5 สิ่ง ที่ทำให้ ระดับ Metabolism Rate ช้าลง & พังได้

Описание к видео 5 สิ่ง ที่ทำให้ ระดับ Metabolism Rate ช้าลง & พังได้

เพื่อนๆยังสงสังไหมครับว่า มีปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลทำให้ ระบบ Metabolism ทำงานแย่ลง หรือระบบเผาผลาญพัง และเราจะมีวิธีป้องกัน และแก้ปัญหาได้ยังไงบ้าง

ประเด็น คือ เราอาจจะเคยได้ยินมาตลอดว่า ระบบเผาผลาญที่ดี จะช่วยให้เราลดน้ำหนักได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องออกกำลังกายมาก และจะกินอาหารอะไรก็ได้

แต่ในทางตรงกันข้าม สำหรับเพื่อนๆบางคนกว่าที่เราจะมีหุ่น และสุขภาพที่ดีได้ เราจะต้องไดเอทและออกกำลังกายแทบตาย กว่าที่ลดไขมันได้ผล

ดังนั้น คำถาม คือ จริงๆแล้ว ถ้าเราอ้วนขึ้นหรือลดไขมันยาก ก็แปลว่าระดับอัตราการเผาผลาญไม่ค่อยดีจริงหรือเปล่า ส่วนคนที่กินอะไรเข้าไปแล้วไม่อ้วน นั่นเป็นเพราะว่า พวกเขามีระบบเผาผลาญที่ดีกว่าเราจริงไหม เป็นต้น

สวัสดีครับ โค้ชเค Fitterminal.com และวันนี้ ผมจะพาไปดู 5 สิ่งที่ผลต่ออัตราการเผาผลาญ หรือ ระบบ Metabolism และจะมีทิปส์ดีๆในการเพิ่มอัตราการเผาผาญ มาแนะนำด้วยเช่นเคย จะมีอะไรบ้าง ตามมาเลยครับ

5 สิ่งที่ทำให้ ระดับ Metabolism Rate ช้าลง/พังได้
เพื่อนๆครับ ก่อนอื่นระบบเมตาบอลิซึม (Metabolism) คือ กระบวนการที่เซลล์ในร่างกายเรา เปลี่ยนอาหารให้กลายเป็นพลังงานที่ร่างกายเรา เอาไปใช้ในกระบวนการต่างๆได้

เช่น ใช้ในการหายใจ เคลื่อนไหวร่างกาย และการทำงานของระบบไหลเวียนของเลือด เพื่อให้เราอยู่รอด เป็นต้น

นอนนอนว่า เราอาจจะได้ยินมาตลอดว่า ระบบ Metabolism ที่ดีจะช่วยให้เราลดน้ำหนัก และลดไขมันได้เร็วขึ้น

แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าระบบ Metabolism ทำงานช้า หรือระบบเผาผลาญพัง เราก็จะอ้วนได้ง่าย และโยโย่ได้

ซึ่งความเชื่อนี้ อาจจะทำให้เเราเข้าใจผิดคิว่า ที่เราอ้วนขึ้นนั้น มันต้องเป็นเพราะว่าอัตราการเผาผลาญแน่ๆ จนลืมมองดูปัจจัยอื่นๆที่อาจจะเป็นต้นเหตุมากว่า

ค่า BMR VS. RMR คืออะไร เหมือนหรือแตกต่างกันยังไง?
อัตราการเผาผลาญขึ้นพื้นฐานเพื่อการอยู่รอดจะเรียกว่า Basal Metabolic Rate หรือค่า BMR และจะใช้สลับกันกับค่าอัตราการเผาผลาญระหว่างพัก ที่เรียกว่า Resting Metabolic Rate หรือค่า RMR

ซึ่งเราจะมีวิธีคำนวณค่า BMR ง่ายๆ ด้วยการเอาน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) x 2.2 x 10 และนี่คือปริมาณพลังงานแคลอรี่ที่เราไม่ควรกินต่ำกว่านี้

ส่วนเพื่อนๆที่ตัวเล็ก เรายังควรปรับพลังงานแคลอรี่ให้อยู่ที่วันละ 1,100-1,200 แคลอี่อยู่ เพื่อลดความเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับสารอาหารน้อยเกินไป โดยเฉพาะโปรตีน และเส้นใจอาหาร

รู้ไหมครับว่า กว่า 60-70% ของอัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย จะถูกใช้เพื่อการอยู่รอด ส่วนอีก 20% จะมาจากการออกกำลังกาย

และ 10% ที่เหลือ จะมาจากการย่อยและการดูดซึมอาหารที่เรียกว่า Thermic Effect of Food หรือค่า “TEF” นั่นเอง

ระบบ METABOLISM ทำให้เราอ้วนขึ้นหรือผอมลง ได้จริงหรือเปล่า?
เพื่อนๆครับ จริงๆแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเพศ อายุ การใช้ชีวิต และขนาดของร่างกายเรา จะเป็นปัจจัยหลัก ที่มีผลต่ออัตราการเผาผลาญ ของระบบ Metabolism การสะสมไขมันของร่างกาย ความอยากอาหาร และน้ำหนักตัวเราด้วย

หรือการทำงานของระบบ Metabolism ที่ทำงานช้าลงหรือเร็วขึ้น จะไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้เราอ้วนขึ้น

เว้นแต่ว่าเพื่อนๆจะมีปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะโรค Hypothyroidism หรือไทรอยด์แบบอ้วน และ PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) ที่ผู้หญิงมักจะเป็น

อ่านบทความเต็ม: https://bit.ly/46uma3A
===============================
ถ้าเพื่อนๆมีเป้าหมายอยากลดน้ำหนัก ลดไขมัน อยากมีหุ่นในฝัน ให้ตัวเองภูมิใจสักครั้งในชีวิต แอดไลน์ที่ลิ้งค์ด้านล่าง แล้วมาปรึกษาก่อนได้ครับ
===============================
| Follow Us | ช่องทางการอัพเดทข้อมูลข่าวสาร |
Fitterminal LINE: @fitterminal หรือคลิก https://lin.ee/Txxw3zR
Fitterminal Facebook: http://bit.ly/2GeJebZ
Fitterminal Instagram: http://bit.ly/2Zh5KtG
Fitterminal Website: http://bit.ly/2GKOWDa
#ลดน้ำหนัก #ลดไขมัน #ifลดน้ำหนัก

Комментарии

Информация по комментариям в разработке