เปิดบริษัท แต่ไม่มีรายได้ ต้องจ่ายภาษีไหม ? | ภาษี ONLINE EP.14

Описание к видео เปิดบริษัท แต่ไม่มีรายได้ ต้องจ่ายภาษีไหม ? | ภาษี ONLINE EP.14

เปิดบริษัทมาแล้วซักพัก แต่ยังไม่มีรายได้ แบบนี้ต้องจ่ายภาษีไหม ฟังคำตอบได้ในคลิปนี้ครับ

อันดับแรก เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของหน้าที่ของนิติบุคคลอย่างบริษัทและห้างหุ้นส่วนกันก่อนครับ ว่ามีหน้าที่อยู่ 2 เรื่อง นั่นคือ การนำส่งงบการเงินที่เป็นงานด้านบัญชีให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กับ การนำส่งภาษีที่เกี่ยวข้องให้กับทางกรมสรรพากรครับ

สำหรับการนำส่งงบการเงินนั้น ถ้าเรามีการจดบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เรามีหน้าที่จัดให้มี ผู้ทำบัญชี เพื่อทำบัญชีตามกฎหมาย และปิดบัญชีเพื่อจัดทำงบการเงินประจำปีเพื่อนำส่งให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าครับ ดังนั้นสรุปประเด็นแรกก่อนว่า ถ้ามีการจดทะเบียนบริษัทและห้างหุ้นส่วนเมื่อไร เรามีหน้าที่ทำบัญชีและจัดทำงบการเงินให้ถูกต้องตามกฎหมายครับ

จบเรื่องบัญชีไปแล้ว มาที่เรื่องภาษีกันบ้าง หลายคนอาจจะเข้าใจว่า ถ้าไม่มีรายได้ ไม่ต้องเสียภาษี อันนี้ถูกต้องครับ แต่จริงๆ ยังไม่จบเพียงแค่นี้ ตรงนี้ต้องพิจารณาแยก 2 ส่วนครับ คือ #เสียภาษี กับ #ยื่นภาษี

ส่วนแรกที่บอกว่าไม่ต้องเสียภาษี ก็ต้องบอกว่า มีประเด็นภาษี 2 ส่วนที่ไม่ต้องเสียแน่ๆครับ นั่นคือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะ

1. ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากกำไรสุทธิทางภาษี ถ้าไม่มีรายได้ ก็แน่ใจว่าไม่มีกำไร ดังนั้นไม่ต้องเสียภาษีครับ
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้าไม่มีรายได้ ก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกันครับ เพราะไม่รู้จะไปเก็บจากไหน

แต่ต่อให้ไม่มีหน้าที่เสียภาษี ก็ไม่ได้แปลว่าไม่ต้องยื่นครับ โดยหน้าที่ในการยื่นภาษีนั้นยังคงอยู่ครับ โดยต้องมีการยื่นภาษีต่อไปนี้ครับ

1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ถ้ามีรอบบัญชีเต็ม 12 เดือนหรือครบปี แบบนี้ต้องยื่นทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี แบบ ภ.ง.ด. 50 และ ภ.ง.ด.51 ครับ แต่ถ้าหากเพิ่งเปิดปีแรก ถ้าหากรอบบัญชีปีแรกไม่ครบปีแบบนี้ยื่นเฉพาะ ภ.ง.ด.50 แต่ไม่ต้องยื่น ภ.ง.ด.51 ครับ

2. ภาษีมูลค่าเพิ่มถ้าหากเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ยังมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ. 30 เหมือนเดิมครับ เพราะทันทีที่จดเป็นผู้ประกอบการ แปลว่ามีหน้าที่ยื่น ภ.พ. 30 ทุกเดือนครับ แม้ว่าจะไม่มีรายได้ก็ตาม

3. อีกตัวหนึ่งที่เพิ่มขึ้นมา นั่นคือ รายจ่ายที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายครับ ถ้าหากมีการจ่ายค่าใช้จ่ายที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ เราก็ยังมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ และยื่นแบบแสดงรายการให้ถูกต้องครับ

โดยสรุปของเรื่องนี้ ถ้าหากเราตัดสินใจทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลแล้ว ไม่ว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน เราจะมีหน้าที่การยื่นแบบแสดงรายการภาษีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเข้ามา แม้ว่าจะไม่มีภาษีที่ต้องเสียก็ตาม เช่น ภาษีเงินได้ หรือ ในกรณีที่จด VAT ก็ต้องยื่นแบบ ภ.พ. 30 และถ้าหากมีการจ่ายเงินที่ต้องหักภาษีไว้ ก็ต้องหักแล้วนำส่งให้ถูกต้องครับ

ดังนั้นถ้าหากใครตัดสินใจจะทำธุรกิจในรูปแบบนี้ สิ่งที่ต้องมีคือการจัดการเอกสาร ข้อมูลต่างๆ อย่างถูกต้อง และนำส่งข้อมูลรวมถึงแบบภาษีต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แม้ว่าจะมีรายได้หรือไม่มีรายได้ก็ตาม และส่วนนี้คือหน้าที่ทีต้องรับผิดชอบเพิ่มเติมที่คนทำธุรกิจทุกคนควรรู้นั่นเองครับ

พรี่หนอมทำรายการ #ภาษีONLINE เป็นรายการตอบปัญหาภาษีและแชร์เทคนิคดี ๆ เกี่ยวกับการจัดการการเงินและภาษี เจอกันประจำก่อนใครได้ที่ Line OA @TAXBugnoms ครับ

มาเป็นเพื่อนกันได้ที่นี่ : https://lin.ee/Wl40cki

0:00 Intro
0:35 หน้าที่ด้านบัญชีของบริษัท
1:17 หน้าที่ด้านภาษีของบริษัท
1:43 เสียภาษี VS ยื่นภาษี
2:22 วิธีคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
3:02 การยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล
4:42 หน้าที่ฝั่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
6:38 หน้าที่ฝั่งภาษีหัก ณ ทีจ่าย
7:51 สรุปประเด็น

Комментарии

Информация по комментариям в разработке