ตัดอารมณ์ ตัดเวรตัดกรรม เสียงธรรม โดยหลวงพ่อสมภพ โชติปัญโญ

Описание к видео ตัดอารมณ์ ตัดเวรตัดกรรม เสียงธรรม โดยหลวงพ่อสมภพ โชติปัญโญ

วิปัสสนา เป็นวิธีปฎิบัติเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตนเองผ่านกระบวนการสังเกตตนเอง คือ สังเกตรูป-นาม หรือขันธ์ 5

เน้นถึงการปฏิสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งระหว่างร่างกายกับจิตใจ โดยให้ความสำคัญกับการสังเกตความรู้สึกทางกายที่สัมพันธ์กับความรู้สึกทางจิตใจอย่างต่อเนื่อง วิปัสสนาเป็นเสมือนการเดินทางสำรวจและสังเกตตนเองสู่ระดับที่ลึกที่สุดของร่างกายและจิตใจ เพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ และส่งผลให้จิตใจสมดุลเต็มไปด้วยความรักและความเมตตา

สมถะ คืออะไร

มาจาก 2 คำ ได้แก่ สะมะ แปลว่า สงบ, และ ถะ แปลว่า ทำให้ สมถะ; จึงแปลตรงตัวว่า ทำให้สงบ
การฝึกสมถะ จึง การฝึกจิตให้สงบและน้อมสู่ภาวะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ด้วยการตั้งจิตไว้ในอำนาจของอารมณ์เดียว

พระพุทธเจ้า สอนว่า ธรรมชาติของอารมณ์เกิดได้ทีละดวง ดังนั้น ในขณะฝึกสมถะและมีจิตเพ่งไว้ในอารมณ์เดียว อานิสงค์อย่างแรก คือ ความคิดอกุศลไม่มีในจิต จิตที่บริสุทธิ์จึงเป็นท่อบุญท่อกุศล ใสสะอาด และมีกำลังมากนั่นเอง เหล่านี้เป็นเหตุให้พัฒนาไปสู่ฤทธิ์ทางใจ

วิปัสสนา คืออะไร

มาจากคำว่า ปัสสะ แปลว่า เห็น, และ วิ แปลว่า แจ้งโดยวิเศษ; วิปัสสนา คือ การทำให้ รู้แจ้ง-เห็นแจ้งโดยวิเศษด้วยปัญญาอันยิ่ง

รู้อะไร? รู้อารมณ์เกิดดับนั่นเอง โดยการจะรู้อารมณ์จะต้องอาศัยอานุภาพของสมาธิจิตเพื่อแยกสติออกจากสภาพแวดล้อมของโลกที่ห้อหุ้มตัวเราอยู่

ภาวนา และ เจริญสติ คือ อะไร

ภาวนา ไม่ได้แปลว่า การอ้อนวอนนะครับ และจำให้ดี ศาสนาพุทธ ไม่มีพระเจ้า และ ไม่มีการสวดอ้อนวอนขอ
พระบรมศาสดา ย้ำชัดว่า “…อตฺตา สุทนฺโต ปุริสสฺส โชติ…” ตนที่ฝึกดีแล้ว ย่อมเป็นแสงสว่างของบุรุษ

ฝึกอะไร? ก็คือ ฝึกสมาธิจิต และแสงสว่างที่ว่าก็คือ ผลลัพธ์แห่งปัญญา นั่นเอง ภาวนา ในที่นี้จึงหมายถึง การอบรม การทำให้เจริญขึ้น ดังนั้น สมถภาวนา คือ การอบรมสมถะ, และ วิปัสสนาภาวนา คือ การอบรมวิปัสสนา

ส่วนเจริญสติ คือ การฝึกสมถะและวิปัสสนา จะหมายถึงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองก็ได้ เพราะผลลัพธ์ที่เหมือนกัน คือ สติสัมปะชัญญะ เจริญงอกงามขึ้นทั้งคู่ อาทิ

อานาปานสติดูลมหายใจ ก็จะเรียกว่า เจริญสติด้วยอานาปานสติภาวนา
พิจารณาซากศพ เรียกว่า เจริญสติด้วยอสุภภาวนาภาวนา
มุ่งละโทสะด้วยพรหมวิหาร เรียกว่า เจริญสติด้วยเมตตาภาวนา
เป็นต้น ฯลฯ กล่าวคือเราใช้วิหารธรรมใดเป็นพาหนะฝึกจิต วิหารธรรมตัวนั้น คือ อุบายในการภาวนา

สิ่งที่บุคคลทั่วไปจะได้จากการฝึกสมาธิจิต ได้แก่

มีสติปัญญาลึกซึ้ง
มีสติปัญญาเฉียบแหลม
มีสติปัญญาว่องไว

ที่มาข้อความแปลงความหมาย dharmadar.com

Комментарии

Информация по комментариям в разработке