ฎีกา InTrend Ep.110 ตกลงขยายเวลาขายฝากด้วยวาจาบังคับได้หรือไม่

Описание к видео ฎีกา InTrend Ep.110 ตกลงขยายเวลาขายฝากด้วยวาจาบังคับได้หรือไม่

ฎีกา InTrend Ep.110 ตกลงขยายเวลาขายฝากด้วยวาจาบังคับได้หรือไม่
The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม
Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี
ที่ปรึกษา : วิญญู พิชัย, สรวิศ ลิมปรังษี, ณัฐสิมา อนันทนุพงศ์
Show Creator : ศณิฏา จารุภุมมิก
Episode Producer & Editor : ศณิฏา จารุภุมมิก, รวิภา กิ่งจักร์
Sound Designer & Engineer : กฤตภาส ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ
Coordinator & Admin : โสรัตน์ ไวศยดำรง, สุพัตรา ขำมีศักดิ์, สุภาวัชร์ ดลมินทร์
Art Director : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, ปันจารีณ์ สุวรรณโภชน์, กนกกูล วสยางกูร
Webmaster : ผุสชา เรืองกูล, วชิระ โรจน์สุธีวัฒน์

ในปัจจุบันมีการขายฝากไปใช้กันมากขึ้น และทรัพย์สินที่นำมาขายฝากก็มีความหลากหลายมากขึ้นแล้วแต่ว่าคู่สัญญาจะพึงพอใจที่จะนำทรัพย์สินใดมาขายฝากกัน ปัญหาที่มักเกิดขึ้นเสมอเกี่ยวกับการขายฝากคือการใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้น โดยเฉพาะกรณีที่มีข้อโต้แย้งกันเรื่องการขยายเวลาไถ่ถอน ปัญหาที่จะนำมากล่าวถึงในตอนนี้จะเป็นกรณีที่ผู้ขายฝากอ้างว่ามีการตกลงด้วยวาจาให้ขยายเวลาไถ่ถอนทรัพย์สินไปจะมีผลบังคับได้หรือไม่เพียงใด
นายจันทร์ต้องการใช้เงินเพื่อนำไปลงทุนทำสวนทุเรียน จึงได้ไปติดต่อขอหยิบยืมเงินจากนายอังคาร แต่นายอังคารไม่เชื่อมั่นว่านายจันทร์จะชดใช้เงินคืนเมื่อถึงกำหนดหรือไม่ จึงได้ให้นายจันทร์นำเอาที่ดินสวนทุเรียนนั้นมาขายฝากไว้กับตนด้วย ทั้งสองคนจึงไปทำสัญญาขายฝากและจดทะเบียนการขายฝากนั้นไว้กันสำนักงานที่ดิน โดยกำหนดราคาขายฝากเป็นเงิน 2,000,0000 บาท กำหนดไถ่ถอนภายใน 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญา
ต่อมาเมื่อใกล้ครบกำหนดไถ่ถอน นายจันทร์จึงไปขอร้องนายอังคารขอขยายเวลาไถ่ถอนออกไป โดยนายจันทร์ตกลงให้ค่าตอบแทนแก่นายอังคารเป็นเงิน 100,000 บาท นายอังคารตกลง ทั้งสองคนจึงไปจดทะเบียนขยายกำหนดเวลาไถ่ถอนออกไปอีกสองเดือน
แต่เมื่อใกล้ครบกำหนดที่ขยายไป นายจันทร์ก็ยังไม่มีเงินไถ่ถอน จึงได้ไปติดต่อนายอังคารอีก นายจันทร์อ้างว่าตนเองได้จ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่นายอังคารไปอีก 100,000 บาท และนายอังคารตกลงให้ขยายเวลาไถ่ถอนออกไปอีกสองเดือน
ต่อมาก่อนครบกำหนดเวลาที่นายจันทร์อ้างว่านายอังคารยอมให้ขยายเวลาไถ่ถอนไป นายอังคารได้ขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่นายพุธไป นายจันทร์ทราบเข้าจึงมาฟ้องขอเพิกถอนการขายที่ดินดังกล่าว และให้นายจันทร์ไถ่ถอนที่ดินแปลงดังกล่าวได้
ในการขายฝากทำนองนี้ปกติเป็นเรื่องที่ผู้ขายฝากต้องการใช้เงินแต่ไม่มีเงินจึงต้องไปขอหยิบยืมจากคนอื่น บางครั้งอาจมีการให้ประกันด้วยการค้ำประกันหรือจำนองก็ได้ แต่กรณีนี้ทำด้วยการขายฝากซึ่งทำให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกเป็นของผู้ซื้อฝาก ผู้ขายฝากมีเพียงสิทธิที่จะไถ่ถอนคืนภายในกำหนดเวลาตามที่ตกลงกันเท่านั้น
ทรัพย์สินที่ขายฝากอาจมีได้หลายประเภทดังที่กล่าวข้างต้น การทำสัญญาขายฝากจึงอาจมีแบบของนิติกรรมที่แตกต่างกันไป หากเป็นสังหาริมทรัพย์ เช่น ทองคำ การขายฝากก็ต้องทำตามแบบปกติของการขายสังหาริมทรัพย์นั้นซึ่งกฎหมายเพียงแต่มีการทำเป็นหนังสือระหว่างกันก็ได้ หรือชำระหนี้บางส่วนหรือวางมัดจำก็ใช้ได้เช่นกัน
แต่ไม่ว่าการขายฝากจะทำกับทรัพย์ประเภทใดและในการทำสัญญาจะทำในรูปแบบใดก็ตาม แต่ในกรณีการขยายเวลาการไถ่ กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 496 วรรคสอง กำหนดให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ด้วย
ในกรณีของนายจันทร์กับนายอังคาร เมื่อนายอังคารไม่ยอมรับว่าตนเองได้ตกลงให้ขยายเวลาไถ่ในครั้งที่สองไป และนายจันทร์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือที่แสดงว่านายอังคารตกลงให้ขยายเวลาดังกล่าวไปย่อมไม่สามารถใช้เพียงการกล่าวอ้างด้วยวาจามาใช้บังคับได้
กรณีนี้ยังมีข้อที่น่าสนใจอีกประการคือ นายอังคารได้ขายที่ดินแปลงนี้ให้แก่นายพุธไปด้วย ซึ่งในกรณีของที่ดินที่เป็นทรัพย์ซึ่งการซื้อขายต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การขยายเวลาไถ่ที่จะใช้ยันบุคคลภายนอกได้จะต้องได้นำหนังสือขยายเวลาไถ่นั้นไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย เพราะมิฉะนั้น บุคคลภายนอกย่อมไม่สามารถรู้ได้ว่าทรัพย์ที่ตนจะซื้อหรือทำนิติกรรมใดๆ ด้วยตกอยู่ในภาระอันใดบ้าง เมื่อนายจันทร์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงการขยายเวลาไถ่ทั้งไม่มีการจดทะเบียนการขยายเวลา นายจันทร์ย่อมไม่มีสิทธิอ้างได้ว่ามีการตกลงขยายเวลาไถ่ไปแล้ว
ดังนั้น การขายฝากทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ประเภทใดก็ตาม หากมีการตกลงขยายเวลาไถ่ออกไป จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้รับไถ่จึงจะใช้อ้างได้ ลำพังเพียงการตกลงกันด้วยวาจาไม่สามารถใช้บังคับได้

(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8860/2563)

Комментарии

Информация по комментариям в разработке