เพื่อความผาสุขสงบในชีวิต ธรรม 4 ประการ ขอโภคทรัพย์จงเกิดขึ้นแก่เราโดยทางธรรม

Описание к видео เพื่อความผาสุขสงบในชีวิต ธรรม 4 ประการ ขอโภคทรัพย์จงเกิดขึ้นแก่เราโดยทางธรรม

#เหตุสมปรารถนา #ครองเรือนให้เป็นสุข #พึ่งตนพึ่งธรรม #กายคตาสติ

00:00:00 ธรรมแห่งการครองเรือน / หน้าที่ของสามีและภรรยา
การดำรงชีพชอบโดยทิศ ๖ ของฆราวาส : https://etipitaka.com/read/thaipb/7/7/

00:14:04 อุปนิสัย สร้างนิสัยที่ดี ทำอย่างไร / เจริญสติปัฏฐาน 4 เป็นกุสลาสี กองกุศลที่แท้จริง
ผู้มีอินทรียสังวร จึงสามารถเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ ได้ : https://etipitaka.com/read/thaipb/8/79/

00:24:32 ถ้าเราอยากจะมีบุตร แล้วอยากได้บุตรที่ดี ให้รักษาศีล ทำสมาธิ
00:26:24 รัตนะ 5
00:30:18 การตอบแทนคุณมารดาบิดาอย่างสูงสุด : https://etipitaka.com/read/thaipb/7/17/

00:43:11 สัตว์ ทำกรรมอย่างไร จะได้ผลของกรรมอย่างนั้น
00:45:11 โภคทรัพย์จงเกิดขึ้นแก่เรา โดยทางธรรม ธรรม 4 ประการ
สิ่งที่ทุกคนปรารถนาจะได้ : https://etipitaka.com/read/thaipb/7/23/
--------------------------

#สิ่งที่ทุกคนปรารถนาจะได้
คหบดี ! ธรรม ๔ ประการนี้ น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก. ธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ :
ขอโภคทรัพย์จงเกิดขึ้นแก่เราโดยทางธรรม นี้เป็นธรรม ประการที่ ๑ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.

เราได้โภคทรัพย์ทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว ขอยศจงเฟื่องฟูแก่เราพร้อมด้วยญาติและมิตรสหาย นี้เป็นธรรม ประการที่ ๒ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.
เราได้โภคทรัพย์ทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว ได้ยศพร้อมด้วยญาติและมิตรสหายแล้ว ขอเราจงเป็นอยู่นาน จงรักษาอายุให้ยั่งยืนนี้เป็นธรรม ประการที่ ๓ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.
เราได้โภคทรัพย์ทั้งหลายโดยทางธรรมแล้ว ได้ยศพร้อมด้วยญาติและมิตรสหายแล้ว เป็นอยู่นานรักษาอายุให้ยั่งยืนแล้ว เมื่อตายแล้ว ขอเราจงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นธรรม ประการที่ ๔ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.

คหบดี ! ธรรม ๔ ประการนี้แล น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.
คหบดี ! ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ธรรม ๔ ประการ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก ธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ :
#สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา) ๑ #สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) ๑ #จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค) ๑
ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา) ๑ .

คหบดี ! ก็ สัทธาสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า“เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์”. คหบดี ! นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา.

ก็ สีลสัมปทาเป็น อย่างไรเล่า ? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน เป็นผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท เป็นผู้เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท. นี้เรียกว่า สีลสัมปทา.

ก็ จาคสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ มีใจปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ มีการบริจาคอันปล่อยอยู่เป็นประจำ มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการให้และการแบ่งปัน. นี้เรียกว่า จาคสัมปทา.

ก็ ปัญญาสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ? บุคคลมีใจอันความโลภอย่างแรงกล้า คือ อภิชฌาครอบงำแล้ว ย่อมทำกิจที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำ เมื่อทำกิจที่ไม่ควรทำและละเลยกิจที่ควรทำเสีย ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข บุคคลมีใจอันพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้ว ย่อมทำกิจที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำ เมื่อทำกิจที่ไม่ควรทำและละเลยกิจที่ควรทำเสีย ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข.

คหบดี ! อริยสาวกนั้นแลรู้ว่า อภิชฌาวิสมโลภะ (ความโลภอย่างแรงกล้า) เป็นอุปกิเลส (โทษเครื่องเศร้าหมอง) แห่งจิต ย่อมละอภิชฌาวิสมโลภะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิต
เสียได้ รู้ว่า พยาบาท (คิดร้าย) ถีนมิทธะ (ความหดหู่ซึมเซา) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านรำคาญ) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ย่อมละเสียซึ่งสิ่งที่เป็นอุปกิเลสแห่งจิตเหล่านั้น .

คหบดี ! เมื่อใดอริยสาวกรู้ว่าอภิชฌาวิสมโลภะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิตดังนี้แล้ว เมื่อนั้นย่อมละเสียได้ เมื่อใดอริยสาวกรู้ว่าพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา เป็นอุปกิเลสแห่งจิตดังนี้แล้ว เมื่อนั้นย่อมละสิ่งเหล่านั้นเสียได้ อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นผู้มีปัญญามาก มีปัญญาหนาแน่น เป็นผู้เห็นทาง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา. นี้เรียกว่า ปัญญาสัมปทา.

คหบดี ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ธรรม ๔ ประการ อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก.

--📙พุทธวจน-หมวดธรรม เล่มที่ ๗ พุทธวจน ฆราวาสชั้นเลิศ หน้าที่ ๒๓-๒๗
-- ลิ้งค์อ้างอิงพระสูตร https://etipitaka.com/read/thaipb/7/23/
--------------------------

รับชมวิดีโอพุทธวจน เพิ่มเติม ได้ที่ช่อง #ทางนิพพาน พุทธวจน 😊🥰🙏
   / @tangnibbana  
--------------------------

คลิปเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2560 ดูคาติ ดูคาทิสติ Ducati Thailand (1/2)
(2/2)    • เข้าใจ จิต มโน วิญญาณ | ผู้สดับในคำตถ...  

Комментарии

Информация по комментариям в разработке