ถูกถวายเป็นข้าทาสแด่เทวสถาน เช่น ชาวสิงหปุระ กัมวุช หรือ กัมพูชา ปุกำ หรือ พุกาม ตามด้วย สฺยํ หรือ เสียม
นอกจากนี้ “เสียม” ยังปรากฏชื่ออยู่ในเอกสารจีนอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของหลักฐานที่ยืนยันว่า “เสียม” เป็นกลุ่มคนที่กระจัดกระจายอยู่ในหลายแห่ง ต่างสถานที่ และต่างเวลากันเรื่อยมาในทางประวัติศาสตร์
จากแนวคิดเดิมที่เคยถูกเสนอโดยกลุ่มนักวิชาการในอดีตว่า “เสียมกุก” อาจเป็นเสียมที่มาจาก "สุโขทัย" , เสียมจาก "ลุ่มน้ำกก" ที่เชียงแสน , เสียมจาก "อีสานใต้" หรืออาจเป็นเสียมจาก "รัฐศรีโคตรบูรณ์" แต่วันนี้ “เสียมกุก” ได้รับการตีความใหม่อีกครั้ง ด้วยการขยายเพดานความคิดทางวิชาการออกไปให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ผ่านมุมมองของนักประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบัน
ผศ.ดร.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เชื่อว่า “เสียมกุก” อาจเป็นเสียมจากละโว้ ตามที่เอกสารจีนได้ให้ร่องรอยไว้
รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล คณะมนุษยศาสตร์ ม. รามคำแหง เชื่อว่า “เสียมกุก” คือเสียมจากสุพรรณภูมิ ที่ต่อมาได้รวมเข้ากับละโว้ ตามที่เอกสารจีนเรียกว่า “เสียนหลอ”
ขณะที่ ผศ.ดร.กังวล คัชชิมา คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร อ้างอิง "จารึกพนมอักษา" ที่ร่วมสมัยกับภาพสลักเสียมกุกที่ปราสาทนครวัด โดยเชื่อว่า “เสียมกุก” อาจเป็นกลุ่มเสียมที่อยู่ไม่ไกลจากเมืองพระนครขึ้นไปทางเหนือ จนถึงแถบเทือกเขาพนมดงรัก
ขอเชิญออกร่วมเดินทางไปบนเส้นทางของการแสวงหาคำตอบว่า “เสียมกุก” คือใคร ? กับประวัติศาสตร์นอกตำรา ตอน "เสียมกุก เปิดหลักฐานใหม่ ปริศนาปราสาทนครวัด"

Комментарии

Информация по комментариям в разработке