“ จิตที่เป็นกลางคือ จิตที่ไม่เป็นบวก เป็นลบกับอะไร ภาวะใด "พระอาจารย์เกียรติศักดิ์ วรธัมโม 11 มิย 67

Описание к видео “ จิตที่เป็นกลางคือ จิตที่ไม่เป็นบวก เป็นลบกับอะไร ภาวะใด "พระอาจารย์เกียรติศักดิ์ วรธัมโม 11 มิย 67

ต้องทำด้วยสติปัญญา ตั้งจิตให้เป็นปัจจุบันที่สุด และดูเหตุผลมัน เพราะเรายึดสิ่งนี้ จึงเป็นอย่างนี้ เพราะเรายึดความคิดอย่างนี้ จึงเป็นอารมณ์อย่างนี้ เพราะเรายึดจิตใจว่าเป็นเรานี้ จึงเกิดอารมณ์อย่างนี้ ถ้าเกิดว่าจิตเป็นเพียงจิตเท่านั้น ไม่เป็นเรา อัตภาพร่างกายนี้ไม่พูดกันมาก ตายกันดาษดื่น เพราะเรื่องของร่างกายนี้เป็นเรื่องของ ดิน น้ำ ลม ไฟ เรื่องแก่ๆ เรื่องเจ็บๆ เรื่องตายๆ นั่นคือธรรมชาติของมัน มันสำคัญที่จิตใจนี้ ถ้ามีปัญญาพิจารณาแล้ว ปัญหาทั้งหมดที่มันเกิดขึ้นมันเกิดขึ้นที่จิตใจของเรา จิตใจนี้มันจะยึด ให้ความหมายว่า สำคัญว่า ถ้าเห็นปั๊บไม่ให้ความหมายว่า สำคัญว่า ปฏิจจสมุปบาท จะไม่เกิดขึ้น อวิชชาปัจจยาสังขาร สังขารปัจจยาวิญญาณ วิญญาณปัจจยานามรูป นามรูปปัจจยาสฬายตนะ สฬายตนะปัจจยาผัสสะ ผัสสะปัจจยาเวทนา เวทนาปัจจยาตัณหา ตัณหา อุปาทาน ภพชาติ ภพชาติที่เขาแก่เขาเจ็บเขาตาย ทว่าเราไม่ยึดมั่นถือมั่น อวิชชาที่ได้กล่าวมานี้จะไม่เกิดขึ้น มองเห็นปั๊บทุกอย่างเป็นธาตุไปหมด ทุกอย่างเป็นไม่เที่ยง ทุกอย่างเป็นทุกข์ ทุกอย่างเป็นอนัตตา มันจะเป็นปฏิจจนิโรธ คือการเจริญการดับไม่เหลือทุกขณะ ส่วนภาระงานภายนอกก็รับผิดชอบกันไปตามหน้าที่ แต่ส่วนภายในจิตจะไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ยึดว่าเป็นของของเรา ไม่ยึดว่าเป็นตัวเรา โดยส่วนมากบุคคลที่ไม่ฝึกจิตใจหรือไม่ทราบความเป็นจริงแล้ว จิตจะตั้งอยู่ในความยึดมั่นถือมั่น เมื่อจิตตั้งอยู่ในความยึดมั่นถือมั่นว่า ชีวิตนี้เป็นของเรา ร่างกายนี้ตัวเราเป็นของของเราแล้ว มันจะทำอะไรต่างๆ ด้วยความหวัง ดูก่อนอานนท์ ตราบใดที่เธอยังมีความหวัง ความผิดหวังจะนั่งรอเธออยู่ ขณะที่เรามีความหวัง หวังว่า เราก็ผิดหวังเสียแล้ว เพราะขณะที่หวังนั้นยังไม่สมหวัง มันจึงทำให้เกิดความวิตก จึงทำให้เกิดความกังวล และเป็นสิ่งที่มันจะชักลากจิตใจนี้ออกไปเกี่ยวข้องกับรูป กับเสียง กับกลิ่น กลับรส ถ้าพอมีปัญญาอยู่บ้าง ให้ย้อนกลับเข้ามาที่จิตใจของตนเอง มีสติระลึกรู้อยู่ที่ใจเรา ไม่ว่าจะคิดอะไร ความคิดทั้งหลายเป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติ การสัมผัสทั้งหลายเป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติ รู้อยู่ในจิต ดับอยู่ในจิต ดับสิ่งที่ถูกรู้ด้วย และผู้รู้ก็ต้องดับด้วย สิ่งที่ถูกรู้ก็ต้องดับ ผู้รับรู้ก็ต้องดับ ไม่สำคัญมั่นหมายว่าเป็นตัวเราของเรา ฟังแต่ว่าชีวิตนี้เป็นของชีวิตเท่านั้น ไม่ใช่ของใคร ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวเรา ภาษาคนก็ว่าเป็นตัวเรา เป็นของเรา เช่น กระเป๋าของฉันอยู่ไหน เสื้อแขนยาวของฉันอยู่ไหน กระเป๋าสตางค์อยู่ไหน โทรศัพท์มือถืออยู่ไหน ดูเหมือนว่าจะมีของเจ้าของ มีทั้งของด้วย และมีเจ้าของด้วย แต่ในจิตใจนั้นเป็นสุญญตา อย่างพระก็บอกว่า บาตรผมอยู่ไหน กาน้ำผมอยู่ไหน อันนี้เป็นภาษาคนหรือภาษาสมมุติที่ใช้กัน ภายนอกก็ใช้เหมือนเดิม แต่ภายในเป็นภาษาธรรม จิตที่ว่างจากความยึดมั่นถือมั่น เขาบอกว่า ระวังให้ดีๆ จิตนี้จะหลอกให้เป็นกูเข้า