doo dee dee51 I ถ้ำหลวงแม่สาบ Mae Sap Cave I Unseen Thailand I ผนัง-เพดานถ้ำสีรุ้ง Rainbow cave I

Описание к видео doo dee dee51 I ถ้ำหลวงแม่สาบ Mae Sap Cave I Unseen Thailand I ผนัง-เพดานถ้ำสีรุ้ง Rainbow cave I

ถ้ำหลวงแม่สาบ Mae Sap Cave
Unseen Thailand Rainbow cave ถ้ำสีรุ้ง
ที่ตั้ง บ้านแม่สาบ หมู่ที่ 1 ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติขุนขาน โทร 052000410 0818837800
Samoeng District, Chiang Mai, Thailand
Colorful walls of the cave are so beautiful and amazing
เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น.
แผนที่ map
https://goo.gl/maps/yVEEVMyp6f2tPUSK8
ค่าค่าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ต่างชาติ ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท
มีไฟฉายติดหมวกให้บริการฟรีคนละ 1 ชุด (ทุกคนต้องใส่เพื่อป้องกัน)
ไฟสว่างนำทางข้างในถำ้เป็นแบบอัตโนมัติเมื่อเราเดินผ่าน (มีเฉพาะบางจุด) ในถ้ำสายรุ้ง ถ้ำอุโบสถ ถ้ำเพชร ถ้ำมรกต ไม่มี ต้องใช้ไฟฉายติดหมวกเป็น หลัก แนะนำให้หาไฟฉายติดมือไปจากบ้านอีก 2-3 ชุด เอาไว้ส่องแสงสว่างผนังถ้ำในมุมต่างๆ ตอนที่เราถ่ายรูป ภาพที่ออกมาจะสวยกว่ามีแสงสว่างน้อย เพราะในถ้ำมืดมาก
ค่าเข้ารถยนต์ 30 บาท จยย. 20 บาท
"ถ้ำหลวงแม่สาบ" ได้ชื่อว่า Unseen Thailand ถ้ำสีรุ้ง ผนังถ้ำเต็มไปด้วย สีสัน ริ้วรอย ที่งดงาม เรียงตัวเป็นชั้นๆ เหมือนจิตกรรมลายเส้นสีรุ้ง ที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมาเอง เป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจของนักท่องเที่ยวที่ได้มาพบเห็น ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีสำนักสงฆ์ไปตั้งที่อยู่บริเวณปากถ้ำอุโบสถ ด้วยแต่ทางอุทยานแห่งชาติขุนขาน เกรงว่าจะเกิดความเสียหายกับธรรมชาติ จึงให้ทางสำนักสงฆ์ย้ายออกไป ตัวถ้ำตั้งอยู่ห่างจากเมืองเชียงใหม่ 50 กม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชม. โดยใช้เส้นทาง ถนนสายสะเมิง-บ่อแก้ว-กัลยานิวัฒนา หรือ ทางหลวงหมายเลข 1349 ถนน
ถ้ำหลวงแม่สาบ มีอยู่ 2 โซน
โซนแรกตรงไป มี 2 ถ้ำ ถ้ำสายรุ้ง และถ้ำพระอุโบสถ
โซนสองเลี้ยวไปทางขวา มี 2 ถ้ำ ถ้ำมรกต และถ้ำเพชร
เนื่องจากถ้ำปกติทั่ว ๆ ไป มักจะมีหินงอกหินย้อย แต่โถงถ้ำแห่งนี้กลับเต็มไปด้วย “กุมภลักษณ์กลับหัว” มีลักษณะคล้ายโดมหรือหลุมซ้อนทับและต่อเนื่องกันไป ทั้งในส่วนของผนังและบนเพดานถ้ำ
กุมภลักษณ์กลับหัว มีลักษณะการเกิดเหมือนหลุม “กุมภลักษณ์” หรือ “โบก” ในภาษาอีสาน ซึ่งพบเห็นตามลานน้ำตก ลานหิน หรือในแม่น้ำทั่วไป (ที่มีชื่อเสียงคือสามพันโบกที่จังหวัดอุบลราชธานี) แต่ต่างกันตรงที่กุมภลักษณ์กลับหัวแทนที่จะเป็นหลุมในแนวราบเหมือนหลุม กุมภลักษณ์ตามพื้นหิน แต่นี่กลับเป็นหลุมร่องลึกเว้าเขาไปตามผนังหรือเพดานถ้ำ ทางเข้าถ้ำช่วงแรกเป็นอุโมงค์เล็ก ๆ แคบ ๆ
ดร.ชัยพร สิริพรไพบูลย์ ที่ปรึกษาของกรมทรัพยากรธรณี และผู้เชี่ยวชาญเรื่องถ้ำของประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดกุมภลักษณ์กลับหัว และม่านสีรุ้งที่ถ้ำหลวงแม่สาบ ว่า
