ความหมายกามคุณ 5 ประการ เหตุเกิดแห่งกาม ความดับแห่งกาม | ตอบคำถามธรรม

Описание к видео ความหมายกามคุณ 5 ประการ เหตุเกิดแห่งกาม ความดับแห่งกาม | ตอบคำถามธรรม

#กามและกามคุณ #เหตุเกิดแห่งกาม #วิบากแห่งกาม #ความดับแห่งกาม
#ความหมายของกามและกามคุณ
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกาม เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกาม.

ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวนี้ว่า เธอทั้งหลายพึงทราบกาม เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกามนั้น เราอาศัยอะไรกล่าว.

ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยตา อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู ... กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก ... รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ... สัมผัสทางผิวที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ชื่อว่ากาม สิ่งเหล่านี้เรียกว่า #กามคุณในอริยวินัย.

ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก(สงฺกปฺปราค) นั่นแหละ คือกามของคนเรา อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลก ไม่ชื่อว่ากาม ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก นั่นแหละคือกามของคนเรา อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลก ย่อมตั้งอยู่ตามสภาพของมันเท่านั้น ผู้มีปัญญาทั้งหลายย่อมกำจัดความพอใจในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น.

ภิกษุทั้งหลาย #เหตุเกิดแห่งกามเป็นอย่างไร คือ #ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกามทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างกันแห่งกามเป็นอย่างไร คือ กามในรูปเป็นอย่างหนึ่ง กามในเสียงเป็นอย่างหนึ่ง กามในกลิ่นเป็นอย่างหนึ่ง กามในรสเป็นอย่างหนึ่ง กามในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า #ความต่างกันแห่งกาม.

ภิกษุทั้งหลาย วิบากแห่งกามเป็นอย่างไร คือ การที่บุคคลผู้ใคร่อยู่ซึ่งอารมณ์ใด ย่อมยังอัตภาพที่เกิดขึ้นจากความใคร่นั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญ นี้เรียกว่า #วิบากแห่งกาม.

ภิกษุทั้งหลาย ความดับแห่งกามเป็นอย่างไร คือ ความดับแห่งกาม ย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกาม.

-- 📙พุทธวจน-หมวดธรรม เล่มที่ ๑๖ พุทธวจน อนาคามี หน้าที่ ๑๑๕-๑๑๖
-- 📙พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต หน้าที่ ๓๖๕-๓๖๙ ข้อที่ ๓๓๔
-- ลิ้งค์อ้างอิงพระสูตร https://etipitaka.com/read/thai/22/365/
--------------------------

#คุณของกามและโทษของกาม
เจ้าศากยะทรงพระนามว่า มหานาม ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เข้าใจข้อธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงมานานแล้วอย่างนี้ว่า โลภะ โทสะ โมหะ ต่างเป็นอุปกิเลสแห่งจิต ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุใด โลภธรรมก็ดี โทสธรรมก็ดี โมหธรรมก็ดี ยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้เป็นบางครั้งบางคราว ข้าพระองค์เกิดความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ธรรมชื่ออะไรเล่า ที่ข้าพระองค์ยังละไม่ได้เด็ดขาดในภายใน อันเป็นเหตุให้โลภธรรมก็ดี โทสธรรมก็ดี โมหธรรมก็ดี ยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้เป็นบางครั้งบางคราว.

มหานาม ธรรมนั้นนั่นแหละ (ราคะ โทสะ โมหะ) ที่ท่านยังละไม่ได้เด็ดขาดในภายใน อันเป็นเหตุให้โลภธรรมก็ดี โทสธรรมก็ดี โมหธรรมก็ดี ยังครอบงำจิตของท่านไว้ได้เป็นบางครั้งบางคราว.

มหานาม ถ้าธรรมนั้นเป็นอันท่านละได้เด็ดขาดในภายในแล้ว ท่านก็จะไม่อยู่ครองเรือน ไม่บริโภคกาม แต่เพราะท่านละธรรมเช่นนั้นยังไม่ได้เด็ดขาดในภายใน ฉะนั้นท่านจึงยังอยู่ครองเรือน จึงยังบริโภคกาม.

มหานาม ถ้าแม้ว่าอริยสาวกเล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามเป็นจริงว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก ดังนี้ ถึงแม้อริยสาวกนั้นเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม แต่ยังไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เธอก็จะยังเป็นผู้เวียนกลับมาในกามได้ แต่เมื่อใด อริยสาวกได้เล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก ดังนี้ และเธอก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เมื่อนั้น เธอย่อมเป็นผู้ไม่เวียนกลับมาในกามได้เป็นแท้.
(อ่านเพิ่มเติมที่แสดงความคิดเห็น)

-- 📙พุทธวจน-หมวดธรรม เล่มที่ ๑๖ พุทธวจน อนาคามี หน้าที่ ๑๑๗-๑๒๓
-- 📙พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หน้าที่ ๑๒๓ ข้อที่ ๒๐๙ - ๒๑๑
-- ลิ้งค์อ้างอิงพระสูตร https://etipitaka.com/read/thai/12/123/
--------------------------

หนังสือพุทธวจน
ดาวน์โหลดไฟล์ .pdf http://watnapp.com/book
อ่านออนไลน์ https://etipitaka.com/read/thaipb/1/0/
สั่งซื้อสมทบทุน https://www.buddhakosvolunteer.org/

ร่วมบุญสนับสนุนกับทางวัดนาป่าพงโดยตรง (เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ชม)
บัญชี วัดนาป่าพง ธ.ไทยพาณิชย์ เลขที่ 318-246-1756
มูลนิธิพุทธโฆษณ์ ธ.ไทยพาณิชย์ เลขที่ 318-247-4610
ติดตามข่าวสาร กิจวัตรพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล และคณะ
พุทธวจนเรียล Buddhawajana Real
   / @buddhawajanareal  
  / buddhawajanareal2020  
--------------------------

ร่วมบุญสนับสนุนช่อง #ทางนิพพาน #พุทธวจน (เพื่อสนับสนุนช่องนี้)
ช่วยแชร์วิดีโอ หรือ "ไม่กดข้ามโฆษณา"(บ้าง) ^^🙏🏻😊
หรือจาคะผ่านระบบสมาชิก
ช่องยูทูบ    / tangnibbana  
เพจเฟซบุ๊ก   / tangnibbana  

Комментарии

Информация по комментариям в разработке