ไตรโคเดอร์มา เชื้อราปฏิปักษ์กับโรคพืช

Описание к видео ไตรโคเดอร์มา เชื้อราปฏิปักษ์กับโรคพืช

00:00 เริ่มต้นคลิป
03:48 กลไกลการทำงานของ ไตรโคเดอร์มา
07:25 ประโยชน์ของไตรโคเดอร์มา
12:11 การใช้งาน

๐ เชื้อรา ไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลัม ; Trichoderma asperellum
03:48 ๐ กลไกลการทำงานของ ไตรโคเดอร์มา
1. แข่งขัน หรือเติบโตแย่งพื้นที่กับเชื้อราสาเหตุโรคพืช โดยไตรโคเดอร์มามีความสามารถในการเจริญเติบโตได้ดีกว่าเชื้อราสาเหตุโรคพืช
2. เบียดเบียนหรือเป็นปรสิตกับเชื้อราสาเหตุโรคพืช โดยไตรโคเดอร์มาจะสร้าง enzymes เพื่อย่อยผนังเส้นใยเชื้อราสาเหตุโรคพืช ทำให้ไซโตพลาสซืมไหลออกมาภายนอก ทั้งไซโตพลาสซืมและผนังของเชื้อราสาเหตุโรคพืช จะเป็นอาหารของไตรโคเดอร์มาต่อไป จากนั้นไตรโคเดอร์มาจะเจริญเติบโตเข้าไปภายในเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืช โดยจะกัดกินเชื้อราสาเหตุนั้นจนหมด รวมถึงมีกลไกการสร้างสปอร์ไตรโคเดอร์มาแพร่ขยายจำนวนมากขึ้นจนคลุมและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชจนหมด
3. สร้างสารต้านจุลินทรีย์ (Antimicrobial compounds) เพื่อยับยั้ง และการทำลายเส้นใยของเชื้อราโรคพืช
4. ชักนำให้พืชมีความต้านทานโรค โดยไตรโคเดอร์มาชักนำหรือเหนี่ยวนำให้พืชสร้างโปรตีนบางชนิดกระจายไปยังส่วนต่างๆ ของต้น ทำให้พืชต้านทานต่อโรคที่เข้าโจมตีมากขึ้น

07:25 ๐ ประโยชน์ของไตรโคเดอร์มา
1. เป็นชีวภัณฑ์ที่ไม่เป็นอันตราย และมีมลพิษตกค้างต่อสิ่งแวดล้อม
2. ใช้เพื่อการควบคุมโรค: Trichoderma เป็นจุลินทรีย์ปฏิปักษ์เป็นตัวควบคุมโรค โดย ไตรโคเดอร์มา มีศักยภาพการควบคุมโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Pythium, Fusarium, Rhizoctonia, Phytophthora, Sclerotinia
3. สนับสนุนการเจริญเติบโตของพืช: Trichoderma สนับสนุนการละลายฟอสเฟตและธาตุอาหารรองในดิน ทำให้พืชแลกเปลี่ยนธาตุอาหารได้ง่ายขึ้น
4. เพิ่มปริมาณรากพืช: มีงานวิจัยที่แสดงผลให้เห็นว่า Trichoderma ช่วยให้หญ้าเพิ่มจำนวนราก และเติบโตลึกขึ้น อันเป็นการเพิ่มความสามารถของพืชในการทนทานต่อความแห้งแล้ง
5. เสริมสร้างความต้านทานโรค: Trichoderma เทำให้เกิดความต้านทานในพืช โดยพืชจะผลิตสารประกอบต่าง ๆ และเกิดการผลิตเอทิลีน การตอบสนองที่ไวต่อการตอบสนองและปฏิกิริยาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการเข้าทำลายจากเชื้อสาเหตุโรคพืช ทั้งการกระตุ้นโดยไตรโคเดอร์มานี้ ทำให้พืชมีกระบวนการสังเคราะห์แสงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
6. การฟื้นฟูทางชีวภาพ (Bioremediation) : Trichoderma ช่วยให้เกิดการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมที่มีการ ปนเปื้อนของสารพิษต่างๆ โดย Trichoderma จะไปลดปริมาณสารมลพิษ ย่อยสลายยาฆ่าแมลงต่าง ๆ ที่ตกค้างในดิน

๐ ขอบคุณชีวภัณฑ์จาก Appliedchem (Thailand) Co.,Ltd. ที่สนับสนุนการเดินทางของมือเย็น ซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก www.facebook.com/bioareus หรือค้นหาคำว่า Appliedchem-Thailand

๐ Trichoderma ของ Appliedchem (Thailand) Co.,Ltd. มีชื่อการค้าว่า “ไตรซาน” คือ เชื้อรา ไตรโคเดอร์มา แอสเพอร์เรียลลัม (Trichoderma asperellum) ที่ถูกผลิตให้อยู่ในรูปผงละลายน้ำ เข้มข้น 2x108 cfu/gm
ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร เลขที่ 261-2557 (ทะเบียนหมดอายุ 24 ก.พ. 2569)
๐ สรรพคุณ
๐ใช้ควบคุมโรคพืช ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อราหลายชนิด ได้แก่ พิเทียม, ฟิวซาเรียม, ไฟทอฟเทอร่า, ไรซอกโทเนีย ที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรครากเน่า – โคนเน่าในทุเรียน โรคเน่าคอดิน โรคยุบตายในพืชผักต่างๆ (ทั้งที่ปลูกในดิน น้ำ และวัสดุปลูก) โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อราต่างๆ โรคเน่าคอรวง และเมล็ดด่างในนาข้าว
๐ ช่วยเพิ่มอัตราการงอกของเมล็ดพันธุ์ กระตุ้นการแตกราก
๐ ตลอดจนช่วยเสริมสร้างความต้านทานโรคให้แก่พืช

12:11 ๐ การใช้งาน
1. ผสมคลุกเคล้ากับดินปลูก
2. ผสมคลุกเคล้ากับเมล็ดพันธุ์ก่อนหว่านหรือเพาะเมล็ด
3. ผสมน้ำฉีดพ่นหรือผสมน้ำแล้วรถน้ำที่บริเวณโคนต้นและผิวดิน

๐ อัตราใช้
๐ ใช้คลุกเมล็ดพันธุ์ให้ทั่วก่อนนำไปเพาะ
๐ ใช้อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรในการราดหลุมปลูกก่อนย้ายกล้า ใช้ราดโคนต้นหรือให้ทางระบบน้ำเป็นประจำ ทุกๆ 7-10 วันในทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช

๐ วิธีการเก็บรักษา เก็บในภาชนะที่ปิดสนิท ในที่แห้งและเย็น ห่างจากมือเด็ก อาหารและสัตว์เลี้ยง


๐ คติความเชื่อแต่โบราณนานมาเรียกขานคนที่ปลูกอะไรก็งาม ปลูกอะไรก็ขึ้นว่าเป็นคน “มือเย็น” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Green Thumb” หรือพวกหัวแม่โป้งเขียว ก็คือคนมือเย็นน้่นเอง

๐ Muuyehn Studio หรือ มือเย็น สตูดิโอ เป็นช่องที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นกำลังใจให้คนทั้งมือเย็น มือไม่เย็น มืออุ่น มือร้อน มือไหนๆ ก็ปลูกต้นไม้ได้งอกงามดี ขอแค่ทำความรู้จักและรักที่จะปลูก
ถึงปลูกแล้วตาย ปลูกแล้วโตช้าก็อย่าได้แคร์ ขอให้ปลูกกันต่อไปนะครับผม

Комментарии

Информация по комментариям в разработке