“กุมภลักษณ์ หรือ โบก ในภาษาอีสาน ก็คือ หลุมที่พบบริเวณพื้นท้องน้ำหรือน้ำตกที่เป็นหิน และบริเวณที่มีทางน้ำไหลเชี่ยว จะเห็นเป็นรูขนาดต่าง ๆ กัน ซึ่งเกิดจากการขัดสีของก้อนกรวดหรือเม็ดทราย ที่อยู่ในแอ่งหรือร่องบนพื้นหิน เมื่อมีน้ำเชี่ยวไหลผ่านมาจนพาให้ก้อนกรวดเกิดการหมุนวน กรวดเหล่านี้ก็จะเกิดการขัดสีกับหินที่มันไปขังอยู่
เมื่อเวลาผ่านไปนานมากขึ้น หินที่พื้นท้องน้ำจะถูกกัดกร่อน จนเป็นหลุมในแนวดิ่ง ผนังของหลุมก็กร่อนไปโดยรอบ ทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และมีความลึกมากกว่าเดิม ซึ่งที่เห็นได้โดยทั่วไป มักจะพบว่าที่ก้นหลุม จะมีขนาดกว้างกว่าปากหลุม รูปร่างมีทั้งทรงกลม ทรงรี
ภายในถ้ำ ไม่ว่าจะเป็นถ้ำหินปูน หรือถ้ำหินทราย ก็อาจจะมีกุมภลักษณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณเพดานถ้ำ และผนังถ้ำ ทำให้เห็นเป็นรูกลวงในแนวดิ่งบนเพดานถ้ำ กลายเป็นกุมภลักษณ์กลับหัว ซึ่งในบางถ้ำจะดูคล้ายรูปโดม หรือเป็นร่องยาวหลายร่องที่เพดานถ้ำ”
การเกิดกุมภลักษณ์กลับหัวนั้น มีทฤษฎีการเกิดที่เรียกว่า Anastomosis(อนาสโตโมซิส) ซึ่งเป็นกระบวนการเกิดถ้ำที่เป็นถ้ำธารลอด โดยจะเกิดขึ้นในระยะแรก ๆ ของการพัฒนาโถงถ้ำ เรียกว่า อะนาสโตโมสิส (Anastomosis) คือเมื่อมีน้ำไหลผ่านช่องว่างของชั้นหิน (bedding plane) หรือรอยแตกของหิน จะเกิดการละลาย และการกร่อนในโพรงที่มีน้ำ บางทีจะเห็นเป็นร่องที่เชื่อมกันเป็นร่างแหที่เพดานถ้ำ ซึ่งต้องแหงนหน้าขึ้นไปจึงจะเห็น”
สำหรับในช่องว่างของชั้นหินที่มีน้ำเต็ม(phreatic condition) นั้น ในบริเวณผิวหน้าส่วนล่างของชั้นหินที่อยู่เหนือ bedding plane ขึ้นไปก็จะสลายตัวกลายเป็นร่อง มีขนาดตั้งแต่ระดับเซนติเมตร จนกระทั่งมีขนาดใหญ่หลายเมตร และมักพบเป็นร่องยาว แต่ก็มีไม่น้อยจะมีรูปร่างเป็นหลุม หรือรอยเว้ารูปทรงกลมคล้ายรูปโดม จึงทำให้เป็นกุมภลักษณ์กลับหัว หรือกุมลักษณ์หงายท้องไป
เวลาที่น้ำหินปูนที่มีสารละลายเหล็กและแมงกานีส (เดิมไม่มีสี) พอผสมกับ ออกซิเจน จะกลายเป็น สีแดง และสีดำภายหลัง
ส่วนที่เห็นเป็นชั้นเป็นลายของสีเป็นชั้น ๆ ในถ้ำ นั้นเป็นลักษณะของหินน้ำไหล (flowstone) เกิดจากการพอกของสารหินปูนในช่วงเวลาต่าง ๆ สีแดงและน้ำตาลเป็นแร่เหล็ก สีขาวเป็นแร่แคลไซต์ ส่วน สีเทา-ดำเป็นแร่แมงกานีสออกไซด์
นอกจากนี้ภายในถ้ำหลวงแม่สาบยังมีอีกหนึ่งสิ่งชวนพิศวงนั่นก็คือ “หินย้อยสีดำ” ที่แตกต่างจากหินย้อยทั่ว ๆ ไปที่มักจะเป็นหินปูนสีขาว หรือไม่ก็มีหยดใส ๆ เกาะอยู่ตรงปลายยอด หินย้อยสีดำของที่นี่ ไม่ใช่หินย้อยที่มีฝุ่นสีดำเข้าเกาะ ซึ่งนั่นหมายถึงหินย้อยที่ไม่มีน้ำหินปูนหยดลงมาสะสม เป็นหินตายที่ไม่มีโอกาสย้อยเติบโตต่อไปได้อีก แต่หินย้อยสีดำที่ถ้ำหลวงแม่สาบแห่งนี้ ปรากฏว่ายังคงมีน้ำหยดลงมาอยู่ตลอดเวลา แสดงว่าถ้ำแห่งนี้บรรดาหินงอกหินย้อยยังคงมีชีวิตอยู่ (ถ้ำเป็น)
ถ้ำหลวงแม่สาบ กำลังพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เปิดให้ประชาชนทั่วไปท่องเที่ยวได้ไม่นาน โดยทางอุทยานแห่งชาติขุนขาน เข้ามาดูแลรักษา ธรรมชาติของถ้ำยังสวยงามมาก โดยขอความร่วมมือนักท่องเที่ยว ไม่ไปสัมผัสสิ่งต่างๆ ภายในถ้ำ ขอเก็บภาพประทับใจไปก็พอ ธรรมชาติจะได้อยู่กับเราไปนานๆ ถือได้ว่าเป็นถ้ำที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย

Комментарии

Информация по комментариям в разработке