เพราะธรรมชาติของจิตนั้นเป็นเพียงสักแต่ธาตุรู้เท่านั้น เป็นสักแต่ว่าวิญญาณธาตุ ไม่มีตัวตนให้จับต้อง คุณสมบัติของมันคือมันคิดได้ มันรู้สึกได้ มันจดจำได้ มันรับรู้ได้ มันจำได้ทุกอย่าง แต่ทุกอย่างที่มันคิดและมันจำนั้นไม่มีตัวตนให้จับต้อง เพราะภาวะจิตเป็นเพียงนามธรรมเท่านั้น ส่วนรูปธรรมภายนอกทุกอย่าง ทั้งสิ่งที่มีชีวิตเหมือนอย่างคนและสัตว์ และสิ่งที่ไม่มีชีวิต ไม่มีวิญญาณครอง เหมือนโต๊ะ เตียง ตั่ง ตัวบ้าน ตัวเรือน ของใช้ เครื่องถือ ไม่มีชีวิต ไม่มีวิญญาณครอง ส่วนที่มีชีวิต ไม่มีวิญญาณครอง ก็เหมือนกับต้นไม้ ออกดอก ออกใบ ออกผลได้ จนกว่ามันจะผุกร่อนตายไป ทุกอย่างตกเป็นเมืองขึ้นของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งนั้นเลย ภายในก็เหมือนกัน ทั้งรูปนี้นามนี้ รูปสัญญา คือร่างกาย นามสัญญา คือจิตใจนี้ ตกเป็นเมืองขึ้นของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งนั้นเลย ถ้าเราไหลออกไปตามผัสสะภายนอกมันจะเกิดความสมมุติหมายมั่น เพราะการส่งจิตออกนอกนั้นเป็นสมุทัย คือต้นเหตุของสมุฏฐานแห่งความทุกข์ทั้งปวง การไหลออกไปสู่การสัมผัสถูกต้อง ขณะที่จิตเคลื่อนไหลออกไปนั้นมันลืมสติไปแล้ว มันไม่มีปัญญาแล้ว แต่ถ้าย้อนเข้าเป็นมรรคทันทีเลย ผู้ที่จะย้อนเข้าและรับรู้อาการไหลออกเป็นทุกข์ ย้อนเข้าให้เกิดนิโรธ สภาพของนิโรธ ทุกขัง อริยสัจจัง ทุกขสมุทโย ทุกขนิโรโธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือการย้อนเข้า อริยสัจ 4 ขณะจิตเดียวนี้ย้อนเข้า พระอริยเจ้าจึงมีปัญญาที่ฉลาดรอบรู้ในฝ่ายโลกียะและผลอันเป็นโลกียะ เมื่อสมมุติแล้วต้องเป็นผลอย่างไร และท่านก็รอบรู้ในฝ่ายโลกุตระและผลอันเป็นโลกุตระว่า เมื่อไม่ยึด สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นมีกิเลสน้อยใหญ่อะไรต่างๆ เหล่านี้ก็ทำอะไรไม่ได้ จึงเรียกว่า ปฏิจจนิโรธ การทำเช่นนี้เป็นการทำเพื่อเป็นกัมมะโยนิ ไม่ใช่กัมมะพันธุ ผลคือการหลุดพ้นที่จะก้าวเข้าสู่เพชรเม็ดสุดท้ายในพระไตรปิฎก คือคำว่า อตัมมยตา จิตไม่เป็นบวกไม่เป็นลบกับอะไร บวกก็ไม่เป็น ลบก็ไม่เป็น อตัมมยตา คือเพชรเม็ดสุดท้ายของพระไตรปิฎก หรือท่าไม้ตายก็ได้ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ไม่เกิดความพอใจ ไม่เกิดความไม่พอใจ จะไม่ตามไปเด็ดขาดเลย สิ่งที่ชวนให้พอใจก็จะไม่ตามไป สิ่งที่ชวนให้เกิดความขัดใจก็จะไม่ตามไป พอใจก็ไม่ไป ไม่พอใจก็ไม่ไป หากรับทราบ พอใจก็เป็นสักแต่ว่า ไม่พอใจก็เป็นสักแต่ว่า ตัวจิตที่รับรู้อยู่ในเรื่องนั้นก็เป็นสักแต่ว่า ธาตุร่างกายนี้ป็นสักแต่ว่า แก่ๆ เจ็บๆ ตายๆ ไปตามหน้าที่ของมัน ตัวจิตมันก็คิดมากวุ่นวายไปตามเรื่องของมัน เพราะว่าจิตกับร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวของตัว เป็นสักแต่ว่าธาตุในโลก ไม่เป็นของใคร อตัมมยตา คือจิตที่ไม่เป็นบวกไม่เป็นลบกับภาวะใด แม้กระทั่งตัวมันเองด้วย อัพยากฤต จิตมันเป็นกลางอย่างยิ่ง ผู้ใดทำจิตให้เป็นกลางได้ ผู้นั้นจะพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง คำว่าเป็นกลางนี้ไม่ใช่เฉยๆ ในระดับธรรมดานะ เป็นสังขารุเปกขาญาณ คือสภาพจิตวางเฉยต่อสังขารทั้งปวง ไม่ว่าฝ่ายเป็นรูปธรรมหรือฝ่ายเป็นนามธรรม จะเป็นสิ่งที่มีรูปก็ช่าง ไม่มีรูปก็ช่าง วางเฉย สังขารดีก็ช่าง สังขารไม่ดีก็ช่าง ปุญญาภิสังขาร สังขารดี

Комментарии

Информация по комментариям в разработке