ฎีกา InTrend ep.86 พนักงานขายรถเอาเงินค่ารถไปจะผิดฐานยักยอกหรือลักทรัพย์นายจ้าง

Описание к видео ฎีกา InTrend ep.86 พนักงานขายรถเอาเงินค่ารถไปจะผิดฐานยักยอกหรือลักทรัพย์นายจ้าง

ฎีกา InTrend ep.86 พนักงานขายรถเอาเงินค่ารถไปจะผิดฐานยักยอกหรือลักทรัพย์นายจ้าง

The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม

Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี

ที่ปรึกษา : สรวิศ ลิมปรังษี, อรวรานันท์ ธนาพันธ์วรากุล

Show Creator : นันทวัลย์ นุชนนทรี, ศณิฏา จารุภุมมิก
Episode Producer & Editor : ศณิฏา จารุภุมมิก, ปนัสยา ชื่นอุระ
Sound Designer & Engineer : กฤตภาส ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ
Coordinator & Admin : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, โสรัตน์ ไวศยดำรง
Art Director : สุภาวัชร์ ดลมินทร์
Webmaster : ผุสชา เรืองกูล, วชิระ โรจน์สุธีวัฒน์

การที่เอาทรัพย์ของผู้อื่นไปนั้นกฎหมายกำหนดเป็นความผิดไว้หลายกรณี แต่ที่สำคัญคือแต่ละฐานความผิดมีโทษที่แตกต่างกันตามความร้ายแรงของแต่ละเรื่อง บางฐานความผิดมีความใกล้เคียงกันจนอาจทำให้เกิดปัญหาได้ว่าจะเป็นความผิดฐานใดกันแน่ ปัญหาที่จะนำมากล่าวถึงในตอนนี้จะเป็นกรณีที่พนักงานขายรถได้รับเงินค่ารถจากลูกค้าแล้วเอาเงินนั้นไปจะเป็นความผิดฐานยักยอกหรือลักทรัพย์นายจ้างกันแน่
นายศุกร์เป็นพนักงานขายรถประจำโชว์รูมแห่งหนึ่ง วันหนึ่งนายศุกร์ได้ชักชวนให้นายเสาร์ตกลงซื้อรถเก๋งคันหนึ่งได้ นายเสาร์ได้ชำระเงินเป็นค่าจองรถ ค่าดาวน์รถและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการซื้อรถนั้นให้นายศุกร์ไปรวม 6 ครั้ง คิดเป็นเงินรวม 70,000 บาท
แต่ว่าในการรับเงินแต่ละครั้ง นายศุกร์ไม่ได้นำเงินดังกล่าวส่งให้กับบริษัทเจ้าของโชว์รูม แต่เอาเงินนั้นไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว ต่อมาบริษัทเจ้าของโชว์รูมตรวจสอบพบจึงได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจ จนมีการฟ้องคดีต่อศาล
การที่นายศุกร์ได้นำเงินที่ควรต้องส่งให้บริษัทเจ้าของโชว์รูมไปใช้คงเป็นการกระทำความผิดอาญาอย่างแน่นอนเพราะเงินดังกล่าวไม่ใช่เงินของนายศุกร์เอง ปัญหาคงมีเพียงว่าจะเป็นความผิดฐานใด เพราะหากเป็นความผิดฐานยักยอก โทษที่กฎหมายกำหนดไว้คือจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท ในส่วนความผิดฐานลักทรัพย์ หากเป็นการลักทรัพย์ธรรมดากฎหมายกำหนดโทษไว้เท่ากับความผิดฐานยักยอก แต่หากเป็นการลักทรัพย์ของนายจ้าง กฎหมายกำหนดโทษให้มากขึ้นเป็นจำคุกไม่เกิน 1 ปี ถึง 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 ถึง 100,000 บาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าโทษฐานลักทรัพย์ของนายจ้างหนักกว่า เพราะมีโทษขั้นต่ำไว้และโทษขั้นสูงก็มากกว่า
กรณีที่จะเป็นความผิดฐานยักยอกนั้น ผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นผู้ที่ได้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นไว้แล้วเบียดบังเอาทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตนโดยทุจริต แต่ในกรณีนี้การที่นายศุกร์ซึ่งเป็นพนักงานขายรถได้รับเงินจากลูกค้าไม่ว่าจะเป็นค่าจองรถ เงินดาวน์หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เป็นกรณีที่นายศุกร์รับเงินจากลูกค้าไว้เพียงชั่วคราวเท่านั้น และเป็นการรับไว้เพียงเพื่อจะส่งต่อให้แก่บริษัทเจ้าของโชว์รูมที่เป็นนายจ้างของนายศุกร์ โดยนายศุกร์ไม่ได้มีอำนาจจะนำเงินนั้นไปทำอย่างอื่นได้ จึงถือว่าอำนาจการครอบครองเงินดังกล่าวยังอยู่ที่บริษัทเจ้าของโชว์รูม การที่เงินอยู่กับนายศุกร์จึงเป็นเหมือนการยึดถือไว้แทนบริษัทเจ้าของโชว์รูมเท่านั้น ทำให้เมื่อนายศุกร์เอาเงินนั้นไปจึงเป็นการความผิดฐานลักทรัพย์ของนายจ้าง
กรณีนี้คงสรุปได้ว่าการที่พนักงานได้รับเงินจากลูกค้าไว้ในลักษณะที่เป็นการยึดถือไว้ชั่วคราวเพื่อส่งมอบต่อให้แก่นายจ้าง หากพนักงานเอาเงินนั้นไปใช้โดยทุจริตถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ของนายจ้าง เนื่องจากถือว่านายจ้างยังเป็นผู้ครอบครองเงินนั้นอยู่ ไม่ได้เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ที่โทษเบากว่า

(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2387/2564)

Комментарии

Информация по комментариям в разработке