ฎีกา InTrend Ep.107 จะขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่คู่ความผู้มรณะเมื่อพ้น 1 ปีได้หรือไม่

Описание к видео ฎีกา InTrend Ep.107 จะขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่คู่ความผู้มรณะเมื่อพ้น 1 ปีได้หรือไม่

ฎีกา InTrend Ep.107 จะขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่คู่ความผู้มรณะเมื่อพ้น 1 ปีได้หรือไม่
The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม
Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี
ที่ปรึกษา : วิญญู พิชัย, สรวิศ ลิมปรังษี, ณัฐสิมา อนันทนุพงศ์
Show Creator : ศณิฏา จารุภุมมิก
Episode Producer & Editor : ศณิฏา จารุภุมมิก, รวิภา กิ่งจักร์
Sound Designer & Engineer : กฤตภาส ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ
Coordinator & Admin : โสรัตน์ ไวศยดำรง, สุพัตรา ขำมีศักดิ์, สุภาวัชร์ ดลมินทร์
Art Director : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, ปันจารีณ์ สุวรรณโภชน์, กนกกูล วสยางกูร
Webmaster : ผุสชา เรืองกูล, วชิระ โรจน์สุธีวัฒน์

การดำเนินคดีบางครั้งใช้เวลาพอสมควร ทำให้อาจเกิดเรื่องที่ในระหว่างนั้นคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจถึงแก่ความตาย ทำให้ต้องมีการดำเนินการเพื่อหาคนเข้ามารับผิดชอบในการดำเนินคดีแทนซึ่งบางครั้งเรียกกันว่าเป็นการรับมรดกความ ในการดำเนินการดังกล่าว กฎหมายกำหนดให้ต้องกระทำภายใน 1 ปี แต่เราพบกันอยู่เสมอว่าอาจมีการขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ปัญหาที่จะนำมากล่าวถึงในตอนนี้จะเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย หากทายาทขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่เมื่อพ้นกำหนดเวลา 1 ปี ศาลจะต้องจำหน่ายคดีหรืออาจอนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความแทนที่หลังพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวได้
นายแดงเป็นเจ้าของที่ดินแปลงหนึ่ง ต่อมานายดำซึ่งเป็นน้องชายของนายแดงได้ปลอมลายมือชื่อนายแดงทำหนังสือมอบอำนาจแล้วนำโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวไปจดทะเบียนขายให้แก่นายเขียว
นายแดงทราบเรื่องเข้าจึงฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินแปลงดังกล่าว
ระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณา นายแดงถึงแก่ความตาย ต่อมาหลังจากนายแดงถึงแก่ความตายแล้ว 2 ปี นายเหลือง ซึ่งเป็นบุตรและเป็นผู้จัดการมรดกของนายแดงจึงได้ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่นายแดง นายดำจึงคัดค้านว่าการขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ดังกล่าวไม่ชอบ เพราะยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด
ในการดำเนินคดีย่อมต้องมีตัวบุคคลที่เป็นคู่ความอยู่เพราะมิฉะนั้นย่อมไม่สามารถดำเนินกระบวนต่อไปได้ ดังนั้น เมื่อมีกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 จึงได้กำหนดให้เลื่อนการนั่งพิจารณาไปจนกว่าจะมีทายาท ผู้จัดการมรดก หรือผู้ปกครองทรัพย์ขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
ปัญหาสำหรับกรณีนี้คงอยู่ที่ว่าตามมาตรา 42 วรรคสอง กำหนดไว้ด้วยว่าหากไม่มีผู้ยื่นคำขอเข้ามาภายใน 1 ปี นับแต่วันที่คู่ความนั้นถึงแก่ความตายให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นออกจากสารบบความ
นอกจากนั้น ตามมาตรา 132 (3) กำหนดไว้ด้วยว่าถ้าไม่มีผู้ขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะตามที่กำหนดไว้ก็ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
บทบัญญัติดังกล่าวดูเคร่งครัดที่เหมือนกับว่าหากไม่มีการยื่นคำขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะแล้ว ศาลจะต้องจำหน่ายคดีจากสารบบความเสมอไป แต่ความจริงแล้วบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกระบวนพิจารณาที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้การดำเนินคดีดำเนินการต่อไปได้ แต่หากไม่มีผู้มีส่วนได้เสียที่สนใจจะดำเนินการให้มีการเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะแล้วมีผลทำให้คดีค้างการพิจารณาโดยไม่มีเหตุอันสมควร ศาลก็จะได้มีอำนาจในการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเสีย เพื่อที่จะทำให้คดีความไม่ค้างการพิจารณาอยู่อย่างนั้น
แต่การดำเนินกระบวนพิจารณาเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่ความทุกฝ่าย ไม่ใช่การกำหนดเพื่อให้เป็นข้อแพ้ชนะกันในคดีเป็นสำคัญ ดังนั้น การจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความหรือไม่จึงเป็นดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งดังกล่าวหรือไม่ กรณีของนายเหลือง ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของนายแดงที่ขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่นายแดงเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่นายแดงถึงแก่ความตายแล้ว ศาลก็ย่อมมีดุลพินิจที่จะสั่งอนุญาตได้
ดังนั้น กรณีที่คู่ความฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย แม้ทายาทจะไม่ได้ขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ภายในกำหนด 1 ปี ศาลก็ไม่จำเป็นต้องสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเสมอไป แต่อาจอนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความแทนที่ได้แม้ยื่นขอเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว

(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2953/2564)

Комментарии

Информация по комментариям в разработке