เรียนรู้จากข่าว : ป่วยจิตแค่ไหนถึงพ้นผิด ? และคำอธิบายบุคลิกภาพผิดปกติ 10แบบ ?

Описание к видео เรียนรู้จากข่าว : ป่วยจิตแค่ไหนถึงพ้นผิด ? และคำอธิบายบุคลิกภาพผิดปกติ 10แบบ ?

เรียนรู้จากข่าว : ป่วยจิตแค่ไหนถึงพ้นผิด ? และท่านผู้ฟังมีความผิดทางจิตกันบ้างไหม ?
รู้จักโรคจิตเภท
โรคจิตเภท (Schizophrenia) เป็นโรคที่มีความผิดปกติของบุคลิกภาพ มีความผิดปกติด้านการรับรู้ที่มีลักษณะเฉพาะเป็นแบบจำเพาะและอารมณ์เป็นแบบไม่เหมาะสม หรือ Blunted สติสัมปชัญญะและเชาวน์ปัญญามักดีอยู่ แม้ว่าจะมีการสูญเสียการรับรู้
อาการโรคจิตเภท
การรับรู้ อาการประสาทหลอนทางด้านต่าง ๆ ที่พบบ่อย คือ หูแว่ว ได้ยินเสียงคนพูดว่า หรือให้ทำตาม หรือไม่มีความหมาย
การสื่อสาร พูดสับสน ไม่ปะติดปะต่อ เปลี่ยนเรื่องพูดเร็ว ไม่เชื่อมโยง หรือบางรายพูดน้อย ไม่ค่อยตอบคำถาม
พฤติกรรมผิดจากเดิมเคยเป็น เช่น สกปรก แปลก วุ่นวาย ตะโกน โดยไม่มีอะไรกระตุ้น พลุ่งพล่าน กระวนกระวาย บางรายขาดความกระตือรือร้น เฉื่อยชา เก็บตัว นั่งเฉย ๆ นาน ๆ ไม่สนุกสนาน
อารมณ์ แสดงอารมณ์ลดลงมาก หน้าตาเฉยเมย ไม่สบตา

แล้วบุคลิกภาพผิดปกติมีกี่แบบกันนะ?
สามารถจำแนกกลุ่มของบุคลิกภาพผิดปกติออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1. Cluster A : ลักษณะสำคัญ คือ มีพฤติกรรมแปลกหรือประหลาด แยกตัวจากสังคม มี 3 บุคลิกภาพที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ คือ
กลุ่ม Cluster A เก็บตัว แยกตัวจากสังคมขอบคุณรูปภาพจาก : PaolaChaaya / Unsplash
บุคลิกภาพแบบหวาดระแวง (Paranoid personality disorder) : มีความรู้สึกไม่ไว้วางใจผู้อื่น ระแวงแม้กระทั่งคนใกล้ตัว มักมองเจตนาและการกระทำของผู้อื่นว่าเป็นอันตรายและคุกคามตนเอง จึงพยายามหลีกเลี่ยงสังคมเพราะมองว่าผู้อื่นหักหลังหรือดูถูกตนเอง
บุคลิกภาพแบบเก็บตัว (Schizoid personality disorder) : ขี้อาย ไม่ค่อยพูด มีลักษณะเก็บตัวจากสังคม ไม่ชอบสังคมมาตั้งแต่เด็ก อาจมีพฤติกรรมแปลกๆ พยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่แข่งขัน
บุคลิกภาพแบบจิตเภท (Schizotypal personality disorder) : มีความสัมพันธ์กับโรคจิตเภทมากที่สุดแต่ผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่ได้เป็นโรคจิตเภททุกคนนะคะ แค่ผู้ป่วยจิตเภทส่วนใหญ่มีบุคลิกภาพนี้ จะมีความเชื่อ ท่าทาง หรือคำพูดแปลกๆ มักมีความเชื่อในเรื่องพลังวิเศษและพลังเหนือธรรมชาติ

2. Cluster B : ลักษณะสำคัญของกลุ่มนี้ คือ แสดงออกทางอารมณ์มาก คนทั่วไปอาจคิดว่าแสดงอารมณ์เกินจริง มีแนวโน้มพบมากกว่ากลุ่มอื่น มี 4 บุคลิกภาพ ดังนี้

