◣มสธ.◢ ค่าแผ่นดิน EP.127

Описание к видео ◣มสธ.◢ ค่าแผ่นดิน EP.127

📌 ประเด็นในรายการ : ค่าแผ่นดิน EP.127
ผลิตภาค 1/2567
#รายการบริการวิชาการแก่สังคมจาก_มสธ

✅ ช่วงที่ 1. วิถีชน... คนพอเพียง
👉 คุณอ้อ ถนอมวรรณ สิงห์จุ้ย ผู้ก่อตั้งฟาร์มสุขดอกไม้ไทย ได้ให้หลักและแนวคิดในการทำฟาร์มดอกไม้ไทยกินได้นั้น เป็นเรื่องของการศึกษาหาความรู้ เรียนรู้ อ่านงานวิจัย ทดลองปลูก และวางแผนการตลาด วางกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน จึงจะสามารถควบคุมคุณภาพและปริมาณได้ตรงตามต้องการ และทำให้ประสบความสำเร็จได้

✅ ช่วงที่ 2. ต้นกล้า... เกษตรนวัตกรรม
👉 ธนพร โพธิ์มั่น หรือ “ป้านา” มีศูนย์เรียนรู้ที่ถ่ายทอดเทคนิคและวิธีในการทำเห็ด ปลูกผัก เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา อีกทั้งเลี้ยงชันโรงเพื่อช่วยให้ผลผลิตการปลูกผักดีขึ้น การทำเกษตรแบบอินทรีย์ ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม และดูแลสุขภาพ ทำให้ที่ศูนย์เรียนรู้มีผู้คนแวะเวียนกันมาขอความรู้กัน อยู่เสมอ

✅ช่วงที่ 3. รักษ์ดิน รักษ์น้ำ รักษ์ป่า
👉 คุณ มานะ ห่อผล โคกหนองนาบ้านมานะ เกษตรกร ที่ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 มาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต และทำการเกษตรบนพื้นฐานของการอนุรักษ์ และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด

✅ ช่วงที่ 4. สุขใจ... ที่พอเพียง
👉 คุณนุกุล นามปราศัย เจ้าของสวนสัมฤทธิ์ ที่มีการเพาะปลูกกล้วยหอมทองในระบบเกษตรปลอดภัย ที่เป็นแหล่งปลูกกล้วยหอมทองแหล่งใหญ่ที่สุดของ จ.ปทุมธานี สร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้เป็นอย่างดี

-----------------------------
ผลิตรายการโดย
สำนักเทคโนโลยีการศึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.)
Sukhothai Thammathirat Open University (STOU)
--------------------------------------­----------------------------------------

ติดตามข่าวสาร และรายการดี ๆ ในช่องทางอื่นๆ

เว็บไซต์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช : https://www.stou.ac.th
เว็บไซต์สำนักเทคโนโลยีการศึกษา : https://oet.stou.ac.th
STOU Media : https://media.stou.ac.th
Youtube :    / stouchannel  
Facebook :   / stouchannel  
Soundcloud :   / stouchannel  

-------------------------------------------------------------------------
💚💛 มสธ. ที่ไหน เวลาใด ใครก็เรียนได้ 💛💚
𝐎𝐏𝐄𝐍 𝐋𝐈𝐅𝐄𝐋𝐎𝐍𝐆 𝐋𝐄𝐀𝐑𝐍𝐈𝐍𝐆 𝐅𝐎𝐑 𝐀𝐋𝐋
-------------------------------------------------------------------------

Комментарии

Информация по комментариям в разработке