กลุ่ม Cluster B มีอารมณ์แปรปรวน แสดงออกทางอารมณ์มากเกินไป ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ขอบคุณ
บุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม (Antisocial personality disorder) : ลักษณะคล้ายบุคคลทั่วไป หากคบผิวเผินจะไม่เห็นความผิดปกติ ลักษณะเด่น คือ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักไม่รู้สึกผิดกับการกระทำของตนเพราะสามารถหาเหตุผลมารองรับการกระทำของตนเองได้ ไม่มีความวิตกกังวล ไม่สนใจความรู้สึกของผู้อื่น และไม่สนใจว่าการกระทำของตนจะอยู่เหนือกฎเกณฑ์หรือกฎหมาย ส่วนใหญ่ก่อวีรกรรมตั้งแต่เด็กทั้งโกหก หนีเรียน ไปจนถึงลักขโมย ชกต่อย ทำสิ่งผิดกฎหมาย และจะกระทำซ้ำๆ เกิดขึ้นบ่อยๆ มักมีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น ใจร้อน ก้าวร้าว ชอบทำร้ายร่างกาย ติดสุรา ไม่สามารถรับผิดชอบหน้าที่การงานได้ ทำงานได้ระยะหนึ่งก็มักถูกไล่ออกเพราะไม่มีความรับผิดชอบ มีส่วนน้อยที่ไม่ได้ก่อความวุ่นวายให้ผู้อื่นแต่มีนิสัยที่ไม่ได้สนใจผู้อื่นเป็นลักษณะเด่น
บุคลิกภาพผิดปกติแบบก้ำกึ่ง (Borderline personality disorder) : อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ไม่มั่นคงความสัมพันธ์กับคนรอบข้างก็เปลี่ยนแปลงง่ายเช่นกัน อาจมีพฤติกรรมทะเลาะเบาะแว้งและอาจซึมเศร้าในเวลาต่อมา บางรายควบคุมอารมณ์โกรธไม่ได้ มักไม่พึงพอใจในชีวิต แสดงออกโดยการทำร้ายตนเองซ้ำๆเพื่อให้ผู้อื่นช่วยเหลือ หรือเป็นการแสดงออกซึ่งความโกรธ ทำเพื่อให้ตนเองสะใจเมื่อมีอารมณ์ที่เจ็บปวดมาก อาจมีสาเหตุมาจากตอนเด็กถูกบังคับไม่ให้แสดงอารมณ์โกรธ ทำให้จัดการกับอารมณ์โกรธอารมณ์ฉุนเฉียวไม่ได้
บุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย (Histrionic personality disorder) : มีปัญหาด้านการควบคุมอารมณ์ ต้องการความสนใจจากผู้อื่นอย่างมาก เอาแต่ใจ ไม่ค่อยเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รู้สึกเบื่อหรือหงุดหงิดง่าย แสดงอารมณ์โกรธรุนแรงกับเรื่องเล็กน้อย มีการแสดงออกทางอารมณ์มากเกินความจริง อาจถึงขั้นทำร้ายตัวเองเพื่อเรียกร้องความสนใจ พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
บุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง (Narcissistic personality disorder) : มีความมั่นใจตัวเองสูง เพ้อฝัน กล้าคิดกล้าทำ ต้องการคำชมแต่ขาดความเห็นอกเห็นใจจากผู้อื่น เชื่อว่าตนเองสำคัญที่สุด ควรได้รับการต้อนรับแบบพิเศษ (VIP) สามารถประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์แบบ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง สาเหตุคาดว่าอาจมาจากพันธุกรรมหรือการเลี้ยงดูแบบตามใจมากจนเกินไป

3. Cluster C : มักมีความวิตกกังวลหรือหวาดกลัวสูง มี 3 บุคลิกภาพ ได้แก่
บุคลิกภาพแบบหลีกเลี่ยง (Avoidant personality disorder) : ไม่มั่นใจในตัวเอง รู้สึกว่าตนเองบกพร่อง ไม่ดีเท่าผู้อื่น อ่อนไหวมาก มองโลกในแง่ลบอย่างชัดเจน อ่อนไหวต่อคำวิพากษ์วิจารณ์หรือการปฏิเสธ จึงต้องการหลีกเลี่ยงสังคมและการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

บุคลิกภาพแบบพึ่งพา (Dependent personality disorder) : ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่กล้าตัดสินใจปฏิเสธผู้อื่นไม่เป็น ไม่มีความมุ่งมั่น กลัวการทะเลาะเบาะแว้ง ต้องการอยู่กับผู้อื่นตลอดเวลา กลัวการอยู่คนเดียว ยอมทำตามความต้องการผู้อื่นมากกว่าความต้องการของตน ไม่ชอบการเป็นผู้นำ มักเป็นผู้ตาม อาจเกิดจากการเลี้ยงดูแบบประคบประหงมมากเกินไปหรือการเลี้ยงดูแบบ ‘ลูกต้องฟังแม่/พ่อเท่านั้น !’

บุคลิกภาพแบบย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive personality disorder) : ผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่ได้เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD : Obsessive-Compulsive Disorder) ซึ่งจัดเป็นโรควิตกกังวล ผู้ป่วยกลุ่มนี้แค่มีบุคลิกภาพคล้ายผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำ มีความคิดว่าตนเองถูกต้อง เข้มงวดกับกฎระเบียบ รักความสมบูรณ์แบบ ไม่ยืดหยุ่นหรือแสดงความรักต่อผู้อื่น มักไม่พอใจเมื่อผู้อื่นไม่ได้คิดหรือกระทำเหมือนตน จึงชอบควบคุมบงการสิ่งรอบตัว พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

Комментарии

Информация по комментариям в